วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

MQTT คืออะไร?

MQTT คืออะไร? 
Message Queuing Telemetry Transport (MQTT) เป็นProtocol ที่ออกแบบมาเพื่อการเชื่อมต่อแบบ M2M (machine-to-machine)คืออุปกรณ์กับอุปกรณ์ สนับสนุนเทคโนโลยี iot (Internet of Things) คือเทคโนโลยีที่อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ โทรทัศน์ ตู้เย็น เข้ากับอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถเชื่อมโยงสื่อสารกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้มนุษย์สามารถ ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ จากที่อื่นได้ เช่นการสั่งปิดเปิดไฟในบ้านจากที่อื่น ๆ
เนื่องจากโปรโตคอลตัวนี้มีน้ำหนักเบา  ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก การรับส่งข้อมูลในเครื่อข่ายที่มีขนาดเล็ก แบนร์วิธต่ำ ใช้หลักการแบบ publisher / subscriber คล้ายกับหลักการที่ใช้ใน Web Service ที่ต้องใช้ Web Serverเป็นตัวกลางระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ แต่ MQTT จะใช้ตัวกลางที่เรียกว่า Broker เพื่อทำหน้าที่ จัดการคิว รับ - ส่ง ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ และทั้งในส่วนที่เป็น Publisher และ Subscriber ดังภาพ

จากภาพจะเห็นได้ว่า Topic จะเป็นตัวอ้างอิงหลัก ข้อมูลทีจะ Publisher ออกไปยัง Broker จะต้องมี topic กำกับไว้เสมอ ทางฝ่าย  subscriber ก็จะอ้างถึง topic เพื่อเรียกข้อมูลที่ต้องการ  เหมือนกับการสมัครเป็นสมาชิกของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ชื่อของหนังสือก็เปรียบเหมือน topic และผู้ผลิตก็คือ publisher เมือถึงเวลาที่หนังสือเสร็จ ผู้ส่ง Broker ก็จะนำหนังสือพิมพ์มาส่งให้เรา
ตัวอย่าง แอพพลิเคชั่นที่ใช้งานคือ  Facebook Mesenger
สรุปองค์ประกอบของ MQTT Protocol
จะประกอบไปด้วย Broker , Publisher และ Subscriber แต่ล่ะอย่างก็จะทำหน้าที่แต่กต่างกันออกไปโดย
Broker ทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยจัดการกับ ข้อความโดย อ้างอิงจาก Topic
Publisher จะทำหน้าที่คอยส่งข้อมูลไปยังหัวข้อนั้น ๆ
Subscriber จำทำหน้าที่คอยดูการเปลี่ยนแปลงของ message ที่อ้างอิงด้วย Topic เช่นถ้ามีหัวข้อหน้าสนใจและมีการเปลี่ยนแปลงก็จะทากรดึงข้อมูลนั้น ๆ มาใช้งาน

MQTT คิดค้นโดย  ดร.แอนดี้สแตนฟอร์ด คลาค ของ ไอบีเอ็ม และ อเลน นิพเพอร์ ของ Arcom (now Eurotech), ใน คศ 1999. อ่านเพิ่มเติม mqtt.org

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

NAS Storage คืออะไร

 NAS Storage คืออะไร

 หมวดหมู่: บทความของฉัน

1. ภาพรวมของ NAS Storage

ปกติเวลาเราใช้งาน Hard Drive ในเครื่องเรามักจะส่งไฟล์แชร์ต่อให้ใครไม่ได้ ทำให้เราต้องเสียเวลาไปส่งอีเมลล์ หรืออัพโหลดขึ้น Dropbox  หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องใช้ USB Thumb Drive ส่งไฟล์กัน ซึ่งบางทีขนาดก็อาจจะเล็กไป หรือติดไวรัสกันเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โต

Network Attached Storage หรือเรียกย่อๆ ว่า NAS Storage ได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ โดยเป็นอุปกรณ์ที่มี Hard Drive ในตัวสำหรับให้คนในบ้าน หรือในออฟฟิศเดียวกันสามารถส่งไฟล์ แชร์ไฟล์ หรือสำรองไฟล์กันได้

