วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

6.2 การใช้ฟังก์ชัน

6.2 การใช้ฟังก์ชัน

ในบทที่ 2 ได้กล่าวถึงการใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น input() หรือ raw_input() ซึ่งเป็นฟังก์ชันสำหรับการรอรับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านแป้นพิมพ์ จะพบว่าแต่ละฟังก์ชันมีหน้าที่แตกต่างกันไป ฟังก์ชันที่ได้ใช้ไปแล้วจะเป็นฟังก์ชันที่เขียนเก็บเอาไว้ในไลบรารี ที่มาพร้อมกับโปรแกรมไพธอน ในบทนี้จะกล่าวเพิ่มเติม การเขียนฟังก์ชันไว้ใช้เป็นของตนเองได้
1. การสร้างฟังก์ชัน
                การสร้างฟังก์ชันด้วยตนเอง สามารถเขียนด้วยคำขึ้นต้นว่า def และตามด้วยชื่อฟังก์ชัน ตามที่ต้องการให้ทำหน้าที่อะไร โดยชื่อจะต้องไม่ซ้ำกับคำสงวน ควรสื่อความหมายให้ตรงกับหน้าที่ของฟังก์ชัน จากนั้นให้ระบุชื่อตัวแปรสำหรับต้องการให้เป็นอาร์กิวเมนต์ ซึ่งอยู่ภายในวงเล็บ ตัวแปรอาจมีมากกว่า 1 ตัวแปรก็ได้ มีรูปแบบ ดังนี้
                                def  functionName(arguments):
                                              “function document String”
                                              function_suite
                                              return [expression]

ความหมายของคำสั่ง มีดังนี้

                        def                                            หมายถึง        เป็นคำสำคัญสำหรับการสร้างฟังก์ชัน
                        functionName                        หมายถึง        เป็นชื่อของฟังก์ชัน
                  arguments                        หมายถึง       ตัวแปรหรือข้อมูลที่จะรับเข้ามาเพื่อนำไปประมวลผลภายในฟังก์ชัน อาร์กิวเมนต์ ต้องอยู่ภายในวงเล็บเสมอ ด้านหลัง
                                                                                                   เครื่องหมายวงเล็บปิดจะต้องมีเครื่องหมาย          : เพื่อบอกว่า สิ้นสุดบล็อกคำสั่งของการกำหนดชื่อและอาร์กิวเมนต์ 
                                                                                                   และเมื่อกดปุ่ม enter จะได้จัดย่อหน้าได้ถูกต้อง

                “function document string”    หมายถึง        เป็นการสร้างคำอธิบายบอกสารสนเทศของฟังก์ชันนั้น  คำอธิบายฟังก์ชันอาจไม่เขียนบันทึกไว้ก็ได้ 
                                                                                                   แต่เป็นการไม่เหมาะสม
                function suite                              หมายถึง        คำสั่งหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ของฟังก์ชันที่ต้องการให้ทำงาน หรือต้องการให้ประมวลผล กับอาร์กิวเมนต์ที่ส่งเข้ามา
                      return [expression]                   หมายถึง        การส่งค่าผลลัพธ์ใด ๆ ที่เกิดจากการประมวลผลภายในฟังก์ชัน การส่งค่ากลับจัดเป็นประเภททางเลือก 
                                                                                                   บางฟังก์ชันอาจจะสั่งให้ทำงานเสร็จสิ้นภายในฟังก์ชัน    นั้น ๆ ก็ได้       


ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการสร้างฟังก์ชันการหาผลลัพธ์ของเลขยกกำลัง

ภาพที่ 6.11  แสดงคำสั่งการสร้างฟังก์ชัน


จากภาพที่ 6.11 เป็นโปรแกรมที่เขียนสั้น ๆ มีความหมายดังนี้
                บรรทัดที่ 1 ด้วยการประกาศชื่อฟังก์ชัน และมีอาร์กิวเมนต์เป็นตัวแปร 2 ตัวแปร ได้แก่ x และ y
                บรรทัดที่ 2 เป็นคำอธิบายถึงหน้าที่ของฟังก์ชันนี้
                บรรทัดที่ 3 เป็นคำสั่งส่งค่ากลับ โดยค่าที่ส่งไป คือ ผลคูณเลขยกกำลังที่รับเข้ามาจากตัวแปร x และ y        

การเรียกใช้ฟังก์ชัน

เมื่อสร้างฟังก์ชันเสร็จเรียบร้อยแล้ว การเรียกใช้ฟังก์ชันสามารถกระทำได้ 2 วิธี ด้วยกัน ได้แก่ วิธีเรียกใช้จากโปรแกรมเดียวกัน และวิธีเรียกใช้จากฟังก์ชันอื่น ๆ มีรายละเอียดดังนี้

2.1   วิธีเรียกใช้จากโปรแกรมเดียวกัน จากตัวอย่างคำสั่งดังภาพที่ 6.12 เป็นการเรียกใช้จากโปรแกรมเดียวกัน โดยการเรียกใช้ฟังก์ชันผ่านคำสั่ง print ให้สังเกต วิธีการเขียนคำสั่งเรียกใช้พร้อมกับแสดงผลข้อความร่วมกับเรียกใช้ฟังก์ชัน 



ภาพที่ 6.12  แสดงคำสั่งการเรียกใช้ฟังก์ชัน


จาก ภาพที่ 6.12 เมื่อเพิ่มคำสั่งการแสดงข้อมูล โดยการใส่ชื่อฟังก์ชันและป้อนค่าอาร์กิวเมนต์จำนวน 2 ค่าอยู่ภายในวงเล็บ การทำงานของชื่อฟังก์ชันนี้จะไปเรียกใช้ฟังก์ชันบรรทัดที่มีคำว่า def  compute_power(2,8)  ค่าอาร์กิวเมนต์แรก คือ 2 จะไปแทนตัวแปร x และ8 จะแทนค่า y ตามลำดับ ซึ่งคำสั่งในฟังก์ชันให้ส่งค่ากลับการคูณยกกำลังของ xy  หรือ 28  กลับไปยังคำสั่ง print

ภาพที่ 6.13  แสดงผลลัพธ์ของการใช้ฟังก์ชัน

จากผลการทำงานของฟังก์ชัน compute_power(2,8) และ compute_power(10,10)  เป็นเรียกฟังก์ชันเดียวกัน 2 ครั้งดังนั้นผลลัพธ์ของ 28 จึงเท่ากับ 256 และ 1010 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 10,000,000,000

2.2 วิธีเรียกใช้จากโปรแกรมอื่น  เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนซึ่งมักจะนำฟังก์ชันที่เขียนขึ้นมา จัดเก็บเอาไว้เป็นไลบรารีอย่างเป็นระบบ  เพื่อต้องการให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถเรียกใช้ได้ ผ่านคำสั่ง import ซึ่งวิธีการเรียกใช้จากโปรแกรมอื่นจะได้กล่าวในหัวข้อการสร้างมอดูลและการเรียกใช้มอดูล ในส่วนท้ายของบทนี้ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...