วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560

VLAN คืออะไร ?

VLAN คืออะไร ?

โดยปกติแล้ว ถ้าเรารู้จัก LAN ก็จะสามารถทำความเข้าใจกับ VLAN ได้ง่ายขึ้น ซึ่ง LAN ก็หมายถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Network ต่างๆ เข้าด้วยกันภายใน location เดียวกัน อาจจะเป็นตึกเดียวกัน ชั้นเดียวกัน หรือภายในพื้นที่เดียวก็ได้
LANอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อภายใน LAN เดียวกัน ก็จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ และ อุปกรณ์ทั้งหมดก็จะอยู่ใน Broadcast Domain เดียวกัน
Broadcast Domain คือ ขอบเขตหรือบริเวณที่ Broadcast Traffic สามารถส่งกระจายไปถึงได้ ถูกแบ่งได้จากอินเตอร์เฟสของอุปกรณ์ L3 ขึ้นไป
ถ้ามีการใช้งานมากๆ บน LAN ก็จะทำให้ traffic แบบ broadcast ยิ่งมีมากขึ้นไปด้วย จะส่งผลให้ Network ทำงานได้ช้าลง นอกจากจะทำให้ Network ทำงานช้าแล้ว ยังส่งผลต่ออุปกรณ์ต่างๆด้วย ผมเคยเจอปัญหาของลูกค้าในการใช้งาน LAN วงใหญ่ๆ แล้ว Printer ใช้งานไม่ได้ ปรากฎว่า มี broadcast เยอะมากๆ จน Printer ประมวลผลไม่ทัน
ถ้าเราต้องการจะแยก Network ออกจากกัน หรือพูดง่ายๆ คือ แบ่ง broadcast domain ออกเป็น 2 วง หรือ หลายๆ วง ก็สามารถทำได้โดยแยก Switch ไปอีกตัวนึงเลย ตามรูปด้านล่าง
broadcast domainจาก รูปเราก็จะสามารถแยกวง หรือ แยก broadcast domain ออกจากกันได้แล้ว แต่ก็เปลือง Switch ไปด้วยใช่ไหมครับ !! VLAN จะเข้ามาช่วยได้ครับ โดยให้ผลเหมือนกับการแบ่ง Switch ออกจากกันเลย แต่ใช้ Switch เพียงตัวเดียวก็สามารถทำได้

VLAN หรือ Virtual LAN เป็นความสามารถของอุปกรณ์สวิตช์ที่สามารถกำหนดขอบเขตของ Broadcast Domain บน Layer 2 หมายความว่า บน Switch 1 ตัว สามารถแยก broadcast domain ได้หลายๆ วง หรือ แยก subnet ได้นั่นเอง
broadcast doamin-2

ประโยชน์ของการทำ VLAN หลักๆมีอะไรบ้าง ?

  • ลดจำนวน broadcast traffic ลงในเครือข่าย
  • ลดความเสี่ยง ป้องกันการ flooding ภายใน network ให้จำกัดภายใน VLAN เดียว
  • เพิ่มความปลอดภัย เพราะแต่ละ VLAN ไม่สามารถสื่อสารกันได้
  • มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน เพียงแค่เปลี่ยน config บน port ของ switch ให้อยู่ภายใน VLAN กำหนด โดยไม่ต้องไปย้ายสาย

ลองมาดูวิธีการตั้งค่า VLAN กันครับ

1. สร้าง VLAN บน Switch ที่ต้องการ
Switch# configure terminal
Switch(config)# vlan 10
!! สร้าง VLAN หมายเลข 10
Switch(config-vlan)# name Sales
!! ตั้งชื่อ VLAN หมายเลข 10 เป็น Sales
.
เลขของ VLAN สามารถระบุได้ตาม range ได้ดังนี้vlan-rangeNote : บน Cisco Switch ทุกตัว จะมี default เป็น VLAN 1 และพอร์ตทุกพอร์ตก็จะเป็นสมาชิกของ VLAN 1
ตรวจสอบการสร้าง VLAN ด้วยคำสั่ง “show vlan brief”
show vlan-1
ลองดูรูปด้านล่าง จะเห็นว่า บน Switch มีการสร้าง VLAN 10 ขึ้นมาแล้ว และตอนนี้พอร์ตของ Switch ทุกพอร์ตจะเป็นสมาชิกของ VLAN 1 อยู่ โดย default หมายความว่า ถ้าเราเอา devices มาต่อที่พอร์ต devices เครื่องนั้นก็จะอยู่ใน VLAN 1 ทันที ถ้าเราต้องการจะให้ devices นั้นอยู่ใน VLAN 10 เราจะต้องตั้งค่าพอร์ตนั้นให้เป็นสมาชิกของ VLAN 10 ลองดูที่ขั้นตอนถัดไปครับ
create-vlan-switch
2. นำพอร์ตของ Switch เข้ามาเป็นสมาชิกของ VLAN
Switch# configure terminal
Switch(config)# interface Fa0/1
Switch(config-if)# switchport mode access
Switch(config-if)# switchport access vlan 10
ตรวจสอบด้วยคำสั่ง “show vlan brief”
show vlan-2
จะสังเกตุว่าพอร์ต Fa0/1 จะถูกย้ายเข้ามาเป็นสมาชิกของ VLAN 10 แล้ว
จากรูปด้านล่าง ตอนนี้เรานำพอร์ต Fa0/1 ไปเป็นสมาชิก VLAN 10 แล้ว หมายความว่า ถ้านำ devices ใดๆ มาต่อกับพอร์ต Fa0/1 ก็จะอยู่ใน VLAN 10 และก็จะติดต่อกับเครื่องที่นำมาต่อกับพอร์ต Fa0/2 , Fa0/3 , Fa0/4 ที่อยู่ใน VLAN 1 ไม่ได้แล้วครับ
assign-vlan-switchจบแล้วครับ สำหรับเรื่อง VLAN หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจครับ เจอกันใหม่ในบทความหน้านะคร้าบบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...