วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

6.1 อาร์กิวเมนต์ที่มีคีย์เวิร์ด python

6.1 อาร์กิวเมนต์ที่มีคีย์เวิร์ด 

อาร์กิวเมนต์ที่มีคีย์เวิร์ด


ฟังก์ชันที่มีอาร์กิวเมนต์เป็นคีย์เวิร์ด มีลักษณะเหมือนฟังก์ชันที่มีอาร์กิวเมนต์ทั่วไป แต่อาร์กิวเมนต์ที่ต้องใส่สามารถระบุตัวแปรพร้อมกับค่าของตัวแปรมาพร้อมกับ       อาร์กิวเมนต์ในขณะเรียกใช้ได้เลย แต่ภาษาไพธอนยอมให้เรียกใช้ฟังก์ชันโดยไม่ต้องมี       อาร์กิวเมนต์แบบนี้ก็ได้ ดังตัวอย่างในภาพที่ 6.5


ภาพที่ 6.5  แสดงคำสั่งฟังก์ชันที่มีอาร์กิวเมนต์ที่เป็นคีย์เวิร์ด


จากภาพที่ 6.5 จะเห็นว่ามีการประกาศชื่อฟังก์ชันและมีอาร์กิวเมนต์จำนวน 2 ค่าโดยมีการทำงานของฟังก์ชันเพียงแต่แสดงรายการอาร์กิวเมนต์ของทั้ง 2 ค่าออกมาเท่านั้น แต่เมื่อมาพิจารณาที่โปรแกรมหลัก จะเห็นว่ามีการระบุค่าให้กับตัวแปรที่ต้องการส่งค่าไปด้วย  อาร์กิวเมนต์แบบเป็นคำหลักที่ตัวแปรสามารถสลับตำแหน่งกันได้ ผลการทำงานดังแสดงในภาพที่ 6.6


ภาพที่ 6.6  แสดงผลลัพธ์ของฟังก์ชันอาร์กิวเมนต์


อาร์กิวเมนต์ที่มีค่าเริ่มต้น

อาร์กิ วเมนต์ที่มีค่าเริ่มต้น เป็นเช่นเดียวกับอาร์กิวเมนต์ที่จำเป็นต้องมีอาร์กิวเมนต์ เพียงแต่ อาร์กิวเมนต์จำเป็นต้องกำหนดค่าเริ่มต้นเอาไว้เป็นหลักเสียก่อน ในกรณีที่เรียกใช้ฟังก์ชันแล้วใส่อาร์กิวเมนต์ที่มีค่าไม่ตรงกับค่าเริ่มต้น                 ฟังก์ชันนั้นจะได้นำเอาตัวแปรที่ส่งค่าไปยังฟังก์ชันแทน ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ใช้ไม่ได้กำหนดค่าอาร์กิวเมนต์ส่งไป ฟังก์ชันจะยึดเอาค่าที่ได้กำหนดเป็นค่าเริ่มต้นไปประมวลผลแทน ดังตัวอย่างในภาพที่ 6.7


ภาพที่ 6.7  แสดงคำสั่งการสร้างฟังก์ชันอาร์กิวเมนต์ที่มีค่าเริ่มต้น

จากภาพที่ 6.7 เป็นฟังก์ชันที่มีค่าเริ่มต้น เหมาะสำหรับมีการเปลี่ยนแปลงค่า       ตัวแปรที่มีหลายค่า แต่ค่าที่เรียกใช้บ่อยที่สุดจะถูกกำหนดไว้เป็นค่าเริ่มต้น ดังตัวอย่างภาพที่ 6.7 เป็นการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างบัญชีเงินฝากของธนาคาร โดยมีตัวแปร 3 ค่า ได้แก่ รหัสบัญชี จำนวนเงินที่เหลือ และอัตราดอกเบี้ยต่อปี โดยกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากรายปีเป็นค่าเริ่มต้น ในกรณีที่มีเงินฝากคงเหลือน้อยกว่า 50,000 บาท ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 แต่กรณีที่มากกว่าหรือเท่ากับ 50,000 บาท ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 2.50 บาท/ปี เป็นต้น ซึ่งผลการคำนวณดอกเบี้ยในรอบปีจะได้ดังภาพที่ 6.8

ภาพที่ 6.8  แสดงผลลัพธ์ของฟังก์ชันค่าเริ่มต้น

อาร์กิวเมนต์ที่มีขนาดไม่แน่นอน 

จุดเด่นของภาษาไพธอนที่ไม่เหมือนโปรแกรมภาษาอื่น ก็คือ อาร์กิวเมนต์ที่มีขนาดไม่แน่นอน ซึ่งทำให้การเขียนโปรแกรมได้ยืดหยุ่น ง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้ โดยปกติฟังก์ชันชนิดอื่นจะมีการกำหนดชื่ออาร์กิวเมนต์เป็นรายตัวแปรแต่ละค่า แต่อาร์กิวเมนต์ที่มีขนาดไม่แน่นอนไม่จำเป็นต้องระบุ เพียงแต่ใช้เครื่องหมายดอกจัน (*) ข้างหน้าตัวแปรตัวเดียว โดยตัวแปรจะมีโครงสร้างเป็นชนิดทูเพิล ซึ่งมีลักษณะรูปแบบดังนี้
def   functionName([arg1, ] *var_args_tuple):
                              “function doc string”
                              function_suite
                              return [expression]
                ตัวอย่างฟังก์ชันที่มีขนาดไม่แน่นอน ดังภาพที่ 6.9


ภาพที่ 6.9  แสดงคำสั่งฟังก์ชันที่มีอาร์กิวเมนต์ที่มีขนาดไม่แน่นอน


จากภาพที่ 6.9 แสดงคำสั่งการสร้างฟังก์ชันที่มีจำนวนอาร์กิวเมนต์ไม่แน่นอน นำมาประยุกต์ใช้กับการส่งค่าข้อมูลจำนวนกี่ตัวก็ได้ นำข้อมูลเหล่านั้นมาบวกรวมกัน แล้วส่งผลการบวกไปที่โปรแกรมหลัก ตัวแปรอาร์กิวเมนต์ที่รับเข้ามานั้นจะมีตัวอักขระดอกจันนำหน้า เมื่อรับเข้ามาจะกำหนดให้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 (total = 0) ก่อนเสมอ จากนั้นให้ประมวลผลทำซ้ำตามจำนวนรอบเท่ากับจำนวนอาร์กิวเมนต์ โดยรอบที่ 1 จะนำเอาอาร์กิวเมนต์แรกบวกกับอาร์กิวเมนต์ที่ 2 และบวกกับอาร์กิวเมนต์ต่อไปเรื่อย ๆ จนครบจำนวนรอบทั้งหมด   หลังจากนั้นจึงใช้คำสั่งเพื่อให้แสดงผลลัพธ์ที่ตัวแปร total  ผลการทำงานของโปรแกรมจึงได้ผลลัพธ์ดังภาพที่ 6.10

ภาพที่ 6.10  แสดงผลลัพธ์ของฟังก์ชันการบวกที่มีอาร์กิวเมนต์ไม่แน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...