วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โปรโตคอล (Protocol)

  โปรโตคอล (Protocol)หมาย ถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลายชนิดคล้ายกับภาษามนุษย์ที่มีทั้ง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามือ เป็นต้น โดยมนุษย์จะสื่อสารกันให้เกิดความเช้าใจได้ จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน ในกรณีที่คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ต้องการสื่อสารกันแต่ใช้คนละภาษา จะต้องมีตัวกลางในการแปลงโปรโตคอล ที่เรียกว่า Gateway ถ้า เทียบกับภาษามนุษย์ก็คือ ล่าม ซึ่งอาจะเป็นเครื่องเซิฟเวอร์สำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หรืออาจะเป็นโปรแกรมเมอร์หรือไดร์ฟเวอร์สำหรับติดตั้งเพิ่มเติมในเครื่อง คอมพิวเตอร์

       โปรโตคอลของระบบเครือข่ายมีลักษณะคล้ายคลึงกับโปรโตคอลในการสื่อสารของมนุษย์ แต่อาจตั่งกันที่ลักษณะในการแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างกัน โดยการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต้องมีการนำโปรโตคอลมาใช้ในการควบคุม การส่งข้อมูลด้วย

       ตัวอย่างขั้นตอนการทำงาน เช่น เมื่อพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการ (เช่น www.google.com) ลงในเว็บบราวเซอร์แล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มส่งข้อความเพื่อร้องขอการเชื่อมต่อ (Connection Request) ไปยัง Web Server และรอการตอบกลับ (Connection Reply) ว่า Server พร้อมให้บริการหรือไม่ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะส่งชื่อของเว็บเพจที่ต้องการไปยัง Web Server ด้วยข้อความ “Get Message” และขั้นตอนสุดท้าย Web Server จะส่งเนื้อหากลับมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้

ชนิดของโพรโทคอล

1. NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface)

     เป็นโปรโตคอลที่เหมาะสำหรับระบบ เครือข่ายขนาดเล็กเนื่องจากโปรโตคอลนี้ใช้วิธีกระจายสัญญาณไปทั่วทั้งเครือข่ายไม่สามารถหาเส้นทาง (route) ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูลได้ ข้อดีของโปรโตคอลนี้คือการติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน

2. IPX/SPX (Internet Packet Exchange)

     เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปใช้กับระบบเครือข่ายของ Netware โปรโตคอลนี้มีความสามารถในการหาเส้นทางได้ แต่ก็ไม่ดีเท่ากับ TCP/IP ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กถึงระดับกลางเท่านั้น ปัจจุบัน Netware ได้พัฒนาความสามารถจนสามารถรองรับเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีโปรโตคอลให้เลือกใช้หลากหลายขึ้น


3. TCP/IP (Transfer Control Protocol/ Internet Protocol)

     เป็นโปรโตคอลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเครือข่ายขนาดใหญ่และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมีความสามารถในการค้นหาเส้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอข้อมูล จึงถูกใช้เป็นโปรโตคอลหลักในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตข้อเสียของโพรโตคอลนี้  คือ ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP การกำหนด IP Addressอีกทั้งจะต้องมีการปรับแต่งค่าต่าง ๆ หลังจากการติดตั้งซอฟต์แวร์เครือข่าย ในที่นี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดและคุณสมบัติของโปรโตคอลที่สำคัญบางโปรโตคอลเท่านั้น คือ

        3.1  FTP (File Transfer Protocol) ใช้ในการรับ-ส่ง แฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายและเครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะต้องมีโปรแกรมให้บริการ FTP (FTP Server) ติดตั้งและทำงานอยู่ เพื่อให้เครื่องลูกข่ายที่รันโปรแกรม FTP Client สามารถเข้ามาขอใช้บริการได้ นอกจากรับส่งแฟ้มข้อมูลแล้ว FTP ยังมีคำสั่งที่ใช้ในการแสดงชื่อแฟ้มข้อมูลบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เปลี่ยนชื่อแฟ้มหรือลบแฟ้มข้อมูล

         3.2 TELNET เป็นบริการที่ให้เครื่องลูกข่ายสามารถเข้าไปใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยการจำลองตัวเองให้ทำงานเป็นเทอร์มินัล ผู้ใช้งานจะต้องใส่รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อแจ้งการเข้าใช้เครื่อง เมื่อเข้าไปได้แล้วการทำงานต่างๆ จะเหมือนกับการเข้าไปทำงานที่หน้าจอของ เครื่องเซิร์ฟเวอร์

        3.3 SMTP เป็นการให้บริการเพื่อรับส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์ (E-Mail) โดยที่ SMTPจะมีตู้ไปรษณีย์เพื่อทำหน้าที่รับจดหมายจากผู้อื่นที่ต้องการส่งให้ และเก็บจดหมายของผู้ใช้ที่ต้องการส่งไปยังผู้ใช้อื่น เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ตั้งไว้โปรแกรมจะทำการส่งจดหมายออกและรับจดหมายเข้ามา ผู้ใช้ก็สามารถจะเปิดอ่านได้เมื่อต้องการส่วนการรับส่งจดหมายระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ SMTP Server ในลักษณะที่เป็น Client/Server จะใช้โปรโตคอลที่ชื่อว่า POP3 (Post Office Protocol)

          3.4 HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) ใช้ในการติดต่อรับส่งข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)ระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ WWW Server (World Wide Web) โดยที่เอกสารนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เขียนในภาษา HTML(Hyper Text Markup Language) เอกสารแต่ละชิ้นจะสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารชิ้นอื่นได้ ซึ่งเอกสารที่ถูกเชื่อมโยงนี้อาจจะอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน หรือต่างเครื่องกันก็ได้

            3.5 DNS ( Domain Name System) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP นั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องลูกข่ายทุกตัวจะต้องมีหมายเลขที่ใช้ในการ ระบุตัวเองคล้ายกับชื่อ-นามสกุลของคนเรา หมายเลขที่กล่าวมานี้เรียกว่า IP Address โดยเขียนในลักษณะนี้ 203.154.126.134 การจดจำ IP Address เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการจำชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงเกิดการสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่จะให้บริการการสอบถามชื่อเครื่องและ IP Address ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขึ้นมาซึ่งเรียกว่า Domain Name Services ในการใช้งานนั้นผู้ใช้เพียงแต่ระบุ IP Address ของเครื่องที่ให้บริการนี้แล้วเมื่อต้องการจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต DNS จะช่วยค้นหา IP Address ของเครื่องที่ต้องการให้เพื่อให้โปรแกรมสามารถใช้ IP Address ที่ได้ในการติดต่อ


4.  โพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษร

         เป็นแบบที่เก่าแก่ที่สุดที่มีใช้งานบนเครื่องเมนเฟรม ซึ่งกำหนดให้หนึ่งตัวอักษรประกอบด้วยข้อมูลขนาด 8 บิต แบบที่แพร่หลายที่สุดเรียกว่า แบบบีเอสซี (Binary Synchronous Communication; BSC or BISYNC) ข้อมูลจะถูกส่งออกไปเป็นกลุ่มของตัวอักษรแบบ Synchronous ในลักษณะกึ่งสองทิศทาง ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ในปี พ.ศ. 2510 และได้กลายเป็นมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมในยุดนั้น แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่มากในปัจจุบัน


5. โพรโทคอลจัดการแบบนับจำนวนไบต์ (Byte-Count-Oriented Protocols)

         ปรับปรุงประสิทธิภาพของโพรโทคอลจัดการระดับตัวอักษรที่ใช้ตัวอักษรพิเศษโดยการเพิ่มข้อมูล จำนวนไบต์ของข้อมูลในบล็อก หมายเลขที่อยู่บนเครือข่าย และตัวอักษรควบคุมบล็อกเข้าไปแทน


6. โพรโทคอลจัดการระดับบิต (Bit-Oriented Protocols)

         เป็นแนวทางการทำงานที่รวมข้อมูลจริงและข้อมูลควบคุมเข้าด้วยกันเป็นโครงสร้างเรียกว่าเฟรม (Frame) ซึ่งจะต้องกำหนดรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้สามารถดึงข้อมูลแต่ละส่วนออกไปใช้ได้อย่างถูกต้อง บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ได้กำหนดโพรโทคอลประเภทนี้ขึ้นมาใช้งานอย่างแพร่หลาย


7.  โพรโทคอลเอสเอ็นเอ (System Network Architecture; SNA)

         รูปแบบโครงสร้างแบบเอสเอ็นเอเป็นหนึ่งในรูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่ายวงกว้างสำหรับการสื่อสารระหว่างเครื่องเมนเฟรมกับเทอร์มินอลที่มีใช้งานมานานแล้ว บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบเอสเอ็นเอขึ้นมาใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. 2517โดยการกำหนดรายละเอียดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาในความแตกต่างของอุปกรณ์ในยุคนั้นเนื่องจากบริษัทไอบีเอ็มเป็นเจ้าของระบบเอสเอ็นเอ จึงเน้นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่ผลิตโดยบริษัทไอบีเอ็มเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามมีบริษัทอื่นอีกเป็นจำนวนมากที่ได้นำระบบเครือข่ายนี้ไปใช้อย่างแพร่หลายทำให้ระบบเครือข่ายเหล่านั้นสามารถติดต่อกับระบบเครือข่ายของไอบีเอ็มและของผู้อื่นได้ปัจจุบันระบบเอสเอ็นเอยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีระบบเครือข่ายอื่นที่ดีเกิดขึ้นมากมาย


8.  โพรโทคอล H.323

       การสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิท (Packet Switched Network) ใช้ โพรโทคอล H.323 สำหรับการส่งข้อมูลทุกชนิดแบบเรียลไทม์ (Real-Time) การสื่อสารแบบนี้จะส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่าแพ็กเกต เพื่อส่งไปยัง เป้าหมายตามสายสื่อสารที่เร็วที่สุดโพรโทคอลนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานโดย ITU เมื่อเดือนตุลาคมพ.ศ. 2539 ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเสียง ภาพ หรือนำมาใช้ในการประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ได้

9.  โพรโทคอล X.25

       คณะกรรมการ CCITT (Consultative Committee for International Telegraph and Telephone) ได้พัฒนาโพรโทคอลมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิทชิ่ง เรียกว่า โพรโทคอล X.25ระบบเครือข่ายที่ใช้แพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet-switching Network or Packet Distribution Network) จะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนเล็กๆ คือ แพ็กเกต เพื่อส่งออกทางสายสื่อสารความเร็วสูงไปยังผู้รับอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย

ที่มา:https://sites.google.com/site/jesadawin/chnid-khxng-pho-r-tho-khxl

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...