วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ CentOS Linux ?

ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ CentOS Linux ?

      สำหรับบทความตอนนี้นับเป็นการแนะนำระบบปฏิบัติการเครือข่ายลีนุกซ์ที่ชื่อ ว่า CentOS โดย ผมได้แนะนำภาพรวมของระบบ รวมทั้งแนะนำแพ็กเกจยอดนิยมสำหรับนำไปใช้งานในองค์กร และส่วนสุดท้ายได้กล่าวถึงแนวทางในการติดตั้งระบบ CentOS คิด ว่าขณะนี้หลายหน่วยงานใช้ระบบลีนุกซ์ตัวนี้อยู่ จากการสอบถามเพื่อนๆ ในวงการ Admin ได้คำตอบว่าหน่วยงานที่ใช้ระบบลีนุกซ์ตัวนี้มากที่สุดน่าจะเป็นศูนย์บริการ รับฝากเว็บไซต์หรือนิยมเรียกกันในชื่อ Web Hosting สำหรับองค์กรธุรกิจก็มีอยู่หลายองค์กรที่เบื้องหลังใช้ระบบลีนุกซ์ตัวนี้รัน อยู่ หลังจากอ่านบทความนี้แล้วผู้เขียนแนะนำให้ลองหาแผ่น CentOS มาทดสอบกันเพื่อจะได้เห็นผลลัพธ์อย่างแท้จริง เอาเป็นว่าเรามาทำความรู้จักเจ้าลีนุกซ์ตัวนี้กัน

      ในปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับใช้ทำเป็นระบบ Intranet หรือ Internet Server ขององค์กรมีให้เลือกใช้งานหลายตัวด้วยกัน อาทิ เช่น Windows Server (Windows Server 2003, Windows Server 2008), Linux Server (RedHat, Fedora, CentOS, Ubuntu, Debian, Slackware, SuSE, Mandriva, OpenNA, IPCop, Linux-SIS), BSD Server (FreeBSD, OpenBSD, NetBSD), Solaris (Sun Solaris, OpenSolaris) เป็นต้น การที่จะเลือกระบบปฏิบัติการตัวใดมาทำเซิร์ฟเวอร์ใช้งานในองค์กรนั้น สำหรับ Admin มือเก๋าไม่น่าเป็นปัญหามากนักเพราะได้ทดสอบลองผิดลองถูกมาพอสมควร จะว่าไปแล้วในอดีตใครที่ติดตั้ง Linux และทำการคอนฟิกให้ระบบใช้งานผ่านได้ก็ถือว่าเก่งพอสมควร รวมทั้งหลังการติดตั้งเสร็จก็สามารถเปิดใช้งานได้ตามปกติ น้อยครั้งนักที่ระบบจะโดนแฮกซ์ แต่หากเป็น Admin น้องใหม่ในปัจจุบันการลองผิดลองถูกคงเป็นการยากแล้ว เนื่องจากปัจจุบันมีแฮกเกอร์ทั่วบ้านทั่วเมืองใครๆ ก็สามารถเรียนรู้วิธีการแฮกซ์ระบบเซิร์ฟเวอร์ผ่านเว็บ Google สำหรับ Admin น้องใหม่กว่าจะทดลองสำเร็จบางครั้งระบบโดนเจาะไปเรียบร้อยแล้ว

       CentOS ย่อมาจาก Community ENTerprise Operating System เป็นลีนุกซ์ที่พัฒนามาจากต้นฉบับ RedHat Enterprise Linux (RHEL) โดยที่ CentOS ได้ นำเอาซอร์สโค้ดต้นฉบับของ RedHat มาทำการคอมไพล์ใหม่โดยการพัฒนายังเน้นพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ Open Source ที่ถือลิขสิทธิ์แบบ GNU General Public License ในปัจจุบัน CentOS Linux ถูกนำมาใช้ในการทำ Web Hosting กันอย่างกว้างขวางเนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่มีต้นแบบจาก RedHat ที่มีความแข็งแกร่งสูง (ปัจจุบันเน้นพัฒนาในเชิงการค้า) การติดตั้งแพ็กเกจย่อยภายในสามารถใช้ได้ทั้ง RPM, TAR, APT หรือใช้คำสั่ง YUM ในการอัปเดทซอฟต์แวร์แบบอัตโนมัติ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.centos.org

    เหตุผลหลักที่องค์กรจะเลือกใช้ระบบ CentOS
    สำหรับองค์กรธุรกิจเหมาะสมอย่างมากที่จะนำระบบตัวลีนุกซ์ตัวนี้มาทำเป็น เซิร์ฟเวอร์ใช้งานภายในองค์กร โดยพอสรุปเหตุผลหลักในการนำระบบนี้มาใช้งานได้ดังนี้

    1. เพื่อประหยัดงบประมาณขององค์กร เนื่องจาก CentOS เป็น ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอส องค์กรไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ (เพียงแต่ผู้ดูแลระบบต้องลงทุนเรียนรู้ระบบก่อนการใช้งาน ในปัจจุบันสามารถเรียนรู้ได้ง่ายดายผ่านทางหน้าเว็บ Google.com)

    2. เพื่อนำมาทำเซิร์ฟเวอร์บริการงานต่างๆ ในองค์กร ซึ่งภายใน CentOS มี แพ็กเกจย่อยที่นำมาใช้ทำเซิร์ฟเวอร์สำหรับใช้งานในองค์กรจำนวนมาก อาทิ เช่น Web Server(Apache), FTP Server(ProFTPd/VSFTPd), Mail Server(Sendmail/Postfix/Dovecot), Database Server(MySQL/PostgreSQL), File and Printer Server(Samba), Proxy Server(Squid), DNS Server(BIND), DHCP Server(DHCPd), Antivirus Server(ClamAV), Streaming Server, RADIUS Server(FreeRADIUS), Control Panel(ISPConfig) เป็นต้น

    3. เพื่อนำมาทำเป็นระบบเซิร์ฟเวอร์สำหรับจ่ายไอพีปลอม (Private IP Address) ไปเลี้ยงเครื่องลูกข่ายในองค์กร รวมทั้งตั้งเป็นระบบเก็บ Log Files ผู้ใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ปี 2550

    แพ็กเกจยอดนิยมสำหรับใช้งานบนระบบ CentOS
    สำหรับในแผ่น CD ของ CentOS มีแพ็กเกจที่สามารถนำมาติด ตั้งใช้งานได้ทันทีจำนวนมาก โดยสามารถนำมาติดตั้งใช้งานได้ทันที สำหรับแพ็กเกจที่ไม่มีอยู่ในแผ่น CD สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ http://www.rpmfind.net หรือ http://www.freshrpms.net คิดว่าคงเพียงพอต่อการใช้งาน สำหรับบทความตอนต่อๆ ไปผู้เขียนจะแนะนำการติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านี้กัน โดยจะเน้นเป็นภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทดสอบหรือทดลองทำตามได้ เพื่อที่จะเป็นการยกระดับหรือพัฒนาความรู้ ความสามารถในวงการ Admin ไทย

    จะหาดาวน์โหลดตัวติดตั้ง CentOS ได้ที่ไหน
    สำหรับตัวติดตั้ง CentOS ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดตัวติดตั้งแบบ image file แล้วมาทำการเขียนแผ่น CD/DVD ใช้งานเอง แนะนำให้ไปดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ http://isoredirect.centos.org/centos/5/isos/i386/ หรือไม่ก็ลองหาซื้อแผ่นที่เขาวางขายแถวพันทิพย์หรือฟอร์จูนดู

    แนวทางเลือกวิธีการติดตั้ง
    ในการติดตั้งระบบ CentOS Linux ใช้งานน่าจะอยู่ที่จุดประสงค์ของผู้จัดทำเป็นหลัก โดยการติดตั้งสามารถติดตั้งใช้งานได้หลายแนวทางด้วยกัน พอสรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้

    1.การติดตั้งระบบ Linux แยกกับระบบ Windows
    การติดตั้งลักษณะนี้ในฮาร์ดดิก์สหนึ่งก้อนจะทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการแยก กันระหว่างระบบ Linux กับระบบ Windows โดยติดตั้งระบบ Windows ได้ที่ไดร์ฟหลัก (C:) และติดตั้งตั้งระบบ Linux ไว้ที่ไดร์ฟรอง สำหรับไดร์ฟที่ทำการติดตั้งระบบลีนุกซ์ต้องแบ่งอย่างน้อยสองพาร์ติชั่น คือ Linux Native สำหรับไว้เก็บข้อมูล และ Linux Swap สำหรับเป็นสว๊อพพาร์ติชั่น ในการแบ่งพาร์ติชั่นสามารถใช้ Fdisk แบ่งก่อนการติดตั้งระบบวินโดวส์ หรือใช้โปรแกรม Partition Magic แบ่งหลังการติดตั้งวินโดวส์ ผู้ติดตั้งสามารถเลือกวิธีการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ได้ว่าจะใช้เก็บระบบ วินโดวส์กี่เปอร