2. หน้าตาของ NAS Storage

NAS Storage มีรูปร่างที่หลากหลาย ตั้งแต่ลักษณะเหมือนเป็นกล่องเล็กๆ สำหรับใช้งาน 1-5 คน หรือกล่องใหญ่ขึ้นสำหรับใช้งานกันระดับออฟฟิศ 10 – 30 คน หรือแม้แต่กล่องที่ใหญ่ขึ้นสำหรับงานตัดต่อวิดีโอ, งานประมวลผลระดับองค์กร หรือแม้แต่งานประมวลผลทางด้านวิทยาศาสตร์, การแพทย์ และฟิสิกส์งานใหญ่ๆ ระดับโลกที่เราได้ยินข่าวกันบ่อยๆ ก็ใช้ NAS Storage เช่นกัน

3. การติดตั้ง NAS Storage

การติดตั้ง NAS Storage นั้นสามารถทำได้โดยง่าย แม้แต่ผู้ใช้งานตามบ้านก็สามารถทำเองได้ ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

    ติดตั้ง NAS Storage พร้อมกำหนด IP Address
    เสียบสาย LAN เข้าไปยัง Router
    สร้าง Folder ใน NAS พร้อมกำหนด User/Password
    เชื่อม Folder ใน PC ด้วย User/Password ที่ตั้งไว้

เพียง 4 ขั้นตอนเท่านี้ เราก็สามารถใช้งาน NAS Storage ภายในบ้านได้แล้ว

เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ สามารถทำการเชื่อมต่อเพื่อรับและส่งข้อมูลกับ NAS Storage ได้ทันทีผ่านทางระบบเครือข่าย

4. จำนวน Hard Drive ใน NAS Storage

NAS Storage อาจจะมีหลากหลายขนาด ตั้งแต่ 1-2 ลูกสำหรับการใช้งานระดับเล็ก 4-8 ลูกสำหรับการใช้งานระดับกลาง หรือ 12 – 100 ลูกสำหรับการใช้งานระดับใหญ่ และเกินกว่า 100 ลูกสำหรับการใช้งานระดับใหญ่มาก

โดยสำหรับระบบ NAS Storage นี้ การมีจำนวน Hard Drive เพิ่มจะยิ่งเพิ่มความเร็วของการใช้งานระบบ NAS Storage และเพิ่มความทนทานของข้อมูลไปพร้อมๆ กัน โดยมีการสำรองข้อมูลระหว่าง Hard Drive แต่ละลูกตามแนวคิดของ RAID

5. ความสามารถของ NAS Storage

NAS Storage โดยทั่วไปจะมีความสามารถดังต่อไปนี้

    สามารถสร้าง Folder ส่วนตัวสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคน ให้แต่ละคนสามารถใช้งานร่วมกันระหว่างหลายๆ อุปกรณ์ โดยกำหนดพื้นที่สูงสุดสำหรับแต่ละคนได้
    สามารถสร้าง Folder แชร์สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานแต่ละคน ให้แต่ละคนที่มีสิทธิ์สามารถเขียนและอ่านไฟล์
    สามารถกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้งานแต่ละคนมองเห็น Folder ที่แตกต่างกันตามฟังก์ชันการทำงานได้
    สามารถสร้างเป็น Shared Folder หรือ Drive ทิ้งไว้ในเครื่องของผู้ใช้งานได้ทันที ทำให้ง่ายต่อการเรียกใช้งาน

ในขณะที่ NAS Storage ระดับองค์กร หรือระดับสูง อาจจะมีความสามารถอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น

    สามารถทำ Deduplication ช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ซ้ำซ้อนได้
    สามารถทำการ Scan Virus ในไฟล์ที่อยู่บน NAS Storage ได้
    สามารถทำการสำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลสำหรับไฟล์ที่สำคัญๆ ได้
    สามารถทำการสำรองข้อมูลข้ามสาขา เพื่อรองรับเหตุภัยพิบัติต่างๆ ได้
    สามารถเรียกใช้ไฟล์ผ่านหน้าเว็บไซต์ได้
    สามารถรองรับการใช้งานร่วมกับ Server เป็นหมื่นๆ ถึงล้านๆ เครื่องได้

