จาก Entry ที่แล้ว คิดว่าบางคนคงจะอยากใช้ Linux
แล้วใช่มั้ยครับ คงเลือกได้แล้วว่าจะใช้ตัวไหน หรือถ้าคุณยังตัดสินใจไม่ได้
แนะนำว่าให้ดูใน Distrowatch.com ในส่วนของตาราง Top 100 เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนก็ได้ครับ
เวลา นี้ Distro ที่คนทั้งโลกให้ความสนใจกันก็ตามนี้แหละครับ ในที่นี้ก็จะขอใช้ Mint เป็นตัวอย่างในการติดตั้ง Linux นะครับ (ความจริงก็เป็นตัวที่ จขบ. กำลังใช้อยู่เหมือนกัน )
เวลา นี้ Distro ที่คนทั้งโลกให้ความสนใจกันก็ตามนี้แหละครับ ในที่นี้ก็จะขอใช้ Mint เป็นตัวอย่างในการติดตั้ง Linux นะครับ (ความจริงก็เป็นตัวที่ จขบ. กำลังใช้อยู่เหมือนกัน )
ก่อนอื่นเราต้องมีสิ่งเหล่านี้ก่อน ไว้ใช้สำหรับทำตัวติดตั้ง Linux ขึ้นมา
1. สื่อบันทึกข้อมูล (เป็น CD, DVD หรือแฟลชไดรฟ์)
2.1 โปรแกรมเขียนข้อมูลลงแผ่น (เช่น Nero, IMGBurn, InfraRecorder ฯลฯ)
หรือ...
2.2 โปรแกรม Unetbootin ใช้ทำแฟลชไดรฟ์ให้เป็นตัวติดตั้ง
3. ไฟล์ .iso ของตัวติดตั้ง Linux (Distro อะไรก็แล้วแต่คุณเลือก)
เพิ่ม เติม: ตอนจะโหลดตัวติดตั้ง ไม่ว่าจะโหลดจากเว็บไหนก็ให้ดูก่อนด้วยครับว่า เป็นประเภท 32 หรือ 64 bit เครื่องของคุณเป็นประเภทไหนก็ให้เลือกตัวติดตั้งประเภทนั้น โดยที่แบบ 32 บิท จะเข้ากันได้ทั้งเครื่องที่เป็น 32 หรือ 64 bit (เครื่อง 64 bit ใช้แบบ 32 bit ได้ แต่จะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพของเครื่อง) ส่วนแบบ 64 bit จะใช้ได้บนเครื่องที่เป็น 64 bit เท่านั้น (แหงล่ะ...)
4. พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ ที่คุณจะติดตั้งลงไป โดยมากแล้วจะใช้อย่างน้อย 4 GB ขึ้นไป
...ถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มทำตัวติดตั้งเลยครับ
1. สื่อบันทึกข้อมูล (เป็น CD, DVD หรือแฟลชไดรฟ์)
2.1 โปรแกรมเขียนข้อมูลลงแผ่น (เช่น Nero, IMGBurn, InfraRecorder ฯลฯ)
หรือ...
2.2 โปรแกรม Unetbootin ใช้ทำแฟลชไดรฟ์ให้เป็นตัวติดตั้ง
3. ไฟล์ .iso ของตัวติดตั้ง Linux (Distro อะไรก็แล้วแต่คุณเลือก)
เพิ่ม เติม: ตอนจะโหลดตัวติดตั้ง ไม่ว่าจะโหลดจากเว็บไหนก็ให้ดูก่อนด้วยครับว่า เป็นประเภท 32 หรือ 64 bit เครื่องของคุณเป็นประเภทไหนก็ให้เลือกตัวติดตั้งประเภทนั้น โดยที่แบบ 32 บิท จะเข้ากันได้ทั้งเครื่องที่เป็น 32 หรือ 64 bit (เครื่อง 64 bit ใช้แบบ 32 bit ได้ แต่จะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพของเครื่อง) ส่วนแบบ 64 bit จะใช้ได้บนเครื่องที่เป็น 64 bit เท่านั้น (แหงล่ะ...)
4. พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ ที่คุณจะติดตั้งลงไป โดยมากแล้วจะใช้อย่างน้อย 4 GB ขึ้นไป
...ถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มทำตัวติดตั้งเลยครับ
~ ~ ~ ~ ~
# สำหรับคนที่ใช้ CD ติดตั้ง
ง่ายดายมากๆ เพียงแค่ใช้โปรแกรมเขียนแผ่นที่คุณมี เขียนในโหมด "Burn Image to Disk" (หรืออะไรทำนองนี้ แล้วแต่โปรแกรม) เลือกไฟล์ .iso ของตัวติดตั้ง Linux จากนั้นก็สั่งเขียนแผ่นเลย ถ้าจะให้ดีควรจำกัดความเร็วไว้ด้วยสัก 16-32x (หรือต่ำสุดเลยยิ่งดี) เพื่อลดโอกาสไฟล์เสียหาย
ในตัวอย่างนี้ผมใช้ InfraRecorder บน Windows เขียนเอาครับ
ใส่แผ่นในถาด เปิดโปรแกรม แล้วเลือก Write Image
เลือกไฟล์ .iso ที่ต้องการ
ตั้งค่าความเร็ว แล้วกด Burn รอจนเขียนเสร็จ
...ง่ายดายมาก
# สำหรับคนที่ติดตั้งผ่าน USB
ก่อนอื่นก็โหลดโปรแกรม Unetbootin จากเว็บนี้มาก่อน >> unetbootin.sourceforge.net ...โหลดเสร็จก็เปิดขึ้นมาได้เลยแบบไม่ต้องติดตั้ง
เปิดขึ้นมาก็จะโผล่หน้าต่างนี้ ตั้งค่าตามนี้แล้วกด OK
รอจนเสร็จ ประมาณ 3-5 นาที (ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวติดตั้ง)
เสร็จแล้ว... ก็กด Exit
~ ~ ~ ~ ~
การเตรียมพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ไว้ใช้สำหรับการติดตั้ง
คำเตือน: ก่อนจะทำ
ต้องสำรองข้อมูลที่มีอยู่ในแต่ละ Partition ซะก่อน
มิเช่นนั้นอาจต้องมาไว้อาลัยให้กับข้อมูลที่เผลอทำสูญหายไป (จขบ.
เคยโดนมาแล้ว 2 ครั้งเพราะไม่รอบคอบ... ) จะให้ดีก็สำรองไว้ในฮาร์ดดิสก์แบบต่อนอก (External HDD) ไปเลย
โปรแกรมที่ผมชอบใช้จัดการ Partition เป็นของ Minitool ชื่อ "Partition Wizard: Home Edition" ในที่นี้จะเป็นการล้าง Partition ทั้งหน่วย
โปรแกรมที่ผมชอบใช้จัดการ Partition เป็นของ Minitool ชื่อ "Partition Wizard: Home Edition" ในที่นี้จะเป็นการล้าง Partition ทั้งหน่วย
เปิดโปรแกรมขึ้นมา จะขึ้นหน้าตาแบบนี้
คลิกขวาที่ Partition ที่ต้องการจะลบ แล้วเลือก Delete
คลิกขวาที่ตัวฮาร์ดดิสก์ เลือก Rebuild MBR
* ขั้นตอนนี้ จะทำหรือไม่ทำก็ได้... ถ้าเป็นการลบ Linux ตัวเดิมทิ้งเพื่อลงใหม่ ทำขั้นตอนนี้ไว้ก็ดี เผื่อมีปัญหาอะไรจนต้องกลับมาใช้วินโดวส์ จะได้บูตเข้าใช้ได้
* ขั้นตอนนี้ จะทำหรือไม่ทำก็ได้... ถ้าเป็นการลบ Linux ตัวเดิมทิ้งเพื่อลงใหม่ ทำขั้นตอนนี้ไว้ก็ดี เผื่อมีปัญหาอะไรจนต้องกลับมาใช้วินโดวส์ จะได้บูตเข้าใช้ได้
กด Apply สั่งให้โปรแกรมเริ่มทำงาน ต้องแน่ใจก่อนว่าไม่มีอไรผิดพลาดแล้ว
แล้วก็จะได้พื้นที่ว่าง ไว้ใช้สำหรับลง Linux ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น