วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

ทำความรู้จักตัวแปรใน ActionScript 3.0


มาต่อกันที่เรื่องตัวแปรกันครับ

ตัวแปร (Variables) คือ สิ่งที่เราเอาไว้เก็บ Information ของโปรแกรมเรานั่นเองครับ โดยที่ ActionScript 3.0 นั้นจะแบ่งตัวแปรออกเป็นหลายชนิดขึ้นอยู่กับ Information หรือข้อมูลที่เราจะเก็บลงตัวแปรตัวนั้นๆ ครับ

ชนิดของตัวแปรในเบื้องต้นได้แก่
  • Number - ใช้เก็บค่าที่เป็นตัวเลข ได้ทั้งจำนวนเต็ม ทศนิยม เลขติดลบ
  • int - ใช้เก็บค่าตัวเลขที่เป็นจำนวนเต็มเท่านั้น เก็บเลขติดลบได้
  • uint - ใช้เก็บค่าตัวเลขที่เป็นจำนวนเต็มและเป็นบวกเท่านั้น (เก็บเลขติดลบไม่ได้)
  • String - ใช้เก็บ Text หรือข้อความ
ทีนี้เวลาเราจะใช้งานตัวแปร เราต้องประกาศตัวแปรก่อนครับ (Declaring Variables) เวลาเราประกาศตัวแปรเราจะต้องกำหนดชื่อของตัวแปรและชนิดของมัน โดยใช้ Syntax ดังนี้ครับ

var ชื่อตัวแปร:ชนิดตัวแปร;

var variable_name:variable_type;

จะอ่านเป็นภาษาไทยให้ฟังนะครับ วาเคาะชื่อตัวแปรโคลอนชนิดตัวแปรเซมิโคลอน ภาษา ActionScript 3.0 นั้นทุกคำสั่งโปรแกรม (Statement) จะต้องปิดท้ายด้วยเซมิโคลอน (:) เสมอครับ ส่วน var ข้างหน้าสุดนั้นเป็น Keyword ที่เอาไว้ประกาศตัวแปรของ ActionScript ครับ

เอาหละ สมมติเราอยากมีตัวแปรที่ไว้เก็บจำนวนเงินตัวนึงที่ชื่อ money เราก็สามารถประกาศได้โดยเขียน Code ดังนี้ครับ

var money:Number;

ง่ายๆ แค่นี้เองครับ คุณก็มีตัวแปรไว้เก็บค่าจำนวนเงินแล้ว เมื่อเราจะเก็บค่าลงไปในตัวแปร (Assigning Value) เราก็ใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=) ครับ

var money:Number;
money = 10;

หลังจากบรรทัดนี้ตัวแปร money ก็จะมีค่าเป็น 10 ครับ ถ้าเราอยากดูค่าของตัวแปร เราก็สามารถใช้คำสั่ง trace ได้ครับ โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) มาช่วย ลองดูตัวอย่างกันครับ

trace("I have " + money + " baht.");

ดู Code รวมๆ กันครับ

ให้เราลองเขียนที่ไฟล์ HelloWorld.as เหมือนเดิมนะครับ (ยังอยู่กับไฟล์นี้อีกนานครับขอบอก) ตามนี้เลยครับ

package
{
    import flash.display.Sprite;
   
    public class HelloWorld extends Sprite
    {
        public function HelloWorld()
        {
            var money:Number;
            money = 10;
            trace("I have " + money + " baht.");
        }
    }
}


ชัก จะเริ่มคุ้นๆ ว่าเราเขียนไปเขียนมาก็อยู่ที่เดิมตลอดแล้วใช่มั้ยครับ ถูกต้องเลยครับ เรายังต้องเขียนตรงนี้ไปก่อนนะครับ ขอให้ทำความเข้าใจทีละเรื่องอย่างอื่นยังไม่ต้องสนใจครับ เดี๋ยวได้รู้ได้เข้าใจแน่นอนครับไม่ต้องห่วง (แค่อีกนานหน่อยแค่นั้นเองครับ)

เขียนเสร็จแล้วก็จะได้เหมือนในรูปครับ



พอเหมือนในรูปแล้วลอง Debug ดูครับ ก็จะได้ Output ที่ Console ออกมาดังรูปด้านล่าง



จังหวะนี้ให้คุณลองแก้ค่าจาก 10 เป็นค่าอื่นๆ ดูครับ จะเป็น 20, 238, -80, 15.75 ก็ลองกันไปครับ ทุกครั้งที่ลองแก้ก็ลอง Debug แล้วสังเกตุที่ Output กันด้วยนะครับ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นแค่ ปฐมบท ของมหากาพย์ตัวแปรแค่นั้นเองครับ

ต่อกันที่ Post หน้านะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...