ทั้งนี้การเลือกใช้ NAS Storage ควรจะเลือกให้เหมาะสมต่องานที่ใช้ ทั้งในแง่ของความสามารถ, ประสิทธิภาพ และราคาที่ต้องการ

6. ประเภทงานที่เหมาะสมกับ NAS Storage

ตัวอย่างงานที่เหมาะสมกับการใช้ NAS Storage มีดังต่อไปนี้

6.1 งานแชร์เอกสารภายในบ้านและภายในองค์กร

    NAS Storage ขนาดเล็กที่ใส่ Hard Drive ตั้งแต่ 2-8 ลูก สำหรับใช้งานตั้งแต่ 2 – 30 คน ให้แต่ละคนมี Folder ส่วนตัว และ Folder แชร์ร่วมกันภายในแผนก
    NAS Storage ประสิทธิภาพสูงที่มี Hard Drive ตั้งแต่ 2 – 16 ลูก หรือบางทีอาจจะใช้เกินกว่า 100 ลูก สำหรับใช้จัดเก็บ Raw File และให้แต่ละแผนกสามารถทำการตัดต่อไฟล์ต่างๆ กันได้อย่างสะดวกและรวดเร็วแยกตามแผนก เช่น ตัดต่อภาพ, ตัดต่อเสียง, ใส่ Subtitle และอื่นๆ
    NAS Storage ขนาดตั้งแต่ 2 – 16 ลูก สำหรับจัดเก็บ Code แต่ละ Release ย้อนหลังให้แตกต่างกันไป รวมถึงใช้แบ่งปันข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นในการทำงาน เช่น ไฟล์ภาพ, ไฟล์เสียง, ไฟล์วิดีโอ และเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อให้ข้อมูลอยู่อย่างคงทนถาวร

6.2 งานจัดเก็บข้อมูลและสำรองภาพถ่าย

    NAS Storage ขนาดตั้งแต่ 2-6 ลูกสำหรับการใช้งานเบื้องต้น หรือขนาดตั้งแต่ 8-12 ลูก สำหรับจัดเก็บไฟล์จำนวนมากและประมวลผลไปพร้อมๆ กัน

งานสำรองข้อมูลระดับองค์กร

    NAS Storage สำหรับการสำรองข้อมูลนี้จะมีหลากหลาย ขึ้นกับปริมาณของข้อมูลที่ต้องการทำการสำรอง
    NAS Storage ประสิทธิภาพสูงสำหรับการจัดเก็บข้อมูลจาก CCTV โดยจำนวนของ Hard Drive จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องการจัดเก็บข้อมูล และความเร็วในการจัดเก็บข้อมูลที่ต้องคำนวณจากจำนวนกล้อง CCTV

6.3 งานประมวลผลประสิทธิภาพสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

    NAS Storage ประสิทธิภาพสูงมาก ตั้งแต่ 12 – 100 ลูก หรือเกินกว่า 1,000 ลูกสำหรับงานประมวลผล โดยจำนวนของ Hard Drive จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการประมวลผลที่ต้องการ

บทความจาก http://www.storagewhale.com/2012/12/13/nas-storage-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

แนะนำ 14 เครื่องมือแก้ไขปัญหา Network ที่ควรหัดใช้ให้เป็น

แนะนำ 14 เครื่องมือแก้ไขปัญหา Network ที่ควรหัดใช้ให้เป็น

ในงาน Interop ITX ที่ผ่านมา ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายออกมาแนะนำ 14 เครื่องมือแก้ไขปัญหาด้าน Network ที่เหล่า Network Engineer ควรมีไว้และหัดใช้ให้เป็น ดังนี้ครับ
Credit: ShutterStock.com

