การ Add Jar Library ใช้งาน External Library บน Eclipse IDE ในการเขียน Java ไฟล์ .jar เป็นไฟล์ที่บรรจุ Class ต่าง ๆ ไว้สำหรับทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะเรียกว่า Library ก็ได้ ซึ่งเราสามารถนำไฟล์ .jar มาใช้กับ Project ของเรา ซึ่งวัตถุประสงค์ของไฟล์ .jar ก็คือ ในกรณีที่เราต้องการเรียกใช้งาน Library อื่น ๆ ที่ตัว JRE ของ Java ไม่มีมาให้ เช่น ในกรณีที่ต้องการติดต่อกับ MySQL Database เราอาจจะต้องทำการ Download ไฟล์ mysql-connector-java-5.1.26-bin.jar มาใช้งาน และยังมี Library อื่น ๆ อีกมากมายที่จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น
ในบทความนี้จะยกตัวอย่างการเรียกใช้งานไฟล์ .jar บนโปรแกรม Eclipse
ตัวนี้คือ Path ของโปรเจคปัจจุบัน
ในการนำไฟล์ .jar มาใช้ นิยมจดัเก็บไว้ในโฟเดอร์ lib/ ให้เราสร้างโฟเดอร์นี้ไว้ใน Project
จากนั้นให้ทำการ Copy ไฟล์ .jar มาใว้ในโฟเดอร์ (ตัวอย่างนี้เป็นไฟล์ .jar ชื่อว่า opencsv-2.3.jar ไว้สำหรับจัดการไฟล์ CSV)
จากนั้นกลับมาที่โปรเจคบนโปรแกรม Eclipse ให้คลิกขวาที่ Project เลือก Refresh
แสดงโฟเดอร์ไฟล์ lib/opencsv-2.3.jar
การเพิ่มไฟล์ .jar เข้ามาใน Project
คลิกขวาที่ Project เลือก Properties
ในส่วนของ Java Build Path เลือก Add JARs..
เลือกไฟล์ .jar ที่ต้องการ
ไฟล์ .jar ถูก Add เข้ามาใน Libraries เรียบร้อยแล้ว ซึ่งตอนนี้เราสามารถเรียกใช้งาน Class ต่าง ๆ ที่อยู่ใน .jar ได้ทันที
ตัวอย่างการ Import ละการเรียกใช้งาน ซึ่งขึ้นอยู่กับ การใช้งาของแต่ล่ะ Class
ทางเลือกการเรียกใช้งานไฟล์ .jar บน Eclipse
ถ้าง่าย ๆ ก็คลิกขวาที่ Project -> Build Path -> Add External Archives.. หรือ Add Libraries
เลือกไฟล์ .jar ที่ต้องการ
แสดง Package ของไฟล์ .jar ที่เราจะสามารถเรียกใช้งานได้
บทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างการ Add ไฟล์ .jar และตัวย่างการเรียกใช้งานบน Project ซึ่งในบทความอื่น ๆ ถัดไป บางตัวจะมีการเรียกใช้งาน Library อยู่หลายตัว อาทิเช่น การติดต่อกับ Database รุ่นต่าง ๆ การสร้างไฟล์ CSV การสร้างไฟล์ Excel , Word ร่วมทั้งพวก JSON หรือ Web Services ก็อาจะต้องหาพวก .jar ที่เป็น Library มาใช้งาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Set MongoDB in the windows path environment
Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...
-
ปกติแล้วเมื่อเราประกาศตัวแปร Type ที่เป็นตัวเลขมา เราก็มักจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรนั้นอยู่บ้าง โดยการคำนวณร่วมกับค่าเดิมที่ตัว...
-
เรียนรู้การใช้ภาษา Lua บทความนี้กล่าวถึง ภาษา Lua ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ และเรียนรู้การเขียนโค้ดในภาษานี้ โดยอาศัยโค้ดตัวอย่าง ผู้อ่าน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น