7.92 การสร้างแฟ้มบีบอัดชนิด TAR
แฟ้มชนิด tar เป็นแฟ้มประเภทบีบอัดชนิดหนึ่งที่ใช้กับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ โดยวิธีการนำเอาแฟ้มหลาย ๆ แฟ้มมารวมกันในแฟ้มเดียวแล้วบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดให้เล็กลง ในอดีตนิยมนำมาใช้กับการสำรองข้อมูลด้วยเทป หลักการทำงานของโปรแกรมบีบอัด เนื่องจากภาษาไพธอนมีมอดูล tarfile สำหรับการจัดการบีดอัดโดยเฉพาะ โดยมีเมท็อด open(filename, [, mode [, fileObj, [, buf_size]]]) โหมดที่เกี่ยวกับการสร้างแฟ้ม tar ดังแสดงในตารางที่ 7.2
ตารางที่
7.2 แสดงโหมดการทำงานของแฟ้ม tar
ในการรวบรวมแฟ้มแล้วบีบอัดแฟ้มจะใช้เมท็อต add(name [.arcname [, recursive]]) ซึ่งเมท็อตนี้จะรวบรวมเอาแฟ้มหรือสารบบที่ระบุใน name ส่วนอาร์กิวเมนต์ arcname มีไว้เพื่อระบุชื่อแฟ้มที่ต้องการนำเข้ามาในแฟ้มตามต้องการ ส่วน recursive เป็นการระบุว่ายอมให้ทำงานแบบเรียกซ้ำที่มีสถานะเป็นจริงและเท็จเท่านั้น ตัวอย่างคำสั่งการสร้าง Tar แฟ้ม ดังภาพที่ 7.19
โหมด
|
รายละเอียด
|
r |
สำหรับเปิดแฟ้ม
tar เพื่ออ่าน ถ้าแฟ้มนั้นถูกบีบอัด จะขยายแฟ้มออกมา |
r: |
สำหรับเปิดแฟ้ม
tar เพื่ออ่านแต่ไม่มีการขยายแฟ้ม |
w หรือ w: |
สำหรับเปิดแฟ้ม
tar เพื่อเขียนโดยไม่มีการบีบอัด |
a หรือ a: |
สำหรับเปิดแฟ้ม
tar เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลหรือต่อแฟ้มโดยไม่มีการบีบอัด |
r:gz |
สำหรับเปิดแฟ้ม
tar เพื่ออ่านด้วยมาตรฐานบีบอัดของ gzip |
w:gz |
สำหรับเปิดแฟ้ม
tar เพื่อเขียนด้วยมาตรฐานบีบอัดด้วย gzip |
r:bz2 |
สำหรับเปิดแฟ้ม
tar เพื่ออ่านด้วยมาตรฐานบีบอัดของ bzip2 |
w:bz2 |
สำหรับเปิดแฟ้ม
tar เพื่อเขียนด้วยมาตรฐานบีบอัดด้วย bzip2 |
ในการรวบรวมแฟ้มแล้วบีบอัดแฟ้มจะใช้เมท็อต add(name [.arcname [, recursive]]) ซึ่งเมท็อตนี้จะรวบรวมเอาแฟ้มหรือสารบบที่ระบุใน name ส่วนอาร์กิวเมนต์ arcname มีไว้เพื่อระบุชื่อแฟ้มที่ต้องการนำเข้ามาในแฟ้มตามต้องการ ส่วน recursive เป็นการระบุว่ายอมให้ทำงานแบบเรียกซ้ำที่มีสถานะเป็นจริงและเท็จเท่านั้น ตัวอย่างคำสั่งการสร้าง Tar แฟ้ม ดังภาพที่ 7.19
ภาพที่ 7.19 แสดงคำสั่งการสร้างแฟ้มชนิด tar
การทำงานของโปรแกรมมีผลลัพธ์ดังภาพที่ 7.20
ภาพที่ 7.20 แสดงผลการทำงานของการสร้างแฟ้ม
tar
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น