เครื่องมือเหล่านี้ถูกแนะนำโดย Mike Pennacchi ในงานนำเสนอภายในงาน Interop ITX ที่เพิ่งจัดไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งทางทีมงาน NetworkComputing ได้นำมาเสนอเอาไว้ และทางทีมงาน TechTalkThai ก็ขอนำมาสรุปกันเป็นภาษาไทยเอาไว้ ณ ที่นี้ครับ
  • iperf เครื่องมือวัด Throughput, Packet Loss, Jitter สำหรับแก้ไขปัญหาเรื่อง Bandwidth ภายในระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ โดยสามารถทดสอบเครือข่ายได้ทั้งจากการใช้ UDP และ TCP แต่ก็แนะนำให้ใช้ UDP เป็นหลักเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ VoIP
  • Wireshark เครื่องมือตรวจสอบและวิเคราะห์ Packet ชื่อดังที่ผู้ดูแลระบบเครือข่ายทุกคนควรใช้ให้เป็น รองรับได้ทั้งเครือข่ายแบบมีสายและไร้สาย
  • Wi-Fi Explorer เครื่องมือสำหรับตรวจสอบระบบ Wi-Fi บน Mac ที่สามารถรวบรวมรายชื่อของระบบเครือข่ายไร้สาย, BSSID, Data Rate ที่รองรับ, Channel ที่ใช้งาน และแสดงผลในรูปแบบ GUI สวยงามให้ง่ายต่อการตรวจสอบ โดยราคาเริ่มต้นที่ 20 เหรียญ และรองรับ OSX ตั้งแต่รุ่น 10.7 ขึ้นไป
  • TCP Traceroute คำสั่งพื้นฐานที่ Network Engineer ทุกคนควรใช้ให้เป็น เพื่อตรวจสอบเส้นทางที่ใช้ในการเชื่อมต่อ TCP ไปยังปลายทาง แทนที่จะใช้ ICMP ทำให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ในเครือข่าย เช่น Firewall, ปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับ Port และอื่นๆ ได้
  • fprobe, nfcapd, nfdump fprobe เป็นเครื่องมือสำหรับไว้ตรวจสอบ Packet ที่ถูกส่งเข้ามาในแต่ละ Network Interface พร้อมทำการรวบรวมทราฟฟิกเครือข่าย สร้างออกมาเป็น NetFlow Record ได้ ในขณะที่ nfdump จะเอาไว้เปิดอ่าน NetFlow ดังกล่าว ส่วน nfcapd นั้นเอาไว้ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเพื่อรวบรวมทราฟฟิกจากหลายๆ แหล่งพร้อมกันได้
  • Nmap เครื่องมือ Network Scanning สำหรับใช้ได้ทั้งในเชิง Network และ Security โดยจะหัดใช้จาก Command Line ให้เป็น หรือใช้จาก Zenmap GUI ก็ได้ทั้งคู่
  • Cacti ระบบ Network Monitoring ที่สามารถรวบรวมข้อมูลจาก SNMP และอื่นๆ มาแสดงผลเป็นกราฟสำหรับติดตามการทำงานได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการ
  • SmokePing เครื่องมือแบบ Open Source สำหรับใช้ตรวจสอบ Network Latency, Packet Loss และ Latency ที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะยาว โดยการส่ง Ping ไปยังปลายทางต่างๆ กันและเก็บค่าสถิติมารายงานผล
  • OpenNMS อีกระบบ Open Source สำหรับตรวจสอบการทำงานของ IT Infrastructure ภายในองค์กรพร้อมแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหา และมีรายงานสรุปให้ด้วย โดย OpenNMS นี้จะมี Platform ย่อยภายใน 2 ระบบ ได้แก่ Meridian สำหรับใช้งานในระดับองค์กร และ Horizon สำหรับตรวจสอบการทำงานของ Docker
  • AirCrack-ng เครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ Wi-Fi ที่สามารถค้นหาอุปกรณ์ Wi-Fi และเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ได้ และยังใช้ดักจับข้อมูล Wi-Fi เพื่อนำไปแก้ปัญหาได้อีกด้วย
  • dsniff ชุดของเครื่องมือการทำ Network Auditing และ Penetration Testing ที่ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถใช้ arpspoof และ dnsspoof เพื่อ Audit ระบบเครือข่ายและความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น
  • Snort ระบบ Intrusion Detection System (IDS) แบบ Open Source ที่สามารถปรับแต่งใช้งานภายในองค์กรได้หลากหลาย ทั้งในแง่ของการวิเคราะห์, การแจ้งเตือน และการจัดเก็บ Packet ไว้ตรวจสอบย้อนหลัง
  • curl คำสั่งพื้นฐานสำหรับใช้งานใน Command Line หรือใส่ใน Script เพื่อใช้รับส่งข้อมูล สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อตรวจสอบ Response Time ของเว็บได้
  • Elasticsearch, LogStash, Kibana สาม Open Source ที่ถูกเรียกรวมๆ กันภายในชื่อ ELK Stack สำหรับใช้ในการรวบรวมข้อมูล Log เพื่อนำมาจัดเก็บ ปรับแต่งรูปแบบ และนำเสนอด้วยการทำ Visualization สวยงามได้ตามต้องการ
นอกจากนี้ Mike Pennacchi ยังได้แนะนำด้วยว่าหากกำลังมองหา Network Tap ราคาถูกสำหรับใช้แก้ปัญหาระบบเครือข่าย ก็สามารถพิจารณา Netgear GS105E ซึ่งเป็น Switch ราคาถูกที่สามารถ Mirror Traffic ได้ในตัว

