วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

Laravel

 

Laravel Framework

คือ PHP Framework ตัวหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นต่างๆ
ในรูปแบบ MVC (Model Views Controller) ซึ่งมีการแบ่งโค้ดของระบบออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ Model, View และ Controller ตามชื่อที่เรียกเลย ซึ่งแต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป


Model คือ โค้ดส่วนที่ใช้สำหรับติดต่อกับฐานข้อมูล จัดการนำข้อมูลเข้าหรือออกจากฐานข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผล
View คือ โค้ดส่วนที่ใช้แสดงผลออกทางหน้าจอ เพื่อติดต่อรับคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้งาน
Controller คือ โค้ดส่วนที่ใช้ประมวลผลการทำงานตามที่ได้รับคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้งาน เป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของระบบ

มีจุดเด่นและข้อดีคือ ทำให้การเขียนโค้ดของเรานั้น ดูสะอาดสามารถอ่านและแก้ไขได้ง่าย แถมยังสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี ๆ โดยผู้พัฒนาคือ นาย Taylor Otwell ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ MIT และ Source Code ได้ถูกเก็บไว้บน Host ของ Github ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายทำให้สามารถหาข้อมูลหรือตัวอย่างเกี่ยวกับตัว Laravel Framework ได้อย่างง่ายดาย หมดห่วงเมื่อติดปัญหาที่คิดไม่ตกหรือแก้ไม่ได้เพราะสามารถหาข้อมูลดูได้ทางอินเทอร์เน็ต อีกทั้งตัว Laravel นั้นยังมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลาทำให้เรามั่นใจได้ว่า Framework นี้จะยังคงมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ นั้นเอง

โครงสร้างของ Laravel Framwork

หน้าที่ของโฟลเดอร์และไฟล์ที่มือใหม่ควรรู้

app เป็นโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บไฟล์เช่น Model หรือ Controller ที่ใช้ในการประมวลผลและเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล
database เป็นโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บไฟล์เกี่ยวกับ Migrations และ Seeding เพื่อใช้ในการสร้าง Table หรือใส่ข้อมูลในฐานข้อมูลผ่านคำสั่ง “artisan”
public ใช้เก็บพวก Javascript, CSS รวมไปถึง File index และ .htaccess โดยเป็นตัวจัดการไฟล์ที่สามารถเข้าถึงได้
resources ใช้เก็บโฟลเดอร์ที่ใช้ในส่วนของการแสดงผลต่าง ๆ (Views และส่วนที่เกี่ยวข้อง ฯ)
routes เป็นส่วนที่ใช้เก็บไฟล์ในการกำหนด Url ของ web (File routes)
storage เป็นส่วนของคลังพื้นที่จัดเก็บข้อมูลตระกูล Session, caches หรือไฟล์ที่ถูกทาง blade engine ทำการ compiled มาแล้ว
tests เป็นส่วนที่ใช้จัดการพวก automated tests เช่น unit test
.env เป็นไฟล์ที่ใช้ config laravel กับ ฐานข้อมูล

จุดเด่นของ Laravel Framework

* การเรียกใช้งานคลาสต่าง ๆ ที่ง่ายขึ้นเพราะ Laravel เรียกใช้งานคลาสโดย Name Space โดยคำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย
* ส่วนขยายของ Laravel ที่ชื่อว่า Bundle ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาในการเขียน Code ลงเป็นอย่างมากโดยใช้คำสั่งผ่าน Command Line ในการติดตั้งผ่านคำสั่ง “php artisan” แทน

Eloquent ORM ชุดคำสั่งหรือเครื่องมือในการแสดงผลและคำนวนข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูลสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Eloquent
Unit testing สามารถสร้าง Unit test ขึ้นมาเพื่อทดสอบงานของตัวเองได้ โดยสร้างผ่านชุดคำสั่ง สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก artisan
View Composer ส่วนของ Code HTML ที่นำมาเรียงติดต่อกัน และจะทำงาน หลังจากประกอบกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่นเราแบ่งส่วน header, container, footer และนำมาเรียกใช้ต่อกันภายหลังเป็นต้น
Routing สามารถกำหนดชื่อของ Url เพื่อชี้ไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น View หรือ Controller ตามที่ต้องการได้คำสั่งอ่านและเข้าใจง่ายมากสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Routing
Restful Controller สามารถกรองชนิดการส่งคำร้องขอจากฟอร์มทั้งแบบ Post, Get, Put/Patch, Delete

สรุป

Laravel เป็นโครงสร้างเว็บแอปพลิเคชันที่ใช้ภาษา PHP ในการจัดวางได้ดี และกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักพัฒนาต่างๆ หรือ เหมาะสำหรับนักพัฒนากลุ่มใหญ่ อีกทั้งยังง่ายต่อการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันอีกด้วย เพราะมีการจัดวางโครงสร้างไว้ให้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันได้อย่างง่ายดาย สุดท้ายแล้ว Laravel Framework ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับมือใหม่ เพราะสามารถเขียนโครงสร้างได้ง่าย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละงานนั่นเอง หวังว่าทุกคนจะได้รับข้อมูลที่ดีและนำมาประกอบการตัดสินใจ ในการใช้งาน Laravel มากขึ้นนะครับ


ที่มา :https://dev.classmethod.jp/articles/lets_get_to_know_laravel/

Laravel

  Laravel Framework คือ PHP Framework ตัวหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นต่างๆ ในรูปแบบ MVC (Model Views Controller) ซึ่งมีการแ...