9.4 การสร้างอ็อบเจกต์
การสร้างอ็อบเจกต์การสร้างอ็อบเจกต์หรือการอินสแตนซ์จากคลาสที่สร้างขึ้นมา มีรูปแบบคำสั่งโดยการระบุชื่อคลาสต้นแบบและใส่อาร์กิวเมนต์ตรงกับเมท็อดที่เป็นคอนสตรักเตอร์ หรือตรงกับเมท็อดที่มีข้อความ __init__() วิธีการสร้างอ็อบเจกต์ดังตัวอย่างในภาพที่ 9.2
ภาพที่ 9.3 แสดงคำสั่งการสร้างอ็อบเจกต์
จากภาพที่ 9.3
จะเห็นว่า emp1, emp2 และ emp3 เป็นอ็อบเจกต์ที่ถูกสร้างขึ้นจากคลาส
Employee โดยมีอาร์กิวเมนต์เป็นชื่อและเงินเดือนของพนักงานแต่ละคน
ดังนั้น อ็อบเจกต์ที่สร้างขึ้นมาจำนวนทั้งหมด
3 อ็อบเจกต์
ภาพที่ 9.4 แสดงคำสั่งการเรียกใช้เมท็อด
ดังนั้นเมื่อนำคำสั่งทั้งหมดมาไว้ในโปรแกรมเดียวกัน ผลที่ได้จะมีลักษณะดังภาพที่ 9.5
ภาพที่ 9.5 แสดงคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม
ผลการทำงานของโปรแกรม ดังภาพที่ 9.6
Name : Somchai salary : 15000 Name : Somsak salary : 20000 Name : Somsri salary : 17500 Total employee 3 |
ภาพที่ 9.6 แสดงผลลัพธ์ของโปรแกรม
จากภาพที่ 9.6 ผลลัพธ์ที่ปรากฏ 4 บรรทัด เกิดจากคำสั่งที่เรียกใช้ เมท็อด displayEmployee() ซึ่งในเมท็อดได้มีคำสั่งให้แสดง ชื่อ และเงินเดือน ข้อมูลที่แสดงมีความแตกต่างกัน เพราะขึ้นอยู่กับอ็อบเจกต์แต่ละอ็อบเจกต์ สำหรับบรรทัดสุดท้ายแสดงผลการนับจำนวนพนักงานทั้งหมด เป็นการเรียกใช้คำสั่งการบวกเพิ่มครั้งละ 1 รายการ เมื่อมีการเรียกใช้คอนสตรักเตอร์ ด้วยคำสั่ง Employee.empCount +=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น