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

6 เครื่องมือ Troubleshooting Network เบื้องต้น ที่แอดมินฯ ควรมีติดตัวไว้

ด้วยเน็ตเวิร์กปัจจุบันที่ต้องตอบสนองความต้องการชนิดเรียลไทม์ ทำให้ดีเลย์, เวลาหน่วง, หรือสัญญาณรบกวนต่างๆ อาจเป็นสาเหตุของปัญหาใหญ่ในการบริการได้ ดังนั้นการสืบหาต้นตอสาเหตุนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก และมักใช้เครื่องมือหลายตัวร่วมกัน
ทั้งนี้ NetworkComputing.com ได้สรุปวิธีหาสาเหตุของตัวหน่วงประสิทธิภาพเครือข่ายไว้อย่างง่ายๆ สามขั้นตอน ตั้งแต่การยืนยันและตรวจสอบระดับความหน่วงหรือดีเลย์ที่เป็นปัญหา จากนั้นจึงจำกัดพื้นที่ค้นหาที่เกิดการหน่วงของข้อมูลดังกล่าว และสุดท้ายจึงค่อยตรวจหา ระบุ และกำจัดต้นตอปัญหาดังกล่าว ซึ่งเครื่องมือสำหรับวินิจฉัยปัญหาเครือข่ายที่มีมาตั้งแต่รุ่นคุณยายยังโสดทั้ง 6 ตัวต่อไปนี้ก็ยังช่วยชีวิตคุณได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น
• Ping ทูลที่แม้แต่เด็กประถมผู้คร่ำหวอดกับเกมออนไลน์บางคนนิยมใช้กันแบบไม่บันยะบันยัง นอกจากใช้เช็คการเชื่อมต่อยังปลายทางที่ต้องการได้แล้ว ยังเช็คเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูลไปกลับได้ด้วย ซึ่งใช้ตีความเป็นระดับความหน่วงบนเครือข่าย หรือใช้คอนเฟิร์มว่ามีดีเลย์ที่จุดใดหรือส่วนไหนบนเครือข่ายได้เป็นอย่างดี
• Traceroute ญาติสนิทของคุณปิง ให้ข้อมูลการเดินทางของทราฟิกไปกลับจากปลายทางที่ต้องการได้เช่นเดียวกัน แต่ให้ข้อมูลได้ละเอียดจากเครือข่ายทุกวงที่อยู่ระหว่างทาง หรือ Hop-by-Hop จึงมีประโยชน์มากกับเครือข่ายในองค์กรที่มีการแบ่งส่วนเครือข่ายมากมายหลายวีแลนเต็มไปหมด ซึ่งคุณจะทราบถึงเส้นทางที่แพ๊กเก็ตข้อมูลจากต้นทางเลือกใช้ไปยังปลายทางได้จากรายการอุปกรณ์ที่ถูกส่งข้อมูลกลับมา รวมไปถึงจำนวนเราเตอร์หรือ Hop ที่ต้องกระโดดข้ามไปยังปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าถ้าต้องกระโดดข้ามเครือข่ายโน่นนี่นั่นมากเกินไป ก็ย่อมเป็นสาเหตุหลักของอาการดีเลย์ด้วยเช่นกัน
• SNMP เป็นโปรโตคอลยอดนิยมที่ใช้เช็คสถานะต่างๆ ของอุปกรณ์เครือข่าย โดยเฉพาะสถานะของอินเทอร์เฟซต่างๆ รวมไปถึงอัตราการใช้ประโยชน์ของแต่ละลิงค์ด้วย ทำให้เราเอามาตีความหาจุดที่เกิดคอขวดของทราฟิกได้ นอกจากนี้ยังใช้ตรวจหาความผิดปกติหรืออาการเสื่อมสภาพของฮาร์ดแวร์ อย่างเช่นซีพียูบนสวิตช์ ที่มีผลต่อการฟอร์เวิร์ดแพ็กเก็ตได้อีกด้วย
 NetFlow ทูลชั้นสูงขึ้นมาระดับประถมปลายหน่อยๆ ไว้สำหรับตรวจข้อมูลทราฟิกที่ละเอียดขึ้นอย่างเช่น การโดนทราฟิกสตรีมมิ่งอย่างยูทูปหรือ Netflix มาแย่งแบนด์วิธ หรือการเกิดพฤติกรรมที่ดูเป็นอันตรายอย่าง DDoS ซึ่ง NetFlow จะสามารถจัดประเภทของข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายให้เราเห็นได้ชัดเจน ให้เช็คได้ว่าทราฟิกข้อมูลที่สำคัญต่อธุรกิจกำลังโดนทราฟิกอื่นที่ไม่จำเป็นรบกวนมากน้อยขนาดไหน
 Protocol Analyzer ถ้าทูลเบๆ ก่อนหน้านี้ไม่สามารถหาฆาตกรที่แท้จริงให้คุณได้ ก็อาจถึงตาทูลที่ต้องใช้ความรู้ระดับมัธยมต้นอย่างตัววิเคราะห์โปรโตคอลนี้ ที่สามารถวิเคราะห์รายละเอียดของแต่ละแพ็กเก็ต โดยเฉพาะข้อมูลบนเฮดเดอร์ Protocol Analyzer ยอดนิยมที่คนทำงานเน็ตเวิร์กถูกสอนให้ไปโหลดมาเล่นตั้งแต่วันแรกของการทำงานก็คือ Wireshark ซึ่งใช้ตรวจแต่ละแพ๊กเก็ตที่วิ่งผ่านอินเทอร์เฟซบนเครื่องตนเองว่ามาจากแอพไหน พอร์ตไหน ใช้โปรโตคอลอะไรบ้าง และจะวิ่งไปปลายทางที่ไหน โดยในปัจจุบันตัววิเคราะห์แพ็กเก็ตนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากแอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่หันมาใช้สถาปัตยกรรมแบบที่พึ่งการเชื่อมต่อกับสารพัดเซิร์ฟเวอร์ในการทำงาน หรือที่เรียกว่า Distributed Architecture นั่นคือ ถ้าผู้ใช้ฟ้องว่า การใช้งานบนแอพหนึ่งเริ่มช้าลง ก็สามารถใช้ทูลนี้ในการหาต้นตอการเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์เจ้าปัญหาได้ เป็นต้น
 Application Performance Monitoring ถ้าคุณหมดหวังกับทูล 5 ตัวที่กล่าวไปแล้ว อย่างน้อยก็สรุปเบื้องต้นได้ว่า สาเหตุของความเชื่องช้าระดับหอยทากหน้าร้อนนี้ไม่น่าจะมาจากเครือข่าย แต่เป็นเพราะตัวแอพพลิเคชั่นเอง ซึ่งต้องพึ่งเครื่องมืออันดับที่หกระดับมหาวิทยาลัยอย่างตัวตรวจสอบประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่น เช่น ถ้าแอพพลิเคชั่นมีการส่งต่อข้อมูลไปยังระบบฐานข้อมูลแล้ว ดีเลย์ที่เกิดขึ้นอาจมาจากระบบฐานข้อมูลที่ไม่สามารถให้บริการได้เต็มที่ในช่วงพีค

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...