2.4 การเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผล
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงผล จะใช้เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์
(%) เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลตามรูปแบบที่ผู้เขียนคำสั่งกำหนด
เช่นเดียวกับการใช้ฟังก์ชัน printf()
ในภาษาซี ที่สามารถใช้เครื่องหมาย % เพื่อควบคุมการแสดงผลข้อมูลต่าง
ๆ ได้ เช่น การกำหนดจำนวนจุดทศนิยม การเปลี่ยนจำนวนตัวเลขเป็นข้อความ
1. การกำหนดจำนวนจุดทศนิยม
การกำหนดจุดทศนิยม
เป็นการกำหนดจำนวนจุดทศนิยมตามต้องการเพื่อการสะดวกในการอ่านหรือการพิมพ์ออกกระดาษ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
>>> pi = 22.0/7.0
>>> print pi
3.14285714286
>>> print '%.3f' % pi
3.143
>>> print '%10.3f' % pi
3.143
|
ภาพที่ 2.18 แสดงตัวอย่างคำสั่งการแสดงผลตัวเลขทศนิยม
2. การเปลี่ยนการแสดงผลตัวเลขและข้อความ
การเปลี่ยนการแสดงผลตัวเลขและข้อความ
เป็นการเปลี่ยนชนิดข้อมูลเพื่อให้การจัดการแสดงผลข้อมูลได้ง่าย ยิ่งขึ้น
ให้พิจารณาจากตัวอย่างต่อไปนี้
>>> '%d' % 65
'65'
>>> '%3d' % 65
' 65'
>>> '%-3d' % 65
'65 '
>>> '%03d' % 65
'065'
>>> '%+d' % 65
'+65'
>>> '%+d' % -65
'-65'
>>> DateOfBirth
= 5,4,1990
>>> print "วัน เดือน ปีเกิด : %02d/%02d/%d" % DateOfBirth
วัน เดือน ปีเกิด
: 05/04/1990 |
ภาพที่ 2.19 แสดงตัวอย่างคำสั่งการแสดงผลตัวเลขและข้อความ
จากภาพที่ 2.19 แสดงการควบคุมการแสดงผลข้อความด้วยเครื่องหมาย % ผสมด้วยรูปแบบ เช่น 3d
เป็นการกำหนดให้แสดงผล 3 หลัก
โดยให้จัดชิดขวา แต่ถ้า -3d ให้แสดงผลสามหลักเช่นกัน แต่จัดชิดซ้าย
ถ้าเป็น 03d จะเป็นการเพิ่มเลข
0 ด้านหน้า ถ้า +d เป็นการเพิ่มเครื่องหมาย +
ด้านหน้า แต่ถ้าต้องการใส่เครื่องหมาย – ที่ข้อมูลต้องใส่เครื่องหมายที่ข้อมูลตัวเลขแทน สำหรับการประยุกต์ใช้เช่น กรณีวันเดือนปี หรือวันที่ในปฏิทิน เป็นต้น
3. การใช้เครื่องหมายพิเศษ
การใช้เครื่องหมายพิเศษเพื่อควบคุมการแสดงผล
ในภาษาไพธอนจะใช้เครื่องหมาย \ ร่วมกับตัวอักษรอื่น ๆ เช่น \n เป็นต้น
ให้พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
>>> print
"Hello \nWorld"
Hello
World
>>> print
"Hello \012World !!!"
Hello
World !!!
>>> print "รหัสนักศึกษา : %s ชื่อ : %s "
%("494244007","สมชาย เข็มทอง")
รหัสนักศึกษา : 494244007 ชื่อ : สมชาย เข็มทอง
>>> print "รหัสนักศึกษา : %s ชื่อ : %s "\
%("494244007","สมชาย เข็มทอง")
รหัสนักศึกษา : 494244007 ชื่อ : สมชาย เข็มทอง |
ภาพที่ 2.20 แสดงตัวอย่างคำสั่งการใช้เครื่องหมายพิเศษ
จากภาพที่
2.20 แสดงการใช้เครื่องหมาย \ เพื่อควบคุมการแสดงผล เช่น \n เป็นการสั่งเพื่อให้ขึ้นบรรทัดใหม่
หรือจะใช้ตัวเลขฐานแปดก็มีความหมายเดียวกัน ในกรณีที่ต้องการพิมพ์คำสั่งหลายบรรทัดภาษาไพธอนให้ใช้เครื่องหมาย
\ เช่นกัน นอกจากคำสั่งที่แสดงให้เห็นตามตัวอย่างแล้ว
ยังมีการควบคุมด้วยอักขระอื่น ๆ ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 2.1 แสดงเครื่องหมายพิเศษสำหรับควบคุมการแสดงผล
ESCAPE CHARACTER
|
NAME
|
DECIMAL
|
OCTAL
|
\n
|
Newline
|
10
|
012
|
\t
|
Horizontal Tab
|
9
|
011
|
\b
|
Back space
|
8
|
010
|
\0
|
Null character
|
0
|
000
|
\a
|
Bell
|
7
|
007
|
\v
|
Vertical tab
|
11
|
013
|
\r
|
Carriage return
|
13
|
015
|
\e
|
Escape
|
27
|
033
|
\”
|
Double quote
|
34
|
042
|
\’
|
Single quote
|
39
|
047
|
\f
|
Form feed
|
12
|
014
|
\\
|
Backslash
|
92
|
134
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น