ภาษาสคริปต์และการพัฒนาซอฟต์แวร์
สำหรับคนพัฒนาซอฟต์แวร์เคยสงสัยไหมครับว่าบางงานใช้ภาษาสคริปต์เขียนง่ายกว่าแล้วทำไมยังเลือกใช้ภาษาที่ต้องคอมไพล์หรือต้องแปลงเป็น binary หรือแปลงเป็น byte code เพื่อรันบนแพล็ตฟอร์มบางแพล็ตฟอร์ม?
เหตุผลที่ผมพอคิดออกก็คือ
- เรื่องแรกคงเป็นเรื่องประสิทธิภาพเพราะปกติพวก native มักทำงานได้เร็วกว่า
- การซื้อขายซอฟต์แวร์ไม่ว่าจะราคาระดับหมื่นหรือหลายล้านซอร์สโค้ดสำคัญมากครับถ้าหลุดไปบริษัทอาจจะเจ๊งได้เลยเพราะเป็นความลับบริษัท การพัฒนาด้วยภาษาสคริปต์เลยไม่เหมาะ
- ข้อที่แล้วผมบอกว่ามันเป็นความลับใช่ไหมครับ อะไรที่เป็นความลับก็มักจะได้ราคาสูงเพราะมันคือ knowledge ที่สั่งสมมา ซอฟต์แวร์โดยปกติถ้าขายพร้อมซอร์สโค้ดราคาสูงมากครับ
- ภาษาสคริปต์แก้ เซฟ รันสะดวก ไม่ต้องการ environment ที่ยุ่งยากซึ่งเป็นข้อดีคือง่ายต่อการพัฒนาแต่ในข้อดีก็มีข้อเสียคือในเมื่อ environment มันไม่ตายตัวบางทีเอามา integrate ร่วมกันแล้วมักมีปัญหาเพราะต่างคนต่างทำภายใต้ environment ของตัวเอง
- เหตุผลสุดท้ายที่นึกออกคือด้านความปลอดภัย ภาษาสคริปต์เวลาเอาไปรันบนโปรดักชั่นเซิร์ฟเวอร์มันก็คือโค้ดที่เราสามารถเห็นได้นั่นแหละครับ ถ้าเกิดหลุดไปและเขียนไม่รัดกุมก็มีความเสี่ยงโดนแฮ็กสูง แต่เรื่องความปลอดภัยนี่จริงๆ ก็มีโอกาสโดนแฮ็กได้หมดครับถึงจะคอมไพล์เป็นไบนารีแล้วก็ตาม
- ภาษาที่ต้อง compile ก่อนมี compiler ช่วยตรวจสอบก่อนว่าโค้ดที่เราเรียนมันเกิด error หรือไม่ตอน compiling time ส่วนภาษา script กว่าจะรู้ว่า error หรือใช้ไม่ได้ก็ตอน run time ซึ่งเสี่ยงมากต่อการเกิดความผิดพลาดมากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น