ในบทนี้ คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับค่าคงที่ (constants) ในภาษา Java
ตั้งแต่วิธีการประกาศค่าคงที่ การใช้งาน และเรียนรู้เกี่ยวกับคำสั่ง
รูปแบบในการประกาศค่าคงที่นั้นคล้ายคลึงกับการประกาศตัวแปรทั่วไป แต่มันจะขึ้นต้นด้วยคำสั่ง
ในบทนี้ คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับค่าคงที่ การสร้างและประโยชน์ในการใช้ของมันในภาษา Java และรู้จักเกี่ยวกับการใช้คำสั่ง final
final
ที่เราจะได้ใช้บ่อยๆ ในบทเรียนนี้ภายหลัง ค่าคงที่ คืออะไร
ค่า คงที่ คือตัวแปรที่ใช้อ้างอิงข้อมูลของค่าๆ หนึ่งที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงมันได้ การใช้ค่าคงที่นั้นมีประโยชน์ในการเขียนโปรแกรม มันสามารถทำเข้าใจได้ว่าตัวแปรหรือค่านั้นหมายถึงอะไร ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราอยากจะบอกถึงแรงโน่มถวงของโลก เรามักจะพูดว่าค่า g (gravity) เรามักจะไม่พูดว่าค่า 9.8 ถึงแม้ว่ามันมีค่าเท่ากับ 9.8 ก็ตาม แนวคิดนี้ได้นำมาใช้สำหรับการสร้างค่าคงที่ในการเขียนโปรแกรมภาษา Java เช่นกันรูปแบบในการประกาศค่าคงที่นั้นคล้ายคลึงกับการประกาศตัวแปรทั่วไป แต่มันจะขึ้นต้นด้วยคำสั่ง
final
เพื่อบอกคอมไพเลอร์ว่ามันเป็นตัวแปรค่าคงที่final dataType constantName = value;ใน การประกาศค่าคงที่ คุณต้องกำหนดค่าให้กับมันในตอนแรกเสมอ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าของมันได้ภายหลัง ไม่เช่นนั้นการคอมไพล์โปรแกรมของคุณจะผิดพลาด
สร้างและใช้งานค่าคงที่ในภาษา Java
ต่อ ไปมาดูตัวอย่างการประกาศตัวแปรค่าคงที่ และการใช้งาน โดยโปรแกรมในตัวอย่างจะเป็นโปรแกรมในการหา พื้นที่ เส้นรอบวง ปริมาตร และพื้นที่ผิดในสามมิติ ของวงกลม โดยเราทราบรัศมีของมันpublic class Constant { public static void main (String[] args) { final float PI = 3.14f; int r = 8; System.out.println("Circle with radius: " + r ); System.out.println("Area = " + (PI * r * r )); System.out.println("Circumference = " + (2 * PI * r )); System.out.println("Volume = " + (4.0f / 3.0f * PI * r * r * r)); System.out.println("Surface Area = " + (4.0f * PI * r * r )); r = 10; System.out.println("\nCircle with radius: " + r ); System.out.println("Area = " + (PI * r * r )); System.out.println("Circumference = " + (2 * PI * r )); System.out.println("Volume = " + (4.0f / 3.0f * PI * r * r * r)); System.out.println("Surface Area = " + (4.0f * PI * r * r )); } }ในตัวอย่างด้านบน เราได้ประกาศตัวแปรค่าคงที่ในคำสั่ง
final float PI = 3.14f;
โดยตัวแปรนี้เก็บค่า floating-point ของค่า PI เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณหารายละเอียดของวงกลม เราสามารถใช้ identifier PI
แทนค่า 3.14 ได้ทั้งหมด และผลลัพธ์ของโปรแกรมด้านล่างCircle with radius: 8 Area = 200.96 Circumference = 50.24 Volume = 2143.5735 Surface Area = 803.84 Circle with radius: 10 Area = 314.0 Circumference = 62.800003 Volume = 4186.667 Surface Area = 1256.0ครั้งต่อไปคุณคิดว่ามันไม่ละเอียดเพียงพอ คุณสามารถเปลี่ยนค่าของ PI ได้ที่เดียว โดยเปลี่ยนแค่เป็น
final float PI = 3.14159f;
ค่า PI และค่าของ PI ทั้งหมดจะเปลี่ยนไป และจะได้ผลลัพธ์ดังนี้ ซึ่งขึ้นกับค่า PI ของคุณCircle with radius: 8 Area = 201.06177 Circumference = 50.26544 Volume = 2144.659 Surface Area = 804.2471 Circle with radius: 10 Area = 314.159 Circumference = 62.831802 Volume = 4188.787 Surface Area = 1256.636
คำสั่ง final
คำสั่ง final หรือ final modifier นั้น นอกจากจะใช้กับตัวแปรแล้ว ยังใช้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมแบบออบเจ็คด้วย โดยเมื่อใช้- final กับ method จะทำให้ method ไม่สามารถ override (การเขียนทับ) ได้โดย subclass
- final กับ class จะทำให้ class นั้นไม่สามารถสือบทอด inherit ได้
final class NoInherit { final void noOverride () { ... } }ข้าง บนเป็นตัวอย่างของคลาสและเมธอด ที่ใช้คำสั่ง final ในการสร้าง อย่างไรก็ตาม คุณจะเรียนเกี่ยวกับการโปรแกรมแบบออบเจ็คในภายหลังสำหรับบทเรียนนี้ มันเป็นพื้นฐานของภาษา Java และสำคัญที่คุณจะต้องรู้
ในบทนี้ คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับค่าคงที่ การสร้างและประโยชน์ในการใช้ของมันในภาษา Java และรู้จักเกี่ยวกับการใช้คำสั่ง final
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น