Bootstrap คืออะไร
หลายๆ
คน คงเคยได้ยินมาว่า Bootstrap ช่วยให้เราเขียนเว็บได้ไวขึ้นใช่มั้ยครับ
บางคนอาจจะเคยลองใช้มาบ้างแล้ว แต่ถ้าใครยังไม่เคย และอยากลองใช้ดูบ้าง
วันนี้เราจะมาพูดถึงเจ้า front-end framework ตัวนี้กันครับ
ทำไมทั่วโลกเค้าถึงนิยมใช้ มันมีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง
อ่านจบแล้วรับรองใช้เป็นแน่นอนครับ
รู้จักกับ Front-end Framework
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนครับ ว่า Bootstrap นี้มันคือ Front-end Framework ตัวหนึ่ง คำว่า front-end หมายถึง ส่วนที่แสดงผล
ให้
Users ทั่วไปเห็น พูดง่ายๆ ก็คือหน้าเว็บไซต์ของเรานั่นเอง ส่วนคำว่า
framework นั้นจะหมายถึง
สิ่งที่เข้ามาช่วยกำหนดกรอบของการทำงานให้เป็นไปในทางเดียวกันครับ
ในสมัยก่อน เรายังไม่มี framework
ปัญหาที่เราพบเป็นประจำในการทำงานร่วมกันก็คือ ต่างคนต่างทำ
คนหนึ่งเขียนแบบหนึ่ง ส่วนอีกคนก็เขียนอีกแบบหนึ่ง พอใครจะมาแก้งานต่อ
หรือพัฒนาต่อ ก็จะไม่เข้าใจกัน เพราะไม่ได้มีการกำหนดข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้า
ทำให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ framework จะเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ครับ
โดยมันจะเป็นตัวกำหนดให้สมาชิกในทีมเข้าใจตรงกัน ปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน
สมมติ
ว่าโจทย์ของเราคือการสร้างกล่องสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินขึ้นมาสักกล่องหนึ่ง
ถ้าเราใช้ framework แล้วล่ะก็
พนักงานแต่ละคนจะใช้วิธีเดียวกันในการสร้างกล่องนี้ขึ้นมา
แม้ว่าพวกเค้าจะไม่ได้คุยกันเลยก็ตาม และพนักงานคนอื่นๆ
ที่ไม่เคยทราบโจทย์มาก่อน
ก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าโค้ดที่พวกเค้าเขียนขึ้นมามันคือการสร้างกล่องสี
น้ำเงิน
Bootstrap คืออะไร?
อย่างที่บอกไปนะครับว่า
Bootstrap มันก็คือ Front-end Framework ตัวหนึ่ง
ที่จะช่วยให้การพัฒนาเว็บไซต์ของเราเร็วขึ้น ง่ายขึ้น และเป็นระบบมากขึ้น
ซึ่งคำว่า Bootstrap นี้ในภาษาอังกฤษมันมักจะหมายถึง
“สิ่งที่ช่วยทำให้ง่ายขึ้น” หรือ “สิ่งที่ทำได้ด้วยตัวของมันเอง”
ซึ่งในที่นี้น่าจะหมายความว่า ถ้าเราใช้ Bootstrap แล้ว
เราก็ไม่จำเป็นต้องไปหาอะไรมาเพิ่มอีก
Bootstrap ให้อะไรมาบ้าง?
สิ่งที่ Bootstrap ให้มา มี 4 อย่าง ดังนี้ครับ
- Scaffolding grid system จำนวน 12 คอลัมน์ สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบ fixed และแบบ fluid
- Base CSS style sheets สำหรับ html elements พื้นฐาน เช่น typography, tables, forms และ images
- Components style sheets สำหรับสิ่งที่เราต้องใช้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น navigation, breadcrumbs รวมไปถึง pagination
- JavaScript jQuery plugins ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น modal, carousel หรือ tooltip
บาง
คนอาจจะไม่ค่อยคุ้นกับคำว่า Scaffolding ใช่มั้ยครับ จริงๆ
แล้วมันก็เป็นเหมือนโครงของหน้าเว็บครับ ในการใช้ Bootstrap เราจะต้องสร้าง
layouts ขึ้นมาก่อน เราอยากได้กี่คอลัมน์ แต่ละคอลัมน์มีความกว้างแค่ไหน
ข้างในคอลัมน์มีกล่องอะไรบ้าง ให้เราสร้างขึ้นมาก่อนครับ
เมื่อเราได้โครงของหน้าเว็บมาแล้ว ทีนี้ก็เหลือแค่หยิบของที่ Bootstrap
เตรียมให้ มาใส่ตามกล่องที่เราได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้เท่านั้นเอง
ฟังดูไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะครับ เราลองมา workshop กันเลยดีกว่าครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น