คำสั่งพื้นฐานด้านเน็ตเวิร์ก
คำสั่ง ipconfig
เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบไอพีแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติ การตระกูล Windows โดยมันจะแสดงค่า IP Address, Subnet Mask, Gateway, DNS Server และข้อมูลอื่นๆ แต่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการตระกูล Unix จะใช้คำสั่ง ifconfigคำสั่ง ping
คำสั่ง ping ถือว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่สุดคำสั่งหนึ่งสำหรับเรื่องเน็ตเวิร์ก คำสั่ง ping เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบเวลาที่ใช้ในการเดินของแพ็กเก็ตระหว่างต้นทางกับ ปลายทาง คือมันจะส่งแพ็กเก็ตให้วิ่งออกไป แล้วเริ่มจับเวลา พอเครื่องปลายทางได้รับแพ็กเก็ตก็จะตอบกลับมาทันที เมื่อกลับมาถึงต้นทาง ก็จะหยุดการจับเวลาแล้วนำเวลาทั้งสองมาลบกัน เพื่อที่จะได้ทราบว่าเวลาที่แพ็กเก็ตใช้ในการเดินทางไป-กลับ คำสั่ง ping มักใช้บ่อยๆ ในการตรวจสอบการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายหรือแม้แต่วงแลนเดียวกัน ว่าสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้หรือไม่ และข้อมูลวิ่งได้สะดวกหรือไม่ โดยดูตามค่าของเวลาที่มันรายงานออกมา นอกจากนี้คำสั่ง ping ยังช่วยให้เราทราบไอพีแอดเดรสของโดเมนเนมต่างๆ ได้คำสั่ง traceroute
เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบเส้นทางการวิ่งของแพ็กเก็ตว่ามันวิ่งผ่านเร้าเตอร์ (Router) ตัวไหนบ้าง โดยโปรแกรม traceroute จะรายงานออกมาเป็นชื่อโดเมนเนม เราสามารถที่จะกำหนดให้มันแสดงออกมาเป็นไอพีแอดเดรสได้เช่นกัน นอกจากนี้คำสั่ง traceroute อาจจะทำให้เราสามารถทราบชื่อเครื่องปลายทางได้คำสั่ง traceroute (อ่านว่า เทรซเร้า) ในระบบ Windows มักจะเขียนชื่อไฟล์คำสั่งไม่เกิน 8 ตัวอักษร ดังนั้นคำสั่ง traceroute จึงกลายเป็น tracert ซึ่งนักคอมพิวเตอร์หลายๆ คนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องมากนัก จะเรียกว่า คำสั่ง ทราเซิร์ท
คำสั่ง route
ใช้เพื่อแสดง เพิ่ม-ลบ และเปลี่ยนแปลงค่าใน Route Table ณ ตอนนี้จะไม่ขอลงรายละเอียดมากนัก เจอกันในบทความต่อไปคำสั่ง arp
ใช้สำหรับแสดงข้อมูลในตาราง ARP นอกจากนั้นยังทำการเพิ่ม-ลบ และเปลี่ยนแปลงค่าในตาราง ARP ได้อีกด้วย
คำสั่ง netstat
เป็นคำสั่งที่มีอยู่ทั้งระบบ Unix และ Windows ใช้เพื่อตรวจดูสถานะทาง TCP และ UDP บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เช่น ดูว่าขณะนี้เรากำลังทำการติดต่อ TCP กับใครบ้าง เป็นต้น คำสั่ง netstat จะมีการ resolve host name ด้วย ถ้าเราไม่ต้องการให้มีการ resolve host name จะต้องใช้พารามิเตอร์คือ netstat -nคำสั่ง nslookup
ใช้สำหรับสือค้นข้อมูลเกี่ยวกับ DNS ของไอพีแอดเดรสหรือโดเมนเนมที่เราสนใจ ซึ่งคำสั่ง nslookup นี้เป็นคำสั่งที่มีอยู่ทั้งระบบ Unix และ Windows เราสามารถเลือก DNS Server ที่ต้องการสอบถามข้อมูลได้ โดยพิมพ์ คำสั่ง nslookup ก่อน เพื่อเรียกใช้งาน nslookup ตามด้วย DNS Server และสอบถามข้อมูลชนิดต่างๆ(สำหรับ Windows อาจจะเรียกใช้คำสั่งแตกต่างกันออกไป)
คำสั่ง telnet
เป็นคำสั่งดั้งเดิมบนระบบ Unix ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการที่จะทำให้ User ซึ่งอยู่ที่ใดก็ตามในเน็ตเวิร์กหรืออินเทอร์เน็ต สามารถที่จะรีโมต (Remote) เข้ามาเพื่อใช้งานเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้ ซึ่งในระบบ Unix นั้นการกระทำภารกิจต่างๆ จะทำโดยการใช้คำสั่งทีละบรรทัด (Command Line) คำสั่ง telnet จำพูดคุยกับเซิร์ฟเวอร์ปลายทางด้วยโปรโตคอล telnet ซึ่งโปรโตคอล telnet จะวิ่งอยู่บนโปรโตคอล TCP Port 23คำสั่ง telnet ไม่ได้มีเฉพาะใน Unix และ Linux เท่านั้น แต่ใน Windows เอง ก็มีให้ใช้งานเช่นกัน คำสั่ง telnet ไม่ใช่เพียงการรีโมตเพื่อล็อกอินเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น แต่ Telnet ยังสามารถทำ TCP Connect เข้าไปยังพอร์ตใดๆ ก็ได้ เช่น การ Telnet ไปยังพอร์ต 25 และพอร์ต 110 เพื่อทำการรับส่งอีเมล์โดยตรง
คำสั่ง ftp
FTP เป็นทั้งชื่อโปรแกรมและเป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการถ่ายโอนไฟล์ต่างๆ ระหว่างเครื่องที่เปิดบริการ FTP (ซึ่งเรียกว่า FTP Server) กับคอมพิวเตอร์ใดๆ ในเน็ตเวิร์ก (ซึ่งก็คือ FTP Client) โดยเครื่อง FTP Client จะทำการ Connect ทาง TCP ไปยัง Port 21 ของ FTP Server จากนั้นจะขอการโอนไฟล์ระหว่างกันโดยใช้คำสั่งตามโปรโตคอล FTP คำสั่งที่นิยมใช้กันก็มีประมาณนี้- ls เพื่อแสดงรายชื่อไฟล์
- cd เพื่อย้ายไดเรอทอรีบนเซิร์ฟเวอร์
- lcd เพื่อย้ายไดเรกทอรีบนเครื่องเรา
- bin เพื่อเตรียมการก่อนถ่ายโอนไฟล์ที่เป็นไบนารี (Binary) เช่น โปรแกรมที่เป็นคอมไพล์ (Compile)แล้ว
- asc เพื่อเตรียมการก่อนถ่ายโอนไฟล์ที่เป็นแอสกี (ASCII) เช่น Text File
- get เพื่อถ่ายโอนไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์มาไว้บนเครื่องเรา
- put เพื่อถ่ายโอนไฟล์จากเครื่องเราไปเก็บไว้บน Server
- mget เหมือน get แต่เป็นการย้ายที่ละหลายไฟล์
- mput เหมือน put แต่เป็นการย้ายที่ละหลายไฟล์
- bye ปิดการ Connect จาก FTP Server
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น