โปรแกรม Hello World ในภาษา C#
ในบทนี้ คุณจะได้เรียนโครงสร้างพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมภาษา C# เราจะสร้างโปรแกรมที่ชื่อว่า "Hello Word" ซึ่งจะแสดงคำว่า Hello World ออกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ// #C Hello Word program using System; namespace Hello { class Program { static void Main() { // print text to the screen Console.WriteLine("Hello World!"); // keep console windows open when finish Console.ReadKey(); } } }ต่อไปจะเป็นการอธิบายส่วนต่างๆ ที่สำคัญจากโปรแกรมด้านบน
คำสั่ง using
คำสั่ง using ถูกใช้เพื่อ include ไลบรารี่และฟังก์ชันในภาษา C# ทั้งฟังก์ชันมาตราฐานและฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง จากตัวอย่างโค้ดUsing System
หมายถึงเราได้ทำการ include คลาสและฟังก์ชันทั้งหมดภายใต้ System namespace เพื่อที่จะนำมาใช้ในโปรแกรมของเราฟังก์ชัน Main
ภาษา C# นั้นต้องการฟังก์ชันที่เรียกว่าMain()
เพื่อเริ่มต้นและสิ้นสุดโปรแกรม
คุณสามารถเขียนโค้ดโปรแกรมของคุณในฟังก์ชัน Main และใช้เรียกฟังก์ชันอื่นๆ
และฟังก์ชัน Main นั้นจะมีหลายแบบ ซึ่งคุณสามารถสร้างได้โดยใช้คำสั่ง void
, int
และอื่นๆ โดยที่คำสั่ง void
บ่งบอกว่าฟังก์ชันนี้ไม่ได้มีค่าส่งหลับ น่าไม่เช่นนั้น คุณต้องใช้คำสั่ง return
เพื่อส่งค่ากลับหลังจากจบฟังก์ชัน อย่างไรก็ตามคุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันในภาษา C# ภายหลังนี่เป็นตัวอย่างของฟังก์ชัน Main แบบอื่นๆ และแบบเป็นฟังก์ชัน Main ที่ใช้คำสั่ง
int
ในการสร้าง// method integer type using System; namespace Hello { class Program { static int Main() { Console.WriteLine("Hello World!"); return 0; } } }และนี่เป็นฟังก์ชัน main ในภาษา C# กับอากิวเมนต์
using System; namespace Hello { class Program { static void Main(string[] args) { Console.WriteLine("Hello World!"); } } }ภายในฟังก์ชัน Main คำสั่ง
Console.WriteLine("Hello World!")
นั้นถูกใช้เพื่อแสดงผลข้อความ "Hello Word!" ออกทางหน้าจอโดยการใช้ฟังก์ชัน WriteLine
จากคลาส Console
ซึ่งอยู่ภายใต้ System namespaceคำสั่ง
Console.ReadKey()
ป้องกัน console หายไปในทันทีหลังจากที่โปรแกรมทำงานเสร็จ
สำหรับในบทเรียนนี้ เราจะใช้คำสั่งนี้ในตอนท้ายของโปรแกรม
เพราะว่าเราจะเขียนโปรแกรมกับ console เท่านั้นเพื่อให้เข้าใจพื้นฐานภาษา
C# ได้เร็วขึ้นคำสั่ง namespace
คำสั่งnamespace
นั้นถูกใช้สำหรับการประกาส namespace สำหรับคลาส ในภาษา C# namespace
สามารถประกอบไปด้วยคลาสเดียวหรือหลายคลาสก็ได้ ในตัวอย่างเราได้สร้าง
namespace Hello
สำหรับโปรแกรมของเราการสร้างคลาส
คลา สเป็นเหมือนโค้ดที่สามารถยืดขยายหรือปรับแต่งได้ คลาสเป็นเหมือนโค้ดที่สามารถยืดขยายหรือปรับแต่งได้ มันเป็นเท็มเพสสำหรับเอาไว้สร้างออบเจ็ค หรือกำหนดค่าเริ่มต้น ซึ่งมันจะมีแอทริบิวส์และเมทธอดที่เป็นสมาชิกของคลาส ยกตัวอย่างเช่นคำสั่งclass Program
ให้เพื่อสร้างคลาสที่มีชื่อว่า ProgramComment
ในภาษา C# คุณสามารถคอมเม้นต์โดยการใช้เครื่องหมาย//
ก่อนหน้าบรรทัดของตัวอักษรที่ต้องการคอมเม้นต์ ผลลัพธ์ของการคอมเมนต์ก็คือโค้ดนั้นจะไม่มีผลกับโปรแกรม //
และจะถูกเพิกเฉยจากคอมไพเลอร์ และการคอมเม้นต์แบบนี้เรียกว่าการคอมเม้นต์แบบ 1 บรรทัด มาดูตัวอย่าง// This is my first commentมี คอมเม้นต์อีกแบบหนึ่งที่คือ การคอมเม้นต์แบบบล็อคหรือหลายบรรทัด ซึ่งจะทำให้คุณสามารถคอมเม้นต์โค้ดได้มากกว่า 1 บรรทัดหรือค้อมเม้นต์ในส่วนที่ซับซ้อนขึ้น โดยสิ่งที่คุณคอมเม้นต์จะอยู่ในเครื่องหมาย
/*
และ */
และนี่เป็นตัวอย่างการคอมเม้นต์แบบหลายบรรทัด/* The first line of comment The second line of comment */
Keywords
keyword เป็นคำสงวนที่คุณไม่สามารถใช้ได้ในส่วนของโปรแกรมสำหรับการกระทำบางอย่าง เช่น การใช้ในการประกาศชื่อตัวแปรและเมทธอด ในภาษา C# มีคำสงวนมากมายซึ่งแสดงในรายการข้างล่างนี้รายการของ keyword ในภาษา C#
abstract | as | base | bool |
break | byte | case | catch |
char | checked | class | const |
continue | decimal | default | delegate |
do | double | else | enum |
event | explicit | extern | false |
finally | fixed | float | for |
foreach | goto | if | implicit |
in | in (generic modifier) | int | interface |
internal | is | lock | long |
namespace | new | null | object |
operator | out | out (generic modifier) | override |
params | private | protected | public |
readonly | ref | return | sbyte |
sealed | short | sizeof | stackalloc |
static | string | struct | switch |
this | throw | true | try |
typeof | uint | ulong | unchecked |
unsafe | ushort | using | virtual |
void | volatile | while |
ในบทนี้ คุณได้เรียนรู้พื้นฐานโครงสร้างของการเขียนโปรแกรมในภาษา C#
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น