- ข้อมูลชนิดซิมเปิล (simple type)
- ข้อมูลประเภทสตริง (string type)
- ข้อมูลประเภทโครงสร้าง (structure type)
- ข้อมูลประเภทพอยต์เตอร์ (pointer type)
ข้อมูลชนิดซิมเปิล
แบ่งได้เป็นข้อมูลประเภทลำดับ (Ordinal Type) และข้อมูลประเภทจำนวนจริง
(Real Data Type)
ข้อมูลประเภทลำดับ (Ordinal Type)
ข้อมูลแบบลำดับเป็นข้อมูลที่มีค่าเป็นลำดับแน่นอน เช่น ตัวเลขที่ใช้ในการนับ ลำดับตัวอักษร เป็นต้น ในภาษาซียังแบ่งข้อมูลชนิดลำดับได้หลายประเภท เช่น
-
ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม (Integer
Data Type) ข้อมูลประเภทนี้จะใช้กับตัวเลขที่เป็นจำนวนเต็ม
ในคอมพิวเตอร์จะใช้หน่วยความจำในการเก็บข้อมูล ถ้าหากคอมพิวเตอร์ใช้หน่วยความจำ 8
บิตหรือ 1 ไบต์ในการเก็บข้อมูล จะทำให้เก็บข้อมูลที่เป็นเลขฐานสิบได้ในช่วง 0 ถึง
255 แต่ถ้าใช้หน่วยความจำมากกว่านั้นในการเก็บข้อมูล
ก็จะสามารถเก็บตัวเลขช่วงที่กว้างขึ้นได้
-
ข้อมูลประเภทตัวอักขระ (Character
Data Type) ข้อมูลประเภทนี้จะเป็นตัวอักขระหนึ่งตัว
ซึ่งเป็นไปตามตารางรหัส ASCll ประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นตัวอักษร
ตัวเลข และอักขระพิเศษ เช่น
’A’ , ’B’ , ’C’
’\n’ รหัสขึ้นบรรทัดใหม่
’\t’ รหัสเว้นวรรค 1 tab
’\a’ เสียง Beep
’A’ , ’B’ , ’C’
’\n’ รหัสขึ้นบรรทัดใหม่
’\t’ รหัสเว้นวรรค 1 tab
’\a’ เสียง Beep
-
ข้อมูลประเภทตรรก (Boolean
Data Type) จะเป็นค่าทางลอจิก ได้แก่ จริง(True) กับ เท็จ(False)
จะใช้ในคำสั่งควบคุมการตัดสินใจการทำงาน
ในการเรียงลำดับจะให้ค่าที่เป็นเท็จมีลำดับก่อนค่าที่เป็นจริง บางครั้งจะแทนค่าจริงด้วยเลขจำนวนเต็ม
1 หรือค่าที่มากกว่า 1 และแทนค่าเท็จด้วยเลข 0
ข้อมูลประเภทจำนวนจริง (Real Data
Type) ข้อมูลประเภทนี้จะเป็นจำนวนจริงหรือเลขทศนิยม
ข้อมูลประเภทนี้จะจัดลำดับก่อนหลังได้ยากจึงไม่เป็นข้อมูลลำดับเนื่องจากทศนิยมมีหลายตำแหน่งข้อมูลประเภทสตริง
เป็นการนำตัวอักขระมาต่อเรียงกันเป็นข้อความตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยสามารถเก็บตัวอักขระได้ 255 ตัวโดยตัวอักขระจะต้องอยู่ในเครื่องหมาย “ ” ในการเขียนโปรแกรมภาษาซีจะมีการเติมตัวอักษรว่าง NULL (\o) เป็นตัวสุดท้าย
การประกาศตัวแปรและค่าคงที่
ในการเขียนโปรแกรมถ้าหากต้องการรับข้อมูลจากภายนอกมาเก็บไว้ หรือต้องการเก็บผลลัพธ์ระหว่างการประมวลผลจะต้องมีตัวแปรสำหรับเก็บ โปรแกรมจะมีส่วนประกาศ ซึ่งอยู่ต่อจากส่วนชื่อโปรแกรม แต่ถ้าหากโปรแกรมต้องการใช้ค่าคงที่ หรือใช้ค่าตัวแปรต่างๆผู้เขียนโปรแกรมจะต้องมีส่วนนี้สำหรับประกาศ
การประกาศค่าคงที่
ค่าคงที่ (Constant) เป็นค่าในหน่วยความจำที่มีค่าคงที่ตลอดโปรแกรม ถ้าในโปรแกรมส่วนใดเรียกชื่อที่ประกาศไว้ก็จะได้ข้อมูลตามที่กำหนด การประกาศค่าคงที่จะใช้คำว่า const นำหน้า
วิธีที่1 const แบบข้อมูล ชื่อค่าคงที่;
วิธีที่2 const แบบข้อมูงล ชื่อค่าคงที่ = ค่าข้อมูล
การประกาศค่าคงที่ด้วย #define
#define เป็นคำสั่งสำหรับนิยามค่ามาประกาศค่าคงที่ได้ วิธีนี้จะไม่ต้องระบุประเภทของข้อมูล และไม่ต้องมีเครื่องหมาย ; ต่อท้าย
การประกาศตัวแปร
การสร้างตัวแปรขึ้นมาใช้งานเรียกว่าการประกาศตัวแปร ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะต้องมีการประกาศตัวแปรเสมอ ข้อมูลที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บในตัวแปรที่ประกาศเอาไว้
รูปแบบ type variable_list หรือ ประเภทของข้อมูล <ชื่อตัวแปร...>
โดย type หมายถึง ชนิดข้อมูลของตัวแปร variable หมายถึง ชื่อของตัวแปร
สามารถประกาศครั้งละหลายตัวได้ ถ้าหากเป็นตัวแปรประเภทเดียวกันจะใช้เครื่องหมาย , คั่น
การตั้งชื่อ
การประกาศตัวแปรจะต้องมีการกำหนดชื่อให้ตัวแปร เพื่อให้โปรแกรมทำงาน กฎการตั้งชื่อในภาษาซียังใช้กับชื่อต่างๆในโปรแกรมได้อีกด้วย การตั้งชื่อมีรูปแบบดังนี้
1. ชื่อจะต้องไม่ซ้ำกับคำสงวนและคำมาตรฐานที่คอมไพล์เลอร์รู้จัก
2. จะต้องขึ้นต้นด้วยอักษร(A-Z,a-z) หรือเครื่องหมาย _ เท่านั้น
3. ตัวต่อไปต้องเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขหรือเครื่องหมาย _
4. การตั้งชื่อจะต้องไม่มีช่องว่าง
5. ตัวอักษรตัวเล็กและตัวอักษรใหญ่จะมีความหมายแตกต่างกัน
คำสงวน เป็นคำที่มีความหมายที่โปรแกรมรู้จัก โดยมีรูปแบบการใช้งานที่แน่นอน ส่วนคำมาตรฐานเป็นคำที่มีความหมายอยู่แล้ว โปรแกรมสามารถเรียกใช้งานได้เลย
ตัวดำเนินการ (Operator)
จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่รวมค่าต่างๆและกระทำกับค่าต่างๆให้เป็นค่าเดียวกัน
ตัวดำเนินการเลขคณิต
ใช้สำหรับกระทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร โดยจะนำข้อมูลตัวหนึ่งไปกระทำกับอีกตัวหนึ่ง โดยให้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ ในนิพจน์การคำนวณหนึ่งๆอาจมีตัวดำเนินการหลายตัวได้ โดยผลลัพธ์ที่ได้จะเกิดจากการกระทำของตัวดำเนินการแต่ละตัว ในการใช้ตัวดำเนินการเพิ่มค่าและลดค่า (Increment and Decrement) ค่าของข้อมูลจะเปลี่ยนแปลงครั้งละหนึ่งค่า และใช้กับตัวแปรประเภทจำนวนเต็ม
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
จะนำข้อมูลสองค่ามาเปรียบเทียบกัน โดยข้อมูลทั้งสองค่าจะต้องเป็นข้อมูลประเภทเดียวกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นค่าทางลอจิกคือจริงหรือเท็จ
ตัวดำเนินการทางตรรก (Logical Operator)
ประกอบด้วยการทำ AND , OR และ NOT เมื่อกระทำกับค่าใด ผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นจริงหรือเท็จ
ตัวดำเนินการ
|
การกระทำ
|
&&
|
AND ค่าสองค่า ถ้าค่าทั้งสองเป็นจริงผลลัพธ์จะเป็นจริง |
l l
|
OR ค่าสองค่า ถ้าค่าทั้งสองเป็นเท็จผลลัพธ์จะเป็นเท็จ |
!
|
เปลี่ยนค่าจากจริงเป็นเท็จ จากเท็จเป็นจริง |
ถ้าหากในประโยคภาษาซีมีการใช้ตัวดำเนินการเปรียบเทียบและตัวดำเนินการทางตรรกหลายตัว โปรแกรมภาษาซีจะจัดลำดับความสำคัญการทำงานก่อนหลังดังต่อไปนี้
ตัวดำเนินการ
|
ลำดับการทำงาน
|
!
|
1
|
>
>= < <=
|
2
|
== !=
|
3
|
&&
|
4
|
l l
|
5
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น