วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

สั่งเปิดเครื่องพีซี DELL ด้วย Wake-on-LAN (WOL)

โพสต์นี้ เป็นการแนะนำวิธีสั่งเปิดเครื่องพีซี Dell ด้วย Wake-on-LAN (WOL) ซึ่งเป็นการแนะนำเพิ่มเติมจากเรื่อง วิธีการสั่งเปิดเครื่องพีซี HP ด้วย Wake-on-LAN ที่ได้โพสต์ไปแล้วก่อนหน้านี้ครับ

ขั้นตอนที่ 1 เปิดฟีเจอร์ Wake-on-LAN ใน BIOS

การเปิดฟีเจอร์ Wake-on-LAN ใน BIOS เพื่อให้สามารถสั่งเปิดเครื่องพีซี Dell ด้วย Wake-on-LAN (WOL) ได้นั้น มีขั้นตอนแตกต่างกับการทำบนเครื่อง HP เล็กน้อย เพราะว่าเครื่องพีซี Dell นั้นมีการเปิด Deep Sleep Control เป็น Enabled in S4 and S5 ทำให้ไม่สามารถสั่งเปิดเครื่องด้วย Wake-on-LAN เพราะการ์ดแลนไม่ติดเมื่อปิดเครื่อง ทำให้ต้องปิดฟีเจอร์นี้ก่อน
สำหรับการตั้งค่า BIOS เครื่องพีซี Dell รุ่น OptiPlex 7440 เพื่อให้เปิดเครื่องด้วย Wake-on-LAN (WOL) มีขั้นตอนดังนี้
1. (ให้ทำการต่อสายเม้าส์ คีย์บอร์ด และจอภาพให้เรียบร้อย ก่อนลงมือ) ทำการเปิดเครื่อง จากนั้นเมื่อปรากฏโลโก้ Dell ให้กดปุ่ม F2
2. บนหน้า Settings ให้คลิกเมนู Power Management จากนั้น BIOS ดังนี้
Deep Sleep Control = Disable

Wake On LAN/WLAN = LAN Only
(ตั้งเป็น LAN & WLAN ถ้าต้องการสั่งเปิดเครื่องผ่านทาง WLAN)
4. คลิก Apply จากนั้นบนหน้า Apply Settings Confirmation ให้คลิก OK
5. เสร็จแล้วคลิก Exit

ขั้นตอนที่ 2 เปิดฟีเจอร์ Wake On Lan บนการ์ดแลน

การเปิดฟีเจอร์ Wake On Lan บนการ์ดแลนบนเครื่องพีซี Dell มีวิธีและขั้นตอนเหมือนกับการทำบนเครื่องพีวียี่ห้อ HP อ่าน วิธีเปิดฟีเจอร์ Wake On Lan บนการ์ดแลน

ขั้นตอนที่ 3 สั่งเปิดเครื่องพีซีด้วย Wake-on-LAN

หลังจากทำการตั้งค่า BIOS เครื่องพีซี Dell รุ่น OptiPlex 7440 เราก็จะสามารถทำการสั่งเปิดเครื่องด้วย Wake-on-LAN (WOL) ได้
อย่างไรก็ตาม การสั่งเปิดเครื่องพีซีด้วย Wake-on-LAN ต้องใช้โปรแกรมช่วยซึ่งมีให้เลือกใช้มากมายหลายตัว สำหรับโปรแกรมที่ผมใช้งานแล้วชื่นชอบและแนะนำให้ทดลองใช้กัน คือ โปรแกรม WakeMeOnLan ของ Nirsoft โดยผมแนะนำวิธีการใช้งานไปแล้วก่อนหน้านี้ อ่าน วิธีสั่งเปิดเครื่องพีซีด้วย WakeMeonLAN
หมายเหตุ: วิธีการในบทความนี้ผมทดสอบแล้วว่าสามารถใช้งานได้ผลบนเครื่องพีซี Dell รุ่น OptiPlex 7440 ทั้งรุ่น All-In-One และ Micro Form Factor

ที่มา:http://www.saranitus.com/2018/01/how-to-enabled-wake-on-lan-on-dell-pcs.html

สั่งเปิดเครื่องพีซี HP ด้วย Wake-on-LAN (WOL)



ก่อนหน้านี้ ผมได้แนะนำ วิธีทำให้ Computer เปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อเสียบปลั๊ก ให้ได้ทราบกันไปแล้ว โพสต์นี้ แต่วิธีการดังกล่าวนั้นไม่ค่อยยืดหยุ่น เพราะว่าเมื่อเสียบปลั๊กเครื่องก็จะเปิดอัตโนมัติในทันที ถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้ว เราจะไม่ต้องการเปิดเครื่องก็ตามโพสต์นี้ผมจึงมีวิธีการที่ยืดหยุ่นกว่ามาฝาก เป็นการสั่งเปิดเครื่องพีซีด้วย Wake-on-LAN (WOL) 
Wake-on-LAN (WOL) เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราสามารถสั่งเครื่องพีซีผ่านทางเครือข่ายได้โดยไม่ต้องเดินไปยังหน้าเครื่องพีซีตัวนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ในการใช้งานนั้นจะต้องมีเงื่อนไขว่าเครื่องพีซีต้องสนับสนุนเปิดฟีเจอร์ Wake-on-LAN และต้องเปิดใช้งานใน BIOS
และมีข้อที่ควรทราบอีกอย่างคือ กรณีที่ต้องการสั่งเปิดเครื่องพีซี Windows ที่สั่งปิดเครื่อง (Shutdown) จะต้องทำการเปิดฟีเจอร์ Wake-on-LAN บนการ์ดแลนด้วยจึงจะทำงานได่้
สำหรับโพสต์นี้ เป็นการสาธิตวิธีการสั่งเปิดเครื่องพีซีด้วย Wake-on-LAN บนเครื่องพีซียี่ห้อ HP รุ่น ProDesk 600 G3 MT และรุ่น EliteOne 800 G3 ครับ
เพื่อให้ทำตามได้ง่าย ผมจะขอแบ่งการสั่งเปิดเครื่องพีซีด้วย Wake-on-LAN ออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. เปิดฟีเจอร์ Wake-on-LAN ใน BIOS
2. เปิดฟีเจอร์ Wake-on-LAN บนการ์ดแลน
3. สั่งเปิดเครื่องพีซีด้วย Wake-on-LAN

ขั้นตอนที่ 1 เปิดฟีเจอร์ Wake-on-LAN ใน BIOS

การเปิด Wake-on-LAN ใน the BIOS เครื่องพีซียี่ห้อ HP รุ่น ProDesk 600 G3 MT และรุ่น EliteOne 800 G3 มีขั้นตอนดังนี้
1. (แนะนำให้ทำการต่อเครื่องสำรองไฟฟ้าให้เรียบร้อย ก่อนลงมือ) ทำการเปิดเครื่อง จากนั้นเมื่อปรากฏโลโก้ HP ให้ทำการกดปุ่ม F10
2. บนหน้า Main ให้คลิกเมนู Advanced
3. บนหน้าAdvanced ให้คลิกเลือก Built-In Device Options
4. บนหน้า Built-In Device Options ให้ตั้งค่า Wake-on-LAN เป็น Boot to Hard Drive หรือ Boot to Network
5. คลิกเมนู Main แล้วคลิก Save Changes and Exit จากนั้นคลิก Yes บนหน้า Save Changes?

ขั้นตอนที่ 2 เปิดฟีเจอร์ Wake On Lan บนการ์ดแลน

ขั้นตอนนี้ให้ทำการเปิดเครื่องเข้า Windows 10 จากนั้นลงชื่อเข้าให้เรียบร้อย แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้
1. เปิด Device Manager โดยการคลิกขวาปุ่ม Start แล้วเลือก Device Manager หรือใช้วิธีการด้านล่าง
ค้นหาคำว่า Device ด้วย Cortana แล้ว Device Manager – Control Panel
การกดปุ่ม Windows + Brake แล้วเลือก Device Manager
2. บนหน้า Device Manager ให้คลิกหัวข้อ Network adapters
3. ภายใต้หัวข้อ Network adapters ให้คลิกขวาบนการ์ดแลนที่ต้องการ ในตัวอย่างนี้คือ Intel Ethernet Connection (5) L219-LM แล้วเลือก Properties
4. บนหน้า Properties ให้ทำการตั้งค่าดังนี้
แท็บ Advanced
ตั้งค่า Wake on Magic Packet เป็น Enabled
ตั้งค่า Wake on Pattern Match เป็น Enabled
ถ้าหากไม่มีตัวเลือก 2 ตัวนี้แสดงว่าไดรฟ์เวอร์การ์ดแลนเป็นเวอร์ชันเก่า ให้ทำการอัปเดตตามขั้นตอนในหัวข้อ “การอัปเดตไดรฟ์เวอร์การ์ดแลน”
แท็บ Power Management
ติ๊กเลือก Allow this device to wake the computer
5. เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อบันทึกการตั้งค่า จากนั้นทำการปิด Device Manager

ขั้นตอนที่ 3 สั่งเปิดเครื่องพีซีด้วย Wake-on-LAN

ขั้นตอนนี้ เป็นการสั่งเปิดเครื่องพีซีด้วย Wake-on-LAN ซึ่งต้องหาโปรแกรมมาช่วยทำ ซึ่งถ้าเราลองค้นหา “โปรแกรมสั่งเปิดคอมพิวเตอร์ Wak on Lan” บนอินเทอร์เน็ต จะพบว่ามีโปรแกรมให้เลือกใช้งานมากมายหลายตัว แต่โปรแกรมที่ผมใช้งานแล้วชื่นชอบ (เป็นการส่วนตัว) ซึ่งจะนำมาจะแนะนำ คือ โปรแกรม WakeMeOnLan ของ Nirsoft ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี
โปรแกรม WakeMeOnLan นอกจากใช้งานได้ฟรีแล้วยังมีขนาดเล็ก (เวอร์ชัน 32-บิต มีขนาด 329 KB ส่วนเวอร์ชัน 64-บิต มีขนาด 354 KB) ยังสามารถใช้งานได้ทั้งแบบกราฟิก (GUI) และแบบบรรทัดคำสั่ง (Command line) ทำให้สามารถใช้งานในแบบแบทช์ไฟล์ได้
ทั้งนี้ให้ดาวน์โหลดโปรแกรม WakeMeOnLan ให้ตรงกับเวอร์ชันของเครื่องที่จะทำการรันโปรแกรม คือถ้าใช้ Windows 10 เวอร์ชัน 32-บิต ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมเวอร์ชัน 32-บิต ถ้าหากใช้ Windows 10 เวอร์ชัน 64-บิต ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมเวอร์ชัน 64-บิต โดยไฟล์ที่ได้จะเป็นซิปไฟล์ ดังนั้นต้องทำการแตกไฟล์ก่อนจึงจะใช้งานได้นะครับ

การสั่งเปิดเครื่องพีซีด้วยโปรแกรม WakeMeOnLan

การใช้โปรแกรม WakeMeOnLan แบบกราฟิก นั้นทำได้ง่าย โดยเปิดโปรแกรมแล้วคลิก Scan จากนั้นคลิกเลือกเครื่องพีซีที่ต้องการแล้วเลือก Wake Up Selected Computer
กรณีต้องการสั่งเปิดคอมพิวเตอร์ Wak on Lan พร้อมกันหลายตัวให้เลือกเครื่องพีซีที่ต้องการแล้วเลือก Wake Up Selected Computer
รูปด้านล่างเป็นการสั่งเปิดเครื่ิองพีซีพร้อมกันหลายเครื่องด้วย Wake-on-LAN โดยใช้โปรแกรม WakeMeOnLan ในโหมกกราฟิก
การใช้โปรแกรม WakeMeOnLan แบบบรรทัดคำสั่ง
การใช้โปรแกรม WakeMeOnLan แบบบรรทัดคำสั่ง ให้ทำการรันโปรแกรมจากคอมมานด์พร้อมท์ตามรูปแบบด้านล่าง
WakeMeOnLan.exe /wakeup 40-65-81-A7-16-13
นอกจากนี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรม WakeMeOnLan ในลักษณะแบทช์ไฟล์ได้ตามตัวอย่างด้านล่าง
WakeMeOnLan.exe /wakeup 40-65-81-A7-16-13
WakeMeOnLan.exe /wakeup 40-65-81-A7-16-23
WakeMeOnLan.exe /wakeup 40-65-81-A7-16-33
WakeMeOnLan.exe /wakeup 40-65-81-A7-16-43
WakeMeOnLan.exe /wakeup 40-65-81-A7-16-53
WakeMeOnLan.exe /wakeup 40-65-81-A7-16-63
!การใช้งานให้แทนค่า Mac address ในตัวอย่างด้วยค่า Mac address ของเครื่องพีซีจริง
สามารถศึกษาการใช้งานใช้โปรแกรม WakeMeOnLan เพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ที่ดาวน์โหลดครับ

การอัปเดตไดรฟ์เวอร์การ์ดแลนบน Windows 10

!เชื่อมต่อเครื่องพีซีกับอินเทอร์เน็ตก่อนลงมือทำครับ
กรณีที่เปิดแท็บ Advanced แล้วไม่มีออปชัน Wake on Magic Packet และ Wake on Pattern Match เราจะต้องทำการอัปเดตไดรฟ์เวอร์การ์ดแลนให้เป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุดก่อน ตามขั้นตอนดังนี้
1. ทำตามขั้นตอนที่ 1 และ 2 ในหัวข้อ “การเปิดฟีเจอร์ Wake On Lan บนเครื่องพีซี HP รุ่น ProDesk 600 G3 MT”
2. ภายใต้หัวข้อ Network adapters ให้คลิกขวาบนการ์ดแลนที่ต้องการ ในตัวอย่างนี้คือ Intel Ethernet Connection (5) L219-LM แล้วเลือก Update driver
3. บนหน้า Update drivers เลือก Search automatically for updated driver software แล้วรอจนการติดตั้งไดรฟ์เวอร์แล้วเสร็จ
4. เสร็จแล้วคลิก Close จากนั้นทำการปิด Device Manager
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการเปิดใช้งานฟีเจอร์ Wake-On-Lan บนเครื่องพีซี HP รุ่น ProDesk 600 G3 MT และ EliteOne 800 G3 พร้อมแนวทางการใช้งานโดยการใช้โปรแกรม WakeNeOnLan ของ Nirsoft ที่นำมาฝากวันนี้ครับ
 ที่มา:http://www.saranitus.com/2018/01/how-to-enabled-wake-on-lan-on-hp-pcs.html#prettyPhoto

ทำให้ Computer เปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อเสียบปลั๊ก






ในการให้บริการคอมพิวเตอร์ในห้องประชุมหรือห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เราสามารถภาระงานในการต้องเดินเปิดเครื่องได้ โดยการตั้งให้คอมพิวเตอร์เปิดโดยอัตโนมัติเมื่อเสียบปลั๊กหรือเปิดสวิทช์ไฟฟ้า ซึ่งคอมพิวเตอร์แบรนด์ดัง ๆ มีฟีเจอร์เปิดเครื่องโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์นี้จะไม่ได้ถูกเปิดใช้งานมาโดยเริ่มต้น ดังนั้นเราจะต้องทำการตั้งค่าเองผ่านทาง BIOS ครับ

ทำให้คอมพิวเตอร์เปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อเสียบปลั๊กหรือเปิดสวิทช์

ฟีเจอร์การตั้งให้คอมพิวเตอร์เปิดเครื่องเองเมื่อเสียบปลั๊กหรือเปิดสวิทช์นั้นแต่ละยี่ห้อจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น HP เรียกว่า After Power Lost ส่วน Dell เรียกว่า AC Recovery สำหรับขั้นตอนการเปิดใช้งานนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อเช่นกัน สำหรับในโพสต์นี้ผมมีตัวอย่างการทำบนเครื่องยี่ห้อพีซีและเดลล์

เดสก์ท็อปพีซี HP รุ่น ProDesk 600 G3 MT

การตั้งค่า BIOS เครื่องเดสก์ท็อป HP รุ่น ProDesk 600 G3 MT ให้เปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อเสียบปลั๊กหรือเปิดเบรกเกอร์ มีขั้นตอนดังนี้
1. (ให้ทำการต่อสายเม้าส์ คีย์บอร์ด และจอภาพให้เรียบร้อย ก่อนลงมือ) ทำการเปิดเครื่องจากนั้นกดปุ่ม F10
2. บนหน้า Main ให้คลิกเมนู Advanced
3. บนหน้าAdvanced ให้คลิกเลือก Boot Options
4. บนหน้า Boot Options ให้ตั้งค่า After Power Lost เป็น Power On
5. คลิกเมนู Main แล้วคลิก Save Changes and Exit จากนั้นคลิก Yes บนหน้า Save Changes

ออล-อิน-วันพีซี Dell รุ่น OptiPlex 7440 AIO

การตั้งค่า BIOS เครื่องออล-อิน-วันยี่ห้อ Dell รุ่น OptiPlex 7440 AIO ให้เปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อเสียบปลั๊กหรือเปิดเบรกเกอร์ มีขั้นตอนดังนี้
1. (ให้ทำการต่อสายเม้าส์ คีย์บอร์ด และจอภาพให้เรียบร้อย ก่อนลงมือ) ทำการเปิดเครื่องจากนั้นกดปุ่ม F2
2. บนหน้า Settings ให้คลิกเมนู Power Management จากนั้นคลิก AC Recovery
3. บนหน้า AC Recovery ด้านขวามือให้ติ๊กเลือก Power On เสร็จแล้วคลิก Apply
4. บนหน้า Apply Settings Configurations คลิก OK เสร็จแล้วคลิก Exit

ทดสอบการทำงาน

หลังจากทำการตั้งค่าตามขั้นตอนด้านบนแล้ว หลังจากนั้นสามารถทำการทดสอบการทำงานได้โดนการปิดเครื่องแล้วถอดปลั๊ก จากนั้นลองเสียบปลั๊ก หากไม่มีอะไรผิดพลาดคอมพิวเตอร์ก้จะเปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ
กรณีที่คอมพิวเตอร์ก้ไม่เปิดเครื่องโดยอัตโนมัติ ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าว่าได้ทำการตั้งค่าตามขั้นตอนด้านบนครับ

ที่มา:http://www.saranitus.com/2018/01/how-to-set-computer-to-auto-power-on-after-power-loss.html

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...