วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ติดตั้ง Open VPN Server บน Google Cloud Platform ใช้งานแบบฟรีๆ


ติดตั้ง Open VPN Server บน Google Cloud Platform ใช้งานแบบฟรีๆ

วันนี้จะมาเล่าและแนะนำวิธีการตั้ง Open VPN Server ใช้เองแบบฟรีๆ บน Google Cloud Platform สำหรับใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบทะลุไปออกทางฝั่ง US อย่างปลอดภัย และที่สำคัญคือหลบหลีกจากการถูกบล็อคการเข้าใช้งานเว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์ที่ไม่สามารถใช้ได้จากประเทศไทย ซึ่งหลายๆ เว็บไซต์ก็ไม่ควรบล็อคไม่รู้จะบล็อคทำไม มาเริ่มกันเลยดีกว่า

ส่วนประกอบที่จำเป็นต้องรู้จัก

Google Cloud Platform (GCP) เป็นบริการ Public Cloud ของ Google ซึ่งคนทำงานฝั่งคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำ Computer Server น่าจะรู้จักกันอยู่แล้ว ความเด็ดของมันคือ เมื่อไม่นานมานี้มีปรับการให้บริการจาก $300 ฟรี 1 ปี ไปเป็น Always Free ในบางบริการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Google Compute Engine หรือ Virtual Private Server (VPS) บน GCP นั่นเอง ซึ่ง Google บอกว่า เครื่องกระจอกสุด นายเอาไปใช้ได้เลยฟรีๆ ตลอดไป ซึ่งเราจะทิ้งโอกาสไปทำไม ก็เอามาใช้งานซะเลย
Open VPN (OVPN) เป็นหนึ่งในโปรแกรมสำหรับใช้งาน Virtual Private Network (VPN) ถ้าให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ สมมุติว่าเราเล่น Free WiFi ที่ร้านกาแฟ แต่ WiFi นั้นดันไม่เข้ารหัส ซ้ำร้ายต่ออยู่กับคนแปลกหน้ามากมาย มันมีโอกาสที่สัญญาณของเราที่ส่งออกไปจะถูกดักจับได้กลางอากาศ หรือแม้กระทั่งถูก man-in-the-middle attack (MITM) จากผู้ใช้ในวงเดียวกันเอง หาก Network นั้นถูกเซทมาไม่ดี (ซึ่งหลายๆ แห่งเท่าที่เห็นจะเป็นแบบนั้น) ถ้าเราเข้าเว็บด้วย HTTPS ก็พอจะอุ่นใจได้เพราะเป็นการเข้ารหัสเพื่อใช้งานเว็บไซต์ที่เป็นที่ยอมรับ (แต่ไม่ได้แปลว่าปลอดภัย 100%) แต่ถ้าเป็น HTTP ธรรมดาล่ะก็ ผู้โจมตีจะเห็นหมดว่า เราเข้าเว็บไหน ส่งและรับข้อมูลอะไร ซึ่งนั่นรวมไปถึง User/Pass ที่พิมพ์ลงไปด้วย และจะเลวร้ายสุดๆ ถ้าคุณใช้ User/Pass เดียวกันกับทุกเว็บไซต์ เพราะนั่นหมายความว่า การหลุดครั้งเดียวอาจทำให้คุณโดนยาวไปถึง Gmail Facebook และ อื่นๆ ที่คุณใช้ซ้ำ ดังนั้นการต่อ VPN เวลาออกไปใช้อินเทอร์เน็ตสาธารณะจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากและไม่ควรละเลย โลกนี้ก็มี VPN Providers มากมายหลายเจ้า ราคาก็ไม่ได้แพงมาก แต่จะเยี่ยมมากถ้าเรามีใช้ของเราเองฟรีๆ ใช่ไหมล่ะ
PiVPN เป็นชุดติดตั้งโปรแกรม ช่วยให้เราติดตั้ง OVPN Server ได้โดยง่าย ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นมันออกแบบมาให้ถูกใช้บน Raspberry Pi ซึ่งผมก็มีใช้งานอยู่ประจำ แต่ผมลองเอามาลงบน GCP ปรากฎว่าใช้ได้ ก็เลยเป็นเหตุที่มาเขียน Entry นี้นั่นเอง

