วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

2.1 ชนิดของตัวแปร python

2.1 ชนิดของตัวแปร 

          ชนิด ของข้อมูลพื้นฐานในภาษาไพธอน แบ่งออกเป็น 5 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ number, string, list, tuple, dictionary ซึ่งเป็นตัวแปรทั่ว ๆ ไปแต่ภาษาไพธอนยอมให้มีตัวแปร list, tuple, dictionary ที่ผสมกันได้ เรียกว่าชนิด complex ถ้าหากต้องการทราบว่าตัวแปรที่ประกาศใช้นั้นเป็นชนิดใด เราสามารถสอบถามชนิดตัวแปรได้จากคำสั่ง type(var) ดังคำสั่งในรูปต่อไปนี้



>>> a = 'Python'
>>> type(a)
<type 'str'>
>>> pi = 3.14159
>>> type(pi)
<type 'float'>
>>> n = 100
>>> type(n)
<type 'int'>
>>> id = '504244001'
>>> type(id)
<type 'str'>
>>> 12j+1
(1+12j)
>>> type(12j+1)
<type 'complex'>
>>> inp = input("Enter a list: ")
Enter a list: [‘abcd’, 1234]
>>> inp
[‘abcd’, 1234]
รูปที่ 2.7 แสดงคำสั่งสอบถามชนิดตัวแปร

1. ตัวแปรชนิดตัวเลข
            ตัวแปรชนิดตัวเลข (number)  ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่เป็นจำนวน เช่น เลขจำนวนนับ ซึ่งเลขจำนวนนับนี้มีคุณสมบัติสามารถเพิ่มค่าได้ คำนวณได้ และเปลี่ยนแปลงค่าได้ ประกอบด้วยเลขจำนวนเต็มได้แก่ ชนิด integer ซึ่งรับข้อมูลได้ตั้งแต่ -231 – 231-1  และชนิด  long integer ซึ่งรับข้อมูลตัวเลขที่มากกว่า integer ที่รับได้โดยไม่จำกัด  ขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องว่ามีหน่วยความจำเสมือน (virtual memory) เท่าไร ในการประกาศตัวแปรชนิด long integer นั้นเพียงใส่ตัวอักขระ L ต่อท้ายตัวเลขข้อมูลที่ต้องการเก็บเท่านั้น ถือว่าเป็นการประกาศตัวแปรชนิด long integer  แล้ว    สำหรับวิธีการใช้ตัวแปรสามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบทั้งเลขฐานสิบ เลขฐานแปดโดยใส่เลข 0 ด้านหน้าตัวเลขฐานแปด  และเลขฐานสิบหกโดยใส่เลข 0x ด้านหน้าเลขฐานสิบหก ได้ทั้งสองชนิด ดังนี้

 
>>> longvar = 417324698473L
>>> print longvar
417324698473
>>> type(longvar)
<type 'long'>
>>> decimalvar = 17
>>> print decimalvar
17
>>> octalvar = 017
>>> print octalvar
15
>>> hexvar = 0xff
>>> print hexvar
255
รูปที่ 2.8 แสดงคำสั่งตัวแปรชนิดตัวเลข
 นอกจากนี้ตัวแปรชนิด number ยังประกอบด้วยตัวแปรชนิดเลขจำนวนจริง (floating point)  ตัวแปรชนิดเลขจำนวนจริงสามารถรับค่าได้ตั้งแต่ +10308.25 ถึง -10308.25 ในการแสดงผลตัวเลขจำนวนจริงจะมีตัวอักขระ e  แสดงขึ้นมาในส่วนตรงกลางระหว่างตัวเลข  มีความหมายว่า ตัวเลขในส่วนด้านหน้าอักขระ e คือตัวเลขฐานสิบธรรมดา ส่วนตัวข้างหลังหมายถึงเลขยกกำลัง  เช่น  32.3+e28 มีค่าเท่ากับ 32.328  เป็นต้น


2. ตัวแปรชนิดสายอักษร
        ตัวแปรชนิดสายอักษร (string)  ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่เป็นข้อความ หรือประโยค เพื่อนำมาเก็บเป็นข้อมูลทั่วๆ ไป เช่น ชื่อ-สกุล  ที่อยู่ และอื่น ๆ ซึ่งตัวแปรชนิดนี้ไม่สามารถนำมาคำนวณได้   ในการประกาศตัวแปรชนิดนี้  ข้อความที่ต้องการเก็บในตัวแปรจะต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย (" ") หรือเครื่องหมาย ('')  กำกับอยู่  เช่น name = 'Taweerat'  หรือ name = "Taweerat" ดังนั้นในกรณีที่มีการเก็บตัวเลขดังรูปแบบ '1234'  จึงมีความหมายเป็นเพียงสายอักษร  ไม่สามารถนำมาคำนวณได้   แต่ถ้าหากต้องการให้คำนวณได้จำเป็นต้องใช้ฟังก์ชันเพื่อเปลี่ยนชนิดตัวแปร เป็นชนิดตัวเลขใหม่  วิธีการเขียนคำสั่งเพื่อเก็บข้อมูลชนิดตัวแปรสายอักษร มี ดังนี้

 >>> str1 = 'This is a literal string'
>>> str2 = "This is another string"
>>> str3 = "I'm a teacher"
>>> str4 = 'I don\'t like VB'
>>> str5 = "This is an example of  \
two lines string"
>>> print str1
This is a literal string
>>> print str2
This is another string
>>> print str3
I'm a teacher
>>> print str4
I don't like VB
>>> print str5
This is an example of  two lines string

ภาพที่ 2.9 แสดงตัวอย่างคำสั่งการประกาศตัวแปรชนิดสายอักษร


3. ตัวแปรชนิดลิสต์

            ตัว แปรชนิดลิสต์ (list) เป็นตัวแปรที่มีขึ้นในโปรแกรมภาษาใหม่ ๆ ซึ่งโปรแกรมภาษารุ่นเก่า ๆ จะเรียกว่า อะเรย์ (array) ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร 1 ตัว มีข้อมูลเก็บได้หลาย ๆ จำนวนในลักษณะที่ต่อเนื่องกัน การเรียกใช้ข้อมูลภายในลิสต์จะต้องระบุถึงดัชนีลำดับของข้อมูลที่เก็บเอาไว้ โดยเริ่มต้นจาก 0 เช่นเดียวกับอะเรย์ แต่ลิสต์สามารถเรียกดัชนีที่เป็นค่าลบได้ นั่นคือ ถ้าเป็น -1 หมายถึง ข้อมูลลำดับสุดท้าย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

>>> fruits = ["banana","papaya","orange","apple","mango"]
>>> fruits
['banana', 'papaya', 'orange', 'apple', 'mango']
>>> fruits[0]
'banana'
>>> fruits[1]
'papaya'
>>> fruits[-1]
'mango'
>>> fruits[-3]
'orange'
 
 
ภาพที่ 2.10 แสดงตัวอย่างคำสั่งการประกาศตัวแปรชนิดลิสต์


4. ตัวแปรชนิดทุพเพิล

            ตัว แปรชนิดทุพเพิล เป็นตัวแปรที่มีลักษณะคล้ายกับตัวแปรชนิดลิสต์ เพียงแต่ตัวแปรชนิดทุพเพิลไม่สามารถนำมาเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ เลยเมื่อได้สร้างขึ้นมาแล้ว ดังนั้น การเรียกใช้ข้อมูลจึงมีการใช้ตัวเลขดัชนีเช่นเดียวกัน และที่แตกต่างกันอีกอย่างหนึ่งคือ ในขณะสร้างตัวแปร ตัวแปรชนิดทุพเพิลจะมีข้อมูลอยู่ภายใต้เครื่องหมาย ‘()’ ในขณะที่ตัวแปรชนิดลิสต์จะมีข้อมูลอยู่ภายใต้เครื่องหมาย ‘[]’ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

>>> animals = ("monkey", "rabbit", "cat", "kangaroo","chicken")
>>> animals[0]
'monkey'
>>> animals[1]
'rabbit'
>>> animals[-1]
'chicken'
>>> animals[-3]
'cat'
 
 











ภาพที่ 2.11 แสดงตัวอย่างคำสั่งการประกาศตัวแปรชนิดทุพเพิล


5. ตัวแปรชนิดดิกชันนารี

            ตัว แปรชนิดดิกชันนารี (dictionary) เป็นตัวแปรที่มีลักษณะเก็บข้อมูลได้หลาย ๆ ค่า แต่ข้อมูลที่เก็บจะต้องเป็นการจับคู่ระหว่างคีย์และข้อมูล สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เก็บอยู่ได้ ตัวแปรชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลที่มีชนิดแตกต่างกันในตัวแปรเดียวกันได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

>>> name={'Dad':'Somchai','Mom':'Somsri','Bro':'John'}
>>> name
{'Dad': 'Somchai', 'Bro': 'John', 'Mom': 'Somsri'}
>>> name['Dad']
'Somchai'
>>> name['Mom']
'Somsri‘ 
>>> age={'Dad':42,'Mom':40}
>>> age['Dad']
42
>>> age['Dad']+ age['Mom']
82
 
ภาพที่ 2.12 แสดงตัวอย่างคำสั่งการประกาศตัวแปรชนิดดิกชันนารี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...