คำสั่งในการจัดหน้า
HTML
ในบทความนี้จะเป็นเนื้อหาของคำสั่งที่ใช้ในส่วนของ body section ทั้งหมดโดยจะเป็นคำสั่งในส่วนของการจัดหน้าซึ่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการลองพิมพ์ดู ดังนั้น Hellomyweb.com จึงได้ทำ text editor และหน้าจอแสดงผลไว้ด้วยกันให้คุณลองพิมพ์ลองแก้ไขกันดู โดยคลิกที่ลิงก์ที่หัวข้อได้เลย
ลองพิมพ์ดูง่ายนิดเดียว คลิกที่หัวข้อเพื่อทดลองพิมพ์
1.คำสั่งที่ใช้ในการจัดย่อหน้า
คำสั่ง P นี้จะเพิ่มบรรทัดว่างก่อนและหลังตัวอักษรที่เราพิมพ์ไปโดยอัตโนมัติ ตามที่แสดงในตัวอย่าง
รูปแบบ p tag
<p> ย่อหน้าที่ 1 </p> <p> ย่อหน้าที่ 2 </p> <p> ย่อหน้าที่ 3 </p> |
2.คำสั่งที่ใช้ในการขึ้นบรรทัดใหม่
การตัดบรรทัดใหม่นั้นปรกติ web browser จะทำการตัดให้อยู่แล้ว แต่การตัดคำของ web browser จะตัดเมื่อแสดงผลไม่ได้ แต่ถ้าเราใส่คำสั้ง <br> เข้าไป web browser จะตัดให้ทันที ซึ่งคุณอาจจำเป็นที่จะต้องตัดคำเป็นบรรทัดสั้นๆเช่น การเขียนกลอนดังตัวอย่าง
รูปแบบ br tag
บรรทัดที่ 1 <br> บรรทัดที่ 2 <br> บรรทัดที่ 3 <br> |
3.คำสั่งที่ใช้กับข้อความที่เป็นหัวเรื่อง
คำสั่ง h จะมีทั้งหมด 6 ลำดับด้วยกัน ไล่ตั้งแต่ h1,h2,h3,h4,h5,h6 ซึ่งขนาดของ h1 จะใหญ่ที่สุดดังตัวอย่างที่แสดง โดยเราจะใช้กับตัวอักษรที่ต้องการให้เป็นหัวเรื่องเพื่อให้อักษรนั้นโดดเด่น ขึ้นมา จะสังเกตุได้ว่าเมื่อใช้ h tag จะตัดตัวอักษรที่ต่อจาก h tag เป็นบรรทัดใหม่อัตโนมัติ
รูปแบบ h tag
<h1>head 1</h1> <h2>head 2</h2> <h3>head 3</h3> <h4>head 4</h4> <h5>head 5</h5> <h6>head 6</h6> |
4. คำสั่งที่ใช้ในการขึดเส้นคั่น
คำสั่งที่ใช้ในการขีดเส้นคั่น
รูปแบบ hr
<p>เนื้อหาบทที่ 1</p> <hr> <p>เนื้อหาบทที่ 2</p> <hr> |
5.คำสั่งที่ใช้ในการจัดตัวอักษรชิดซ้าย ชิดขวา หรือกึ่งกลาง
การจัดให้ตัวอักษรให้ชิดซ้าย ขวา หรือกึ่งกลาง เราจะใช้ Attributes ให้รายละเอียดของ tag โดยเราจะใช้ aling เพื่อบอกว่าให้ชิดซ้าย (align = 'left') ชิดขวา (align = 'right') และ จัดกึ่งกลาง (align = 'center')
รูปแบบ align
<h3 align = 'left'>ชิดซ้าย</h3> <h3 align = 'right'>ชิดขวา</h3> <h3 align = 'center'>จัดเข้ากลาง</h3> |
6. คำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนสีพื้นหลัง
bgcolor เป็น Attributes อย่างหนึงเหมือนกันที่ใช้กำหนดสี คุณอาจเปลี่ยนจาก สีเขียว(green) เป็น เหลือง(yellow) หรือสีอื่นๆก็ได้
รูปแบบ bgcolor
<body bgcolor ='green'> <h1> ดูสีพื้นหลัง </h1> </body> |
7. การเขียนคำบรรยาย soure code
ในส่วนของคำบรรยาย soure code นั้นจะไม่แสดงที่ web browser เราเขียนเพื่อบรรยายว่า sorce code ส่วนนี้ใช้ทำอะไร เพื่อความสะดวกเมื่อกลับมาแก้ไข sorce code ในภายหลังเพราะเราอาจจำไม่ได้ว่าเราเขียนส่วนนี้ไว้เพื่ออะไร เพราะว่าจริงๆแล้ว soure code ที่เราใช้งานจริงนั้นจะมีมากมายหลายร้อยบรรทัด ถ้าเราไม่เขียนบรรยายไว้ก็ทำให้เสียเวลาในการหาส่วนที่เราต้องการจะแก้ไข
รูปแบบการเขียนคำบรรยาย source code
<!-- คำบรรยาย source code --!> |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น