จากภาคแรกเรารู้แล้วว่าสามารถใช้เครื่องหมาย = ในการ Assign ค่าให้ตัวแปรได้ จากตัวอย่างที่แล้ว
package
{
import flash.display.Sprite;
public class HelloWorld extends Sprite
{
public function HelloWorld()
{
var money:Number;
money = 10;
trace("I have " + money + " baht.");
}
}
}
แต่ถ้าเรายังไม่ Assign ค่าให้มันหละ ค่าเริ่มต้น (Default) ของตัวแปรแต่ละชนิด (Type) จะเป็นเท่าไหร่กันบ้าง ลองดูครับ
var n:Number;
var i:int;
var u:uint;
var s:String;
trace(n);
trace("i: " + i);
trace("u is " + u);
trace(s);
ลองรันโปรแกรม (โดยการกดปุ่ม Debug)จะได้ Output เป็นตามภาพด้านล่างครับ
สรุปแล้วเราก็รู้ว่าค่า Default Value ของตัวแปรแต่ละ Type คือ
- Number = NaN (Not a Number)
- int = 0
- uint = 0
- String = null
กลับมาที่เรื่องตัวแปร (Variables) ของเรา จากตัวอย่างก่อนหน้านี้
var money:Number;
money = 10;
trace("I have " + money + " baht.");
Statement ที่เราทำการประกาศตัวแปร (Declare) เราก็สามารถ Assign ค่าให้กับตัวแปรได้ในบรรทัดเดียวกันครับ จะได้เป็น
var money:Number = 10;
trace("I have " + money + " baht.");
ผลที่ออกมาที่ Output ก็จะเหมือนกันทุกประการครับ ตามรูปด้านล่าง
ที นี้เรามาดูเรื่องการบวก ลบ คูณ หาร เลขกันนะครับ หลายท่านอาจจะเห็นว่า Type ของตัวแปรที่ใช้เก็บเลขมีตั้ง 3 Type คือ Number, int, uint จะใช้อะไรตอนไหนดี เรื่องนี้เดี๋ยวว่ากันทีหลังนะครับ เอาเป็นว่าตอนนี้ถ้าเราจะเก็บตัวเลขเราจะใช้ Type Number กันไปก่อนนะครับ
เอาเป็นว่าเรามาลองดูตัวอย่างกันเลยดีกว่าครับ
ลบ
var money:Number = 10 - 8;
trace("I have " + money + " baht.");
จะได้ Output เป็น
บวก
var money:Number = 10 + 8;
trace("I have " + money + " baht.");
จะได้ Output เป็น
คูณ
var money:Number = 10 * 8;
trace("I have " + money + " baht.");
จะได้ Output เป็น
หาร
var money:Number = 10 / 8;
trace("I have " + money + " baht.");
จะได้ Output เป็น
เราก็ได้เรียนรู้แล้วว่าเครื่องหมาย บวก (+), ลบ (-), คูณ (*) , หาร (/) ของภาษา ActionScript เป็นตัวอะไรกันบ้างแล้วนะครับ
คราวนี้เราลองมาดูโปรแกรมนี้กันครับ
var money:Number = 10;
var shoeCost:Number = 8;
money = money - shoeCost;
trace("I have " + money + " baht.");
Output ที่เราได้เวลารันคือ
เหลือ 2 บาท ถูกต้องใช่มั้ยครับ มาดู Code กันดีกว่า โปรแกรมนี้เรามีตัวแปร 2 ตัวคือ money และ shoeCost โดย Assign ค่าเป็น 10 และ 8 ตามลำดับ จากนั้นเราก็ทำการ Assign ค่าให้ตัวแปร money ใหม่ด้วยค่า money - shoeCost ซึ่งมันก็คือ 10 - 8 = 2 เพราะฉะนั้นบรรทัดนี้ก็เลยเปรียบเสมือนแบบนี้ครับ
money = money - shoeCost;
money = 10 - 8;
money = 2;
เวลาโปรแกรมรัน (Runtime) นอกจากจะรันบนลงล่างแล้ว เวลาเจอเครื่องหมายเท่ากับ (=) ก็จะคำนวณคำสั่งด้านขวามือของเครื่องหมายเท่ากับก่อนครับ เหมือนอย่างด้านบนโปรแกรมจะคำนวณก่อนว่า money คือ 10 ส่วน shoeChos คือ 8 ลบกันได้ 2 แล้วค่อยเอา 2 มาทำการ Assign กลับเข้าไปที่ตัวแปร money อีกครั้งหนึ่งครับ
มาลองดูตัวอย่างอีกตัวอย่างกันครับ
var money:Number = 10;
var shoeCost:Number = 8;
money = money - shoeCost;
trace("I have " + money + " baht.");
var salary:Number = 20;
money = money + salary;
trace("Now, I have " + money + " baht.");
โปรแกรมนี้ดีขึ้นมาอีกหน่อยตรงที่หลังจากซื้อรองเท้าไปแล้ว ยังได้เงินมาเพิ่มอีก 20 บาท Output ที่ได้ก็จะเป็น
อันนี้คงไม่ต้องอธิบายแล้วนะครับ คิดว่าน่าจะเข้าใจ Code ของโปรแกรมนี้กันแล้ว เดี๋ยวมาต่อกันใหม่ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น