9.6 แอตทริบิวต์ที่อยู่ในคลาส
แอตทริบิวต์ที่มีอยู่ในคลาส
ภาษาไพธอนได้สร้างแอตทริบิวต์ภายในคลาสไว้สำหรับให้โปรแกรมเมอร์เรียกใช้ได้ตลอดเวลา
เพื่อต้องการตรวจสอบว่าคลาสแต่ละคลาสได้ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด
ทั้งนี้ตามหลักการของโปรแกรมเชิงวัตถุในด้านการนำมาใช้ใหม่ บางครั้งนิยมเอามอดูลหรือคลาสของผู้อื่นมาใช้
แต่ผู้ขอใช้คนใหม่ต้องทราบว่ามอดูลหรือคลาสเหล่านั้นทำหน้าที่ใดบ้าง
มีแอตทริบิวต์หรือเมท็อดใดมีให้ใช้บ้าง คำสั่งเหล่านี้ดังแสดงในตารางที่ 9.2
ตารางที่ 9.2 แสดงแอตทริบิวต์ที่มีอยู่ในคลาส
เมท็อด | หน้าที่ |
__dict__ | เพื่อบอกดิกชันนารีของคลาส |
__doc__ | เพื่ออธิบายหน้าที่ของคลาสตามที่ผู้เขียนได้สร้างขึ้น |
__name__ | เพื่อบอกชื่อคลาส |
__module__ | ชื่อมอดูลที่คลาสได้กำหนดเอาไว้ |
__bases__ | ลิสต์ของ base คลาส ซึ่งบางทีอาจไม่มี base คลาส |
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการเรียกใช้เมท็อดเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของคลาสที่ได้สร้างขึ้นมา
ภาพที่ 9.8 แสดงการใช้คำสั่งเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของคลาส
จากภาพที่ 9.8 ในคำสั่งบรรทัดที่
1 เป็นการเรียกดูเอกสารประกอบการสร้างคลาส
เมื่อกลับไปพิจารณาตัวอย่างคำสั่งในภาพที่ 9.5
จะเห็นว่ามีข้อความเป็นคำอธิบายอยู่ภายในเครื่องหมายอัญประกาศ ซึ่งส่วนนั้นมีไว้เพื่ออธิบายวัตถุประสงค์
เนื้อหา และหน้าที่ของคลาส สำหรับในคำสั่งที่ 2-5 เป็นการสอบถามชื่อคลาส ชื่อมอดูล
base และดิกชันนารี ตามลำดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น