1.5 เริ่มต้นการเขียนโปรแกรม
วิธีที่ 1 IDLE (Python GUI) ในโหมดนี้ช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมทำงานโต้ตอบกับภาษาไพธอน ได้โดยตรงเมื่อเขียนคำสั่งเสร็จในหนึ่งชุดคำสั่ง โปรแกรมจะเอ็กซ์ซีคิวต์ทันที มีจุดเด่นที่สีของตัวอักษร และพร็อมพ์ โดยมีเครื่องหมาย >>> แทนการรอรับคำสั่ง ดังภาพ
ภาพที่ 1.12 แสดงหน้าต่างการเขียนโปรแกรมกับ Python Shell
วิธี ที่ 2 โดยการเปิด File > New window หรือกดปุ่ม Ctrl+N จากหน้าต่าง Python GUI ของวิธีที่ 1 หลังจากนั้นให้พิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ลงไป เหมือนกับอีดิเตอร์อื่น ๆ ซึ่งจะไม่มีสัญลักษณ์ prompt >>> อยู่ด้านหน้าบรรทัด ดังภาพที่ 1.12
ภาพที่ 1.13 แสดงหน้าต่างการเขียนโปรแกรมกับ GUI
เมื่อ เขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว ถ้าต้องการที่จะจัดเก็บโปรแกรมที่เขียนลงสู่ Disk ให้คลิกเลือกรายการ File เลื่อนไปที่ตัวเลือก Save หรือกดปุ่ม Ctrl+S จะขึ้นไดอะล็อกบ็อก ให้พิมพ์ชื่อแฟ้มที่ต้องการบันทึก ควรพิมพ์ชื่อนามสกุลเป็น .py ด้วย ดังแสดงในรูปด้านล่างต่อไปนี้
ภาพที่ 1.14 แสดงวิธีการบันทึกโปรแกรม
ขั้น ตอนต่อไปคือการสั่ง Run โปรแกรมหรือการ execute เพื่อให้โปรแกรมประมวลผลคำสั่งให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ การสั่ง Run โดยการคลิกเลือกรายการ Run เลือกตัวเลือก Run Module หรือกดปุ่มคีย์ลัด F5 โปรแกรมจะเปิดไพธอน เชลล์ มาแสดงผลการทำงานดังรูป
ภาพที่ 1.15 แสดงหน้าต่างการสั่งให้ไพธอนประมวลผลโปรแกรม
ใน การขียนคำสั่งผู้เขียนจะต้องเขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ของภาษาไพธอนทุก ๆ กรณี การเขียนคำสั่งผิดพลาดแม้เพียงอักขระเดียว โปรแกรมไม่สามารถจะ Run ได้แต่โปรแกรมจะบอกตำแหน่งที่ผิดพลาด คอยแนะนำให้ผู้เขียนทราบว่าผิดในส่วนใดบ้าง จะแจ้งบรรทัดที่เขียนผิด ดังรูปภาพด้านล่างต่อไปนี้
ภาพที่ 1.16 แสดงผลของ error
การ แจ้งเตือนคำสั่งที่ผิดโปรแกรมไธอนจะสร้างสีส้มระบายข้อความที่ผิด ผู้เขียนโปรแกรมต้องใช้ความรู้ วิจารณญาณ ในการตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์เรียบร้อยแล้ว และให้ทดลอง Run โปรแกรมใหม่อีกครั้ง จนกระทั่งไม่มีข้อผิดพลาดอื่น ๆ อีก โปรแกรมจะแสดงผลการทำงานออกมาตามต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น