วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่ 9 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ python

บทที่ 9

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
ใน บทเรียนก่อนนี้ ได้ศึกษาการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างเหมือนกับการเขียนด้วยโปรแกรมภาษาทั่ว ๆ ไป สำหรับบทนี้จะได้นำเอาแนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุมาประยุกต์ใช้กับภาษา ไพธอน ซึ่งได้ออกแบบและสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นภาษาเชิงวัตถุตั้งแต่เริ่มต้น ในตัวอย่างการเขียนโปรแกรมของบทก่อนหน้านี้ จะพบว่ามีการเรียกใช้เมท็อดต่าง ๆ  เมท็อดเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุนั่นเอง แนวคิดของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุเกิดขึ้นจากปัญหาของการเขียนโปรแกรมแบบ เดิมที่มีความซับซ้อน มีการเขียนคำสั่งที่ซ้ำ ๆ กันเป็นจำนวนมาก แม้ว่าโปรแกรมเมอร์จะแก้ปัญหาการเขียนซ้ำ ๆ เหล่านั้นด้วยการสร้างฟังก์ชันขึ้นมา หลังจากนั้นจึงเรียกใช้ฟังก์ชันพร้อมกับป้อนค่าอาร์กิวเมนต์เข้าไป  อาร์กิวเมนต์ที่ป้อนแต่ละครั้งเป็นข้อมูลที่แตกต่างกัน แต่ในบางครั้งฟังก์ชันเหล่านั้นไม่สามารถสนับสนุนอาร์กิวเมนต์ที่มีจำนวนแตก ต่างกันได้ และไม่สามารถลดความซับซ้อนลงได้ จึงได้มีแนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุขึ้นมา โดยมีหลักทฤษฎีว่า สิ่งของต่าง ๆ สามารถมองให้เป็นวัตถุได้ ในบทนี้จะได้ศึกษาถึง ความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การสร้างคลาส  การสร้างอ็อบเจกต์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...