วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

12 ภาษาโปรแกรมมิ่งยอดนิยม ที่ชาวไอทีควรจะต้องลับฝีมือไว้บ้าง !



ภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะโปรแกรมเมอร์อีกเต่อไป สารพัดอาชีพที่เกี่ยวข้องทั้งวิศวกรเครือข่าย, แอดมิน, ผู้จัดการสตอเรจ, หรืออาชีพที่ดูแลโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ก็ควรรู้เกี่ยวกับภาษาโปรแกรมมิ่งยอดฮิตเหล่านี้ อย่างน้อย 2 – 3 ภาษา ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานเป็นอย่างมาก
Python สุดยอดโปรแกรมมิ่งท็อปสามที่ผู้ที่ทำงานกับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีควรเรียนรู้ไว้ เนื่องจากการใช้งานที่ง่าย แถมไม่ต้องเสียเวลาคอมไพล์ ทำให้ดีบั๊กได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย มีการนำมาใช้กับการทำงานได้อย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่การผสานโค้ดเข้ากับโค้ดตัวอื่นๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำมาใช้กับคอนโทรลเลอร์ SDN ยอดนิยมอย่าง POX และ Ryu
Java เป็นภาษาเขียนโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกมาอย่างยาวนาน โดยมีผู้ใช้มากกว่าภาษา C ที่เป็นอันดับสองถึงสองเท่า เนื่องจากการที่รันได้บนทุกแพลตฟอร์ม แม้แต่บนแอนดรอยด์หรือ IoT อีกทั้งจากอายุที่มีมานานมาก ทำให้แหล่งความรู้ต่างๆ มีให้เข้าถึงอย่างมหาศาล แม้จะเรียนรู้ได้ง่ายน้อยกว่า Python แต่จาวาก็มีคุณสมบัติพิเศษตรงที่มีข้อยกเว้นมากมาย ที่ว่าแม้คุณเขียนโค้ดผิดก็ยังเข้าใจและรันต่อได้ ถือเป็นภาษาหลักที่สายอาชีพไอทีทุกคนควรมีทักษะติดตัว
PowerShell ถือเป็นภาษาตัวท็อปสำหรับงานไอทีที่ทำงานกับวินโดวส์ ทำให้คุณสามารถเรียกดูข้อมูลหรือสั่งงานบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้ผ่านทูลแอดมินมาตรฐาน อีกทั้งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟต์ได้เปิด PowerShell ให้เป็นโอเพ่นซอร์ส ที่สามารถใช้บนแมคและลีนุกซ์ได้ด้วย
Bash ถ้าพาวเวอร์เชลล์สำหรับวินโดวส์ Bash ก็ถือเป็นโปรแกรมมิ่งหลักสำหรับลีนุกซ์ทุกรุ่นทุกแบบ ใช้สั่งงานจัดการระบบแบบอัตโนมัติได้เป็นอย่างดี จนคนกล่าวว่า แอดมินลีนุกซ์จะไม่สามารถทำงานได้ดีถ้าไม่รู้เรื่องภาษา Bash แต่ปัจจุบันคนก็เริ่มมองหาตัวแทนที่ใช้ได้บนหลายแพลตฟอร์มมากกว่าอย่าง Python
TCL (อ่านว่า ทิกเกิ้ล Tickle) เป็นภาษาสำหรับชาวเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะ โดยรันได้บนเราเตอร์ซิสโก้ และฮาร์ดแวร์ด้านเครือข่ายหลายชนิด ถือเป็นโอเพ่นซอร์สที่มีประโยชน์ในการจัดการเครือข่ายและความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ แถมยังใช้งานร่วมกับภาษา C ได้เป็นอย่างดี
C เหมือนกับจาวาตรงที่เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่ใช้งานได้ครอบจักรวาล แถมยังเป็นที่นิยมสูงสุดเป็นอันดับสอง (และเคยนำจาวาอยู่หลายปีก่อนหน้านี้) นั่นคือ มีแหล่งข้อมูลให้ศึกษาอย่างมหาศาลเช่นกัน นับเป็นภาษาแรกที่ผู้เรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ต้องรู้ แม้จะไม่ง่ายเท่าจาวาหรือ Python แต่ก็สามารถใช้ควบคุมระบบได้โดยตรง รวดเร็ว ใช้ทรัพยากรน้อย ถือเป็นพื้นฐานของภาษาโปรแกรมมิ่งอื่นๆ บนโลก ถือว่าคุ้มที่จะเรียนสำหรับผู้ที่ต้องการลงลึกกับหลักการโปรแกรมมิ่งอย่างจริงจัง
C++ ด้วยชื่อที่คล้าย C ทำให้เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกเป็นอันดับสาม แต่ก็ยังคงความซับซ้อนและยากในการเรียนพอๆ กับ C โดย C++ ถือเป็นการพัฒนาแยกยอดออกมา ที่มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยต่างๆ เมื่อเทียบกับ C
Javascript แม้จะเป็นที่รู้จักในการใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนาเว็บไซต์ฝั่งแสดงผล (Front-end) แต่ก็ยังสามารถนำมาใช้ทำงานในเบื้องหลัง (ผ่าน Node.js) หรือนำมาเขียนสคริปต์ที่รันแบบอัตโนมัติได้ด้วย ถือเป็นภาษายอดนิยมอันดับ 6 ของโลก และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่แปลกที่จะถูกเขียนเป็นหนึ่งในคุณสมบัติเวลารับสมัครงานสายไอทีในปัจจุบัน
Perl มักถูกมองเทียบกับ Python ในแง่ของการเขียนสคริปต์ ซึ่งระบบลีนุกซ์บางตัว (ตัวเก่าส่วนใหญ่) สามารถรันสคริปต์ Perl ได้ นอกจากนี้ยังใช้บ่อยในงานด้านเครือข่ายและความปลอดภัย รวมถึงเป็นสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่รันบนเว็บไซต์ (เก่าๆ ที่ยังไม่ใช้ php) ตอนนี้ถือเป็นภาษายอดนิยมอันดับ 9
PHP ภาษาสำหรับเว็บฝั่งเซิร์ฟเวอร์ยอดนิยม จริงๆ ถือเป็นภาษาที่ใช้ได้ครอบจักรวาลเช่นกัน โอเอสส่วนใหญ่บนโลกนี้รองรับ แถมยังทำงานร่วมกับฐานข้อมูล SQL ได้ดีมาก ตอนนี้ติดอันดับ 7 ของโลก แต่ปัจจุบันผู้พัฒนาเว็บมีแนวโน้มย้ายออกไปซบอกภาษา Ruby แทน รวมถึงด้านสคริปต์งานอัตโนมัติก็เริ่มหันไปพึ่ง Python กันมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเป็นภาษาที่มีประโยชน์มากถ้างานคุณเกี่ยวข้องกับเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก
Ruby เป็นภาษาที่ได้รับการยกย่องตามชื่อว่า “สวยงาม” และ “ดูเป็นธรรมชาติ” ซึ่งถูกพัฒนาให้คนใช้รู้สึกเพลิดเพลินเวลาโค้ดดิ้ง แถมยังเรียนรู้ได้ง่ายอีกด้วย แม้ตอนนี้จะยังอยู่แค่อันดับ 13 แต่ก็เริ่มแซงขึ้นมาเรื่อยๆ โดยเฉพาะในงานด้านพัฒนาเว็บ โดยนิยมนำมาใช้ร่วมกับเฟรมเวิร์กที่ชื่อ Rails
Frenetic เป็นภาษาน้องใหม่ล่าสุด เปิดตัวไปเมื่อ 2553 ออกแบบมาใช้สำหรับงานเครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์เป็นหลัก ถือว่าออกมารองรับเทรนด์โครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ใช้ซอฟต์แวร์จัดการโดยเฉพาะ ตอนนี้ถือว่ามีประโยชน์เมื่อคุณทำงานกับระบบ SDN แบบ OpenFlow แต่ก็ถือว่าการเรียนรู้ภาษาน้องใหม่นี้จะทำให้คุณมีความแตกต่างที่แข่งกับคนอื่นได้มากในอนาคตอันใกล้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...