1.3 ชนิดของข้อมูล
ภาษาไพธอนจะมีชนิดข้อมูลอยู่ 9 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตัวเลข ข้อมูลเรียงลำดับ การจับคู่ callable มอดูล คลาส อินสแตนซ์คลาส ไฟล์ และ internal ในแต่ละชนิดจะมีชนิดข้อมูลย่อยอีก แต่ที่จะนำมาศึกษาในเล่มนี้จะนำเอาชนิดของข้อมูลที่เป็นพื้นฐานที่ใช้กันบ่อย ๆ ซึ่งอยู่ด้วยกัน 4 ชนิดได้แก่ integer, float, string และ dictionary ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวแปรที่จะใช้ว่าต้องการกำหนดให้เป็นข้อมูลชนิดใด เช่น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลของคะแนนผลการสอบที่เป็นจำนวนเต็ม จะต้องกำหนดให้ชนิดตัวแปรเป็นจำนวนเต็ม หรือเรียกว่า integer มีรูปแบบดังนี้
ภาพที่ 1.10 แสดงการประกาศตัวแปรชนิด
integer
ถ้าหากต้องการเก็บคะแนนผลสอบเป็นตัวเลขที่มีจุดทศนิยมด้วย
จะต้องกำหนดให้ชนิดตัวแปรเป็นจำนวนที่มีจุดทศนิยม หรือเรียกว่า float มีรูปแบบดังนี้
ภาพที่ 1.11 แสดงการประกาศตัวแปรชนิด floating point นอก จากตัวอย่างที่ได้แสดงไว้แล้ว ภาษาไพธอนยังมีชนิดข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นกว่าโปรแกรมภาษาอื่น ๆ อีกมากมายให้เลือกใช้ ดังรายละเอียดจากตาราง
callable
|
BuiltinFunctionType
BuiltinMethodType
ClassType
FunctionType
InstanceType
MethodType
UnboundMethodType
|
ฟังก์ชัน built-in ต่าง ๆ
เมธอด built-in
ต่าง ๆ
คลาส
ฟังก์ชัน
คลาสและอินสแตนซ์
เมธอด
Bound class Method
|
มอดูล
|
ModuleType
|
ชนิดมอดูล
|
คลาส
|
ClassType
|
ชนิดคลาส
|
อินสแตนซ์คลาส
|
InstanceType
|
ชนิดอินสแตนซ์คลาส
|
ไฟล์
|
FileType
|
ชนิดไฟล์
|
1. ข้อมูลชนิดตัวเลข หมายถึง ข้อมูลที่เป็นชุดของตัวเลขซึ่งประกอบด้วย ตัวเลขจำนวนเต็ม ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม รวมทั้งตัวเลขที่มีค่าเป็นบวกหรือลบด้วย
ตัวอย่างเช่น 8, 32.00,
0.64, -255.1, +32767
เป็นต้น
ชนิดข้อมูลแบบตัวเลขจะมีให้เลือกใช้อีก 4 ชนิด ชนิดตามตารางที่ 1.2
ชนิดข้อมูลตัวเลขประกอบด้วย 4 ชนิด ได้แก่ integer long integer
float และชนิด complex number มีรายละเอียดดังตารางที่ 1.3
ตารางที่
1.3 ข้อมูลชนิดเลข
ชนิด
|
ช่วง |
integer
long integer
float
complex
|
-231 – 231-1
< -231 หรือ > 231-1
+10308.25 – -10308.25
--
|
2. ชนิดข้อมูลแบบอักขระ คือชนิดข้อมูลที่เป็นอักขระเพียงหนึ่งตัวเท่านั้น โดยที่ตัวอักขระนี้จะอยู่ในเครื่องหมาย Apostrophes ('') อาจจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กและใหญ่
สัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ หรือตัวเลข
แต่มีข้อแม้ว่าถ้าเป็นข้อมูลตัวเลขจะไม่สามารถที่จะนำตัวเลขนั้นไปคำนวณเหมือนกับตัวแปรชนิดเลขจำนวนเต็มหรือจำนวนจริงได้ ตัวอย่างข้อมูลชนิดอักขระเช่น 'A', 'Z', 'a', 'z', '1', '9', '#', '%' เป็นต้น
3. ชนิดข้อมูลแบบข้อความ คือชนิดข้อมูลที่เป็นอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวอักขระขึ้นไป ซึ่งจะเรียงต่อกันเป็นกลุ่มโดยจะอยู่ภายในเครื่องหมาย
Apostrophes (' ') แต่กลุ่มอักขระที่เรียงต่อกันนี้จะมีความยาวไม่เกิน 255
อักขระ
และในกรณีที่ในเครื่องหมาย ('') ไม่มีอักขระใด ๆ อยู่ในภาษาไพธอนจะเรียกว่า Null String ชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความเช่น 'Songkhla', 'Rajabhat', 'University'
4. ชนิดข้อมูลแบบตรรกศาสตร์
คือ ชนิดข้อมูลที่ให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจจากเงื่อนไขหรือนิพจน์
โดยผลของข้อมูลชนิดนี้จะมีเพียงค่าจริงและเท็จเท่านั้น ตัวอย่างเช่น isChecked = True หมายถึง กำหนดให้ตัวแปร isChecked เก็บค่าจริงเอาไว้ หรือ verified = False หมายถึง ตัวแปร verified เก็บค่าเท็จเอาไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น