ขั้นตอนการติดตั้ง

ก่อนอื่นคงต้องบอกก่อนว่าจะไม่ลงลึกไปสอนวิธีการใช้ GCP ตั้งแต่เปิด Account เรื่องพวกนั้นขอให้ไปศึกษากันเองนะครับ ผมจะเริ่มจากการตั้งเครื่องและตั้งค่า Network เป็นต้นไป

ตั้งเครื่อง Google Compute Engine


เริ่มต้นจากการสร้าง VM ใหม่ โดยไปที่ Compute Engine > VM Instances > Create

จากนั้นตั้งชื่อตามที่ต้องการ
เลือก Zone ให้อยู่ใน US
เลือก Machine Type เป็นเครื่อง micro แบบเล็กสุด f1-micro (จะได้ Memory 0.6GB)
ทางด้านขวาจะเป็นว่าเราสามารถใช้เครื่อง f1-micro ได้ฟรี 720 ชั่วโมง
จากนั้นเลือก Boot disk เป็น Debian GNU/Linux 9 (Stretch) ส่วน ใช้ HDD 10GB

เลื่อนลงมาหน่อยจะเห็น Firewall ไม่ต้องทำอะไร เพราะไม่ได้ทำ Web Server
ถัดจาก Firewall เลือกไปที่ Networking จากนั้นช่อง Network tags ใส่เป็น ovpn-server เดี๋ยวเราจะไปสร้าง Firewall rule มาแมพกับเครื่อง
ส่วน SSH Keys ก็ไม่ต้องเซทครับ เดี๋ยวใช้ Web terminal ได้

ตั้งทุกอย่างเรียบร้อยแล้วกด Create มันก็จะหมุนๆ รอสักพักก็จะได้เครื่องออกมาเรียบร้อย

ตั้งค่า Static IP


เนื่องจากเราเปิด Server ที่จะต่อเข้าไปทางอินเทอร์เน็ต ก็เลยต้องมีการล็อค Static IP เอาไว้ก่อน วิธีการก็คือ เข้าไปที่ VPC network > External IP addresses
จากนั้นก็จะเห็นว่ามี IP แบบ Ephemeral อยู่หนึ่งอันของเครื่องที่เราสร้างขึ้นมา กดเปลี่ยนเป็น Static

จากนั้นมันจะให้ตั้งชื่อ ก็ตั้งไป เสร็จเรียบร้อยกด Reserve เราก็จะได้ Public Static IP ที่สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่

ตั้งค่า Firewall


เนื่องจาก Open VPN เป็น Service ที่ไม่ได้มีตั้งค่าไว้แต่ต้น เราจึงต้องเพิ่ม Firewall rule เอง โดยเข้าไปตั้งค่าที่ VPS network > Firewall rules > Credit Firewall Rule

จากนั้นตั้งชื่อ แนะนำให้ตั้งเป็น default-allow-ovpn หรือแปลว่า ให้ allow รับ ovpn ที่เป็น port default
สร้างแล้วที่ Target tags ใส่ลงไปว่า ovpn-server ตรงนี้จะตรงกับที่เราใส่ network tags ตอนสร้าง VM
ตั้ง Source IP rages เป็น 0.0.0.0/0 หมายความว่าเปิดรับการเชื่อมต่อจาก IP นอกทุกอัน
สุดท้ายใส่ udp:1194 ลงไปในช่อง Protocols and ports
แล้วกด Create

ติดตั้ง PiVPN


ต่อมาจะเป็นการติดตั้ง Ovpn VPN Server โดยใช้ PiVPN โดนเริ่มต้นจากเปิด SSH Terminal ผ่านทาง Web browser โดยกดที่เครื่อง VM ที่สร้างขึ้นมา แล้วกด SSH


อย่างนั้นก็จะเห็นหน้าดำๆ ประมาณอย่างในภาพข้างบน

ต่อมาลง PiVPN โดยการพิมพ์คำสั่ง
ลงไปใน Terminal

หน้าต่าง PiVPN ก็จะโหลดขึ้นมา เห็นเป็นประมาณในภาพ

มันก็จะบอกว่า นี่จะเปลี่ยน Raspberry Pi ให้กลายเป็น OpenVPN Server ก็ OK ไปแม้เราจะไม่ได้ใช้ Raspberry Pi ก็ตาม

มันก็จะให้เลือก User ที่จะถือ configurations

ซึ่งจะมีอยู่คนเดียว ก็เลือกไป

แล้วมันก็จะแจ้งเตือนถึงการให้ Upgrade อัตโนมัติ เผื่อเวลามี Patch ช่องโหว่มันจะได้อัพเดทเอง

ซึ่งเครื่องที่สร้างขึ้นนี้ก็มีแค่ Open VPN ดังนั้นก็ให้อัพเดทไปได้เลย

ต่อมาเลือก Protocal ที่จะใช้กับ OpenVPN ข้อนี้ให้เลือก UDP
(ยกเว้นแต่ว่า Network ที่ใช้ Block ก็ค่อยเลือก TCP แต่ถ้าเลือก TCP แล้วอย่าลืมไปแก้ Firewall ด้วย)

ต่อมาเป็นการตั้งค่า Port ก็เอาตามที่เซทไว้ใน Firewall เลย ก็คือ 1194

Confirm การตั้งค่า

ต่อมาเป็นการตั้งค่าระดับการเข้ารหัสโดยใช้ Diffie-Hellman Key Exchange
ซึ่งโดยปรกติแล้วจะแนะนำให้ใช้ 2048-bit แต่มันจะใช้เวลา Generate นานพอสมควร ถ้าอยากจะทำไวๆ ทดลองใช้ก่อนก็ 1024-bit ก่อน แล้วค่อยมาลบลงใหม่ทีหลังก็ได้ ส่วน Server ส่วนตัวของผมใช้ 4096-bit จัดสุด ไปเลย แต่มันจะ Generate นานมาก ผมทำบน Raspbery Pi ปล่อยมัน Generate ข้ามคืนเลย ซึ่งมันไม่เหมาะสม
ดังนั้นจึงไม่แนะนำถ้ายังไม่มั่นใจ แนะนำให้เลือก 1024-bit ไปก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยมาลงอีกรอบดีกว่า จะได้ไม่เสียเวลามากเกินไป

จากนั้นมันจะบอกว่า กำลังจะ Generate Key แล้วนะ ให้เตรียมทำใจ เพราะมันจะใช้เวลานานหลายนาที (ถ้าเลือก key ยาว จากขั้นตอนข้างบน)

อันนี้บอกว่า จะรอง Elliptic Curves ด้วยหรือไม่ ก็รองรับไป อันนี้จะใช้ได้เฉพาะกับ Client เวอร์ชั่นใหม่ๆ

เสร็จแล้วก็จะให้เลือกการติดต่อมาหา Server ระหว่าง Public IP หรือ Domain name ซึ่งในเมื่อเรามี Static Public IP แล้ว ก็สามารถเลือกใช้ Public IP ได้เลย

ต่อมาเป็นการเลือก DNS Service ที่จะใช้ เลือก Google ไปเป็น Default

เสร็จเรียบร้อย หน้านี้วิธีการสร้าง User ใหม่ โดยให้เป็น pivpn add ลงไปใน terminal เพื่อสร้าง user ใหม่

จากนั้นมันก็จะแนะนำให้ Reboot เครื่อง ก็ Reboot ไปได้เลย จากนั้นเปิด Terminal ไป

การสร้าง User OVPN ใหม่

เปิด Web Terminal เข้ามาทางเดิม
จากนั้นพิมพ์คำสั่ง
มันก็จะให้กรอกชื่อ User รวมถึง password สำหรับใช้ไฟล์ ก็กรอกไป
จากนั้นก็จะได้ไฟล์ configuration ของ OpenVPN ออกมา

ไฟล์ Configuration ที่สร้างขึ้นมาจะอยู่ที่ ~/ovpns/*.ovpn
แต่เดี๋ยวจะได้ใช้ Absolute path ให้ไปที่ ~/ovpns/ จากนั้นพิมพ์ pwd
ต่อมาให้ ls ดูชื่อไฟล์ config แล้วเอาไปต่อกับ path ข้างต้น
อย่างในภาพ เราจะได้ Path คือ /home/spicydog/ovpns/gcppivpn.ovpn

ต่อมาเราจะทำการโหลด configuration file ลงมาในเครื่อง ซึ่งถ้าปรกติก็จะต้องใช้ SCP โหลดลงมา แต่ GCP Web Terminal สามารถกดที่เฟืองด้านมุมขวา แล้วกด Download file ได้เลย

หลังจากกด Download ก็จะมี Popup ให้ใส่ Path ไฟล์ที่ต้องการ ก็ใส่ลงไป แล้วกด Download

รอแปบเดียวก็จะได้ไฟล์ที่ต้องการโหลดลงมาที่เครื่อง (ชอบฟีเจอร์นี้มากๆ)

ทดลองใช้งานกับ Tunnelblick

เนื่องจากผมใช้ MacOS ตัว Client ที่ใช้ยมใช้กันชื่อ Tunnelblick หน้าตาจะห่วยๆ หน่อยแต่ใช้งานได้ ส่วนคนใช้ Android ผมแนะนำให้ใช้ OpenVPN for Android สำหรับ Platform อื่นๆ ให้ไปดูที่ Official Website ครับ
สำหรับส่วนนี้ผมจะแสดงวิธีการใช้งานกับ Tunnelblick ให้ดู

ถ้ามี Tunnelblick ในเครื่องแล้ว พอโหลด Configuration file ลงมา ก็จะเห็นมันเป็น icon ประมาณในภาพ จากนั้นเปิดไฟล์ได้เลย

มันก็จะถามว่า จะให้ลงใช้เฉพาะตัวเองหรือกับทุก Users เลือกผมเลือกใช้เฉพาะตัวเอง (คอมมีใช้อยู่คนเดียวอยู่แล้ว) มันจะให้ใส่รหัสผ่านของ Account อะไรก็ใส่ไป

จากนั้นก็ทางด้านซ้ายก็จะได้ configuration อันใหม่ขึ้นมา โดยจะตรงกับชื่อไฟล์ที่เปิด สามารถเปลี่ยนชื่อได้ตามต้องการ

พอพร้อมใช้งานก็กดเชื่อมต่อได้เลย จากนั้นมันก็จะถามรหัสผ่านที่เราเซทเอาไว้ตอนสร้าง configuration file ใส่ลงไป ถ้าจะใช้บ่อยก็กดเซฟใน Keychain เลย จะได้ไม่ต้องมากรอกทุกรอบ

เชื่อมต่อสำเร็จแล้ว

ทดลองประสิทธิภาพกับเว็บ speedtest.net ก็วิ่งได้เต็มอินเทอร์เน็ตที่มี แต่สังเกตว่า ping ค่อนข้างสูง เพราะว่า Server ตั้งอยู่ใน US อันนี้จึงไม่เหมาะกับการเล่นเกม
อ่อ สังเกตดูที่ซ้ายล่างจะเป็นว่าเป็น Google Cloud Platform นี่หมายความว่าเราต่อผ่าน VPN ถูกต้องแน่นอน

สรุป

ก็จบไปกันแล้วสำหรับการติดตั้งและใช้งาน OpenVPN แบบฟรีๆ บน GCP แต่ก่อนจะจากกันอยากให้พึงระวังกันเรื่องการโหลดสิ่งผิดกฎหมาย เนื่องจากเน็ตที่ใช้เป็นเน็ต US และ Account ที่เชื่อมต่อนั้นก็ลิงค์หาชื่อเราอย่างชัดเจน ที่ US จะมีการตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นถ้าไม่อยากโดนแบน อย่าโหลดอะไรผิดกฎหมายข้างบนนี้ (นอกจากมั่นใจว่าเจ๋งจริงหลบได้) และระวังค่า Traffic ได้ ถึงแม้เครื่องและมี Network ให้ใช้ฟรี 1GB แต่สุดท้ายถ้าใช้เกินก็จะมีค่า Traffic ในการส่งข้อมูลถ้าใช้เกินกำหนดนะครับ ถ้าใช้เปิดเว็บทั่วไปน่าจะสบายๆ ครับ แต่ก็ต้องเตือนเอาไว้ก่อนว่ามีโอกาสโดนค่าใช้จ่ายตรงนี้ ลองไปเช็คดูจากเว็บไซต์ GCP Pricing ครับ มันจะตกอยู่ประมาณ GB ละ 3 บาท อะไรแถวๆ นี้
Happy Web Surfing

ขอบคุณที่มา: https://www.spicydog.org/blog/open-vpn-server-on-google-cloud-platform-always-free/

VPS คืออะไร? VPS ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

หลายคนที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงไอที ต้องเคยได้ยินเกี่ยวกับ VPS (ย่อมาจาก virtual private server) มาบ้างไม่มากก็น้อย แต่สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไป อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนว่า VPS คืออะไร หรืออาจเคยได้ยินมาบ้าง แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจนักว่าจริงๆ แล้ว VPS คืออะไรกันแน่ ประโยชน์จากการใช้งาน VPS คืออะไรบ้าง วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กับบทความนี้ครับ

VPS คืออะไร?

VPS ย่อมาจาก Virtual Private Server สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ VPS ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเช่าเซิร์ฟเวอร์ สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าทำไมการมีเว็บไซต์ต้องเช่าเซิร์ฟเวอร์ และสองอย่างนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร ผมขอเปรียบเทียบแบบง่ายๆ ให้เห็นภาพว่า คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีฮาร์ดดิสก์ไว้เก็บข้อมูลต่างๆ เจ้า ‘เซิร์ฟเวอร์’ ก็เปรียบเหมือนฮาร์ดดิสก์ของเว็บไซต์ ที่ทำให้พวกเราสามารถเก็บไฟล์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ หรือวิดีโอ หรือข้อมูลอื่นๆ จากเว็บไซต์
ในยุคแรกที่เราเพิ่งมีอินเทอร์เน็ต การจะมีเว็บไซต์ได้ ทุกคนก็จะต้องเช่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ตามบริษัทโฮสติ้งต่างๆ เหมือนกับการเช่าซื้อเครื่องฮาร์ดดิสก์ไว้เก็บข้อมูลของเว็บไซต์ โดยมีบริษัทโฮสติ้งก็เป็นคนดูแลตัวเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้ ซึ่งลักษณะเช่นนี้มีข้อเสียอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น มีความเสี่ยงสูงที่เซิร์ฟเวอร์ที่ล่มทั้งระบบ เก็บกู้ข้อมูลกลับมาไม่ได้ การเข้าถึงข้อมูลอาจล่าช้ากว่าตามความใกล้ไกลจากต้นทาง เป็นต้น
ต่อมาจึงได้เกิดการพัฒนาแนวคิดแบบ cloud computing ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทำให้การจัดเก็บ ประมวลผล และเรียกใช้ข้อมูลมีความยืนหยุ่น เสถียร และรวดเร็วมากขึ้น คือสามารถทำที่ไหน เมื่อไหร่ และเท่าไหร่ก็ได้ ตามแต่ว่าสถานะของเว็บไซต์ในขณะนั้นมีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์เท่าไหร่ เมื่อ VPS Hosting รับเอาแนวคิดนี้มาใช้จึงทำให้การเก็บข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์เสมือนอย่าง VPS มีความสะดวกง่ายดาย มีการใช้งานที่คุ้มค่าอย่างสูงสุด และมีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งยังเป็นมิตรกับผู้ใช้งานที่อาจไม่ได้มีความรู้เชิงเทคนิคมากนักให้สามารถสร้างและดูแลเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเองอย่างไร้กังวลเรื่องปัญหาขัดข้องของเซิร์ฟเวอร์
ต่อไป เรามาดูกันว่าการใช้งาน VPS เซิร์ฟเวอร์นั้น นอกจากจะเป็นโฮสติ้งเพื่อเก็บข้อมูลเว็บไซต์แล้ว เรายังสามารถใช้งานอะไรจาก VPS ได้อีก

VPS ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

โดยส่วนใหญ่เราจะใช้ VPS ในการทำหน้าที่เป็นโฮสต์สำหรับเก็บข้อมูลให้กับเว็บไซต์ แต่ที่จริงแล้วยังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์จาก VPS ได้อีก ตัวอย่างเช่น

1. ใช้เปิดบริการให้เช่าพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเอง:

ถ้าหากว่าคุณมีความรู้ในการจัดการเซิร์ฟเวอร์ คุณก็สามารถเปลี่ยนจากผู้ใช้บริการมาเป็นผู้ให้บริการแทนได้ด้วยการลงทุนกับตัวเซิร์ฟเวอร์แล้วปล่อยให้เช่า หรือถ้าคุณเป็นคอเกม คุณอาจต้องการที่จะเป็นโฮสต์ให้กับเซิร์ฟเวอร์เกมของคุณเอง เพื่อให้คุณและเพื่อนๆ สามารถเล่นเกมอย่าง Minecraft ด้วยกันได้อย่างไร้กังวล

2. ใช้เป็นตัวทดสอบซอร์ฟแวร์หรือแอพลิเคชัน:

สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่อยู่ในแวดวงไอทีหรือเป็นนักพัฒนาโปรแกรม แอพลิเคชัน หรือระบบปฏิบัติการต่างๆ VPS เป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยม ที่สามารถใช้ในการทดสอบระบบ หรือซอฟต์แวร์ใหม่ ก่อนที่จะนำซอร์ฟแวร์นั้นๆ ไปให้บริการลูกค้า หรือไปใช้งานจริง

3. ใช้ในการดาวน์โหลด Torrents:

ใครที่เคยอัพโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ผ่านทาง torrent จะรู้การดาวน์โหลดข้อมูลด้วยวิธีนี้เป็นภาระให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดไหน การนำเซิร์ฟเวอร์มาแบ่งพื้นที่เพื่อใช้ในการดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ด้วยความเร็วสูง สามารถช่วยลดภาระหนักให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณได้

4. ใช้เป็นพื้นที่สำรองข้อมูล (เวอร์ชันราคาถูก):

เมื่อเป็นเจ้าของพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ คุณสามารถใช้พื้นที่ว่างที่เหลือใน VPS ในการสำรองไฟล์ต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่จะใช้พื้นที่ที่ได้มาอย่างคุ้มค่าสูงสุด และเป็นวิธีที่ง่ายในการสำรองไฟล์สำคัญต่างๆ

5. ใช้สร้างพื้นที่ส่วนตัวในการซิงค์และเก็บไฟล์:

เชื่อว่าหลายคนมีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคต่างๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำไม่ต่ำกว่า 2-3 เครื่อง ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อป สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรืออาจจะทั้งหมดที่กล่าวมา ในการซิงค์ข้อมูลและไฟล์ต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงและเรียกดูไฟล์ที่ต้องการได้ ไม่ว่าในขณะนั้นจะใช้เครื่องไหนอยู่ก็ตามนั้น หลายคนจะใช้บริการพื้นที่ออนไลน์ต่างๆ เช่น Dropbox, Live Mesh, SpiderOak และ SugarSync เป็นต้น การเป็นเจ้าของ VPS เซิร์ฟเวอร์ จะทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างพื้นที่ส่วนตัวในลักษณะเดียวกับ Dropbox เพื่อใช้ประโยชน์ด้านนี้โดยเฉพาะ ทั้งยังสามารถสร้างพื้นที่จัดเก็บที่มีความปลอดภัยแน่นหนาเท่าที่ต้องการ

6. ใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับการรับส่งอีเมลหรือเซิร์ฟเวอร์ VOIP:

VOIP หรือ Voice over IP คือการส่งข้อมูลภาพและเสียงแบบมัลติมีเดียผ่านเซิร์ฟเวอร์ด้วยความเร็วสูง เมื่อใช้ VPS ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบริการอื่นในการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการจัดการรับส่งอีเมล์อีกต่อไป การติดต่อสื่อสารในเชิงธุรกิจในปัจจุบันหันมาพึ่งพาการติดต่อผ่านอินเทอร์เน็ตกันมากกว่าในอดีต เพราะคุณภาพและความรวดเร็วที่เหนือชั้นกว่ามาก ทำให้ VPS เซิร์ฟเวอร์สามารถตอบโจทย์ในด้านนี้ให้กับองค์กรและกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ได้

สรุป


ทำไมต้องใช้ VPS hosting? ในท้ายสุดนี้ ผมอยากจะฝากว่า ทั้งหมดทั้งมวลแล้วสิ่งสำคัญอยู่ที่การยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะเห็นว่า VPS เซิร์ฟเวอร์สามารถตอบโจทย์ในส่วนนั้นได้ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เหมาะกับธุรกิจหลายประเภท อีกทั้งตามทฤษฎีแล้วสามารถตั้งค่าการรักษาความปลอดภัยได้ดีกว่าการใช้บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต แต่สิ่งที่สำคัญคือผู้ใช้ต้องมีเป้าหมายในการใช้งานที่ชัดเจน เพื่อที่ได้ตั้งค่าการใช้งานให้เหมาะสมกับผู้ใช้มากที่สุด และมีทรัพยากรบุคคลที่จะมาช่วยดูแลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเกิดความคุ้มค่าในด้าน cost ในระยะยาว
นอกเหนือจากนี้ เรายังได้รวบรวมข้อมูลและทำ infographic สรุปแบบคร่าวๆ ให้ดูกันว่า VPS คืออะไร รวมถึงวิธีการใช้งาน VPS เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ:

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...