ARP คืออะไร ? มาทำความรู้จักและเข้าใจการทำงานของ ARP (Address Resolution Protocol) กันดีกว่า
สวัสดีครับ ใบบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Address Resolution Protocol หรือเราเรียกย่อๆว่า ARP นั่นเองครับ
ARP จะทำงานเมื่อมีการติดต่อสื่อสารบน LAN (Ethernet) ระหว่างเครื่องต้นทาง และ เครื่องปลายทาง ใช้ ค้นหาและจับคู่ระหว่าง MAC Address กับ IP Address เพื่อให้ส่งถึงปลายทางในระดับ L2 ตาม OSI Model ได้ ลองมาดูเพื่อทำความเข้าใจกันต่อนะครับ
เมื่อเครื่อง NB1 ต้องการส่งข้อมูลหาเครื่อง NB2 จะเกิดการทำงานตาม OSI Model ดังนี้
(สมมุติว่าผมทำการ Ping จาก NB1 ไป NB2)
-
ที่ Layer 3 เครื่อง NB1 จะสร้าง IP Packet ขึ้นมา โดยใน IP Packet จะระบุ Source IP address และ Destination IP address เพื่อใช้ในการส่งข้อมูล (Data)
-
IP Packet ของ NB1 จะถูก Encapsulation ลงมาที่ Layer 2 คือ Ethernet Frame โดยใน Ethernet Frame จะระบุ Source MAC address และ Destination MAC address
จากรูป เป็น Ethernet Frame ของเครื่อง NB1 จะเห็นว่า เครื่อง NB1 จะไม่มีข้อมูล Destination MAC address ของเครื่อง NB2 ทำให้ยังไม่สามารถส่งข้อมูลได้
NB1 จึงจะต้องทำการถามหา MAC address ของ NB2 เพื่อให้การ Encapsulation บน Ethernet Frame ของ NB1 นั้นสมบูรณ์ และ สามารถส่งข้อมูลไปหา NB2 ได้
NB1 จึงเรียกใช้งาน ARP โดยส่ง ARP Request ออกไป ซึ่งใน Field ของ ARP จะมีดังนี้
-
Source MAC address (Sender) : อันนี้ทราบอยู่แล้วเพราะเป็น MAC Address ของเครื่องผู้ส่งเอง
-
Source IP address (Sender) : อันนี้ทราบอยู่แล้วเพราะเป็น IP ของเครื่องผู้ส่งเอง
-
Destination MAC address (Target) : อันนี้ยังไม่ทราบ จึงต้องส่ง ARP Request ไปถาม ระบุเป็น 0000.0000.0000
-
Destination IP address (Target) : อันนี้ทราบอยู่แล้วว่าต้องการจะส่งไป IP ไหน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น