บทที่ 8
การจัดการฐานข้อมูล
โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์สมัยใหม่มักออกแบบมาเพื่อการประยุกต์ให้สามารถนำไป
ใช้ได้กับความหลากหลายในด้านต่าง
ๆ ทั้งการเขียนเพื่อประมวลผลตัวเลขเชิงคณิตศาสตร์ การใช้สูตรที่ซับซ้อน
การนำไปใช้กับการสื่อสารข้อมูล
รวมทั้งงานด้านกราฟิกต่าง ๆ
หรือแม้แต่การประยุกต์ไปใช้กับการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลขนาดใหญ่
เพื่อพัฒนาเป็นระบบสารสนเทศ ก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้เกือบทุก ๆ
โปรแกรมภาษา โปรแกรมภาษาไพธอนเป็นเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป
มีการพัฒนามอดูลต่าง ๆ ออกมาใช้
และรองรับฐานข้อมูลที่มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งในเนื้อหาของบทนี้จะได้กล่าวถึง การประยุกต์ใช้กับฐานข้อมูลด้วย MySQL ซึ่งเป็นที่รู้จักในกลุ่มของนักพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นจำนวนมาก หลักการเบื้องต้นของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ภาษา SQL เบื้องต้นเพื่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาภาษา SQL
มาก่อนสามารถทำความเข้าใจกับการประยุกต์ใช้กับภาษาไพธอนได้ นอกจากนี้จะได้กล่าวถึง
การจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ เช่น การสร้างโครงสร้างตาราง การแทรกข้อมูล การค้นหา การแก้ไข
การลบและการประมวลผลข้อมูล เป็นต้น
ความรู้พื้นฐานการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
เพื่อให้เข้าใจการออกแบบฐานข้อมูล
สำหรับนำไปใช้กับการเขียนคำสั่งการจัดการฐานข้อมูลด้วยภาษาไพธอน
จึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ให้เข้า
ใจเสียก่อน
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. โครงสร้างตาราง
การเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะเก็บข้อมูลอยู่ในลักษณะโครงสร้างที่เป็นตาราง ประกอบด้วยแถวและสดมภ์ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในแถวเดียวกัน เรียกว่า 1 ระเบียน แต่ละระเบียนจะมีคอลัมน์หรือสดมภ์หลาย ๆ สดมภ์ แต่ละสดมภ์จะเรียกว่า แอตทริบิวต์ ตัวอย่างตารางในภาพที่ 8.1 แสดงให้เห็นถึงการเก็บข้อมูลในลักษณะโครงสร้างตาราง
ภาพที่ 8.1 แสดงโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลด้วยตาราง
จากภาพที่ 8.1 แสดงการเก็บข้อมูลในรูปแบบตารางอันประกอบด้วยแถวและสดมภ์
ข้อมูลที่เก็บอยู่ในแต่ละแถวกับสดมภ์จะมีการเก็บที่เหมือน ๆ กัน เช่น
แอตทริบิวต์ที่ชื่อว่า PHONE จะเก็บข้อมูลเฉพาะหมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น
ถ้าไม่มีข้อมูลจะเก็บค่าว่างหรือเรียกว่า “Null” ข้อมูลในแต่ละแถวจะเป็นข้อมูลของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น
เช่น ข้อมูลในระเบียนที่ 1 ชื่อลูกค้า “คมกฤช เจริญ” ดังนั้นข้อมูลในแถวที่ 1 ทั้งหมดจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ “คมกฤช เจริญ” เท่านั้น ในแต่ละตารางจะต้องมีชื่อตารางบอกเอาไว้
จากภาพที่ 8.1 ตารางกำหนดให้ชื่อว่า CUSTOMER ในแต่ละฐานข้อมูลอาจมีหลาย
ๆ ตาราง มักเรียกแทนตารางว่า “เอนทิตี”
หรือรีเลชันก็ได้ ในแต่ละตารางจะต้องมีคีย์หลักเพื่อใช้สำหรับป้องกัน
ความซ้ำซ้อนของข้อมูล
ในขณะเดียวกันสามารถนำคีย์หลักไปใช้สำหรับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตาราง
ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น