วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

แยก WiFi Subnet ระหว่างพนักงาน และลูกค้า ด้วย Access Point TP-Link รุ่น EAP120

โจทย์มีอยุ่ว่า ปัจจุบัน AccessPoint ต่อไปขอเรียก AP มีความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เห็นกันชัดๆ AP ตัวเดียวแบ่งแยก SSID ได้มากมายแล้วแต่รุ่น ยี่ห้อ ความต้องการลูกค้าคือ ต้อง AP ที่ติดตั้งทั่วสำนักงาน ให้แสดง SSID เดียวกันทั้งหมด โดยแต่ละตัวจะมี 2 SSID คือ สำหรับลูกค้าและพนักงาน โดยที่ SSID ของลูกค้าและพนักงานจะต้องแยก Subnet กันด้วย แล้วก็แยกเน็ตกันด้วย

อุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี้
AccessPoint : TP-Link EAP120
Switch : Cisco SF300
สำหรับตัวอุปกรณ์บางท่านจัดได้ดีกว่านี้ อาจมีรุ่นที่ติดตั้งง่ายกว่านี้ครับ แต่ที่ผมต้องจัดแบบนี้เพราะเกิดความผิดพลาดนิดหน่อย ฮ่าๆๆๆๆ ไม่เป็นไรแก้ปัญหากันไปครับ

แผนผังเครือข่ายคร่าวๆ จะเป็นประมาณนี้นะครับ
เริ่มตั้งค่ากันเลยครับ อันดับแรกตั้ง ค่า Access Point ด้วย EAP Controller สำหรับ EAP Controller เดี๋ยวมาอธิบายการใช้งานให้วันหลังนะครับ หาอ่านตาม google ไปก่อนนะครับ ขอเขียนอันนี้ก่อนเดี๋ยวลืม
มี AP ทั้งหมด 5 ตัวซึ่งแต่ละตัวจะมี 2 SSID โดยมี VLAN แตกต่างกัน
SSID : EMP
VLAN : 100

SSID : GUEST
VLAN : 200

ในตัวอย่างไม่ได้ตั้ง Security ในการใช้งานจริงต้องตั้งค่าด้วย เลือกใช้ที่สะดวก


เนื่องจากตัว AccessPoint TP-Link EAP120 นั้นไม่มี DHCP Server ในตัวการจะแยก Subnet ได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่สามารถแจก IP คนละ Subnet ได้ เช่น Mikrotik RouterOS หรือ Router ที่สามารถทำ 2WAN ได้ สำหรับการทดลองของผมจะใช้ Router บ้านธรรมดา 2 ตัว ต่อเข้ากับ Switch Cisco SF300-24PP และใช้เจ้า Cisco เป็นตัวจัดการ VLAN แทน โดยตั้งค่าดังนี้

Port 1-5 ต่อกับ AccessPoint
Uplink GE1 ต่อกับ Router1 (192.168.100.1/24)
Uplink GE2 ต่อกับ Router2 (192.168.200.1/24)

ตั้งค่า VLAN ที่ Cisco ดังนี้
VLAN Management
VLAN Settingsสร้าง VLAN ตามภาพ VLAN ID และ VLAN Name ตั้งเองได้ตามสะดวก


จะมี VLAN ทั้งหมด 3 อัน ดังภาพ
Interface Settingsเปลี่ยน Interface VLAN Mode ของพอร์ตที่ต่อกับ Router ทั้ง 2 พอร์ตให้เป็น Access ตามภาพ

Port to VLAN
เลือก VLAN ที่สร้างขึ้นมาแล้วทำการ Tagged พอร์ตที่ Access Point ต่ออยู่ทั้งหมด และ Untagged พอร์ตที่ต่อเข้ากับ Router ของ VLAN นั้น
ทำแบบเดียวกันนี้กับ VLAN อื่นๆ ที่ต้องการ

ต่อ ไปเนื่องจาก AccessPoint เราสามารถกำหนด IP Address ได้แค่ชุดเดียว ดังนั้นจำเป็นจะต้องให้ Swicth ทำหน้าที่กำหนดเส้นทางให้แต่ละ VLAN ไปรับ DHCP Server อย่างถูกต้อง โดยใช้ DHCP Relay ไปตั้งค่าที่นี่

IP Configuration


DHCP Snooping/Relay


Properties
DHCP Relay = Enable
Add IP Address ของ DHCP Server ในที่นี้คือ Router ทั้งสองตัว

Interface Settings
เพิ่ม รายการ VLAN เข้าไป และตั้งค่า DHCP Relay = Enable , DHCP Snooping = Enable

DHCP Snooping Trusted Interfaces
ตั้งค่า Trusted Interface ของพอร์ตที่ให้ AccessPoint ผ่าน
เสร็จเรียบร้อย เพียงเท่านี้เราก็สามารถแยก Subnet ของ SSID ที่ต่างกันได้แล้ว
เจ้า TP-Link ตัวนี้ยังมีความสามารถอีกมากนะครับ เดี๋ยวจะมาเขียนต่อว่าเวลาสรุปงานแล้วจะเอามันไปใช้ในลักษณะใดบ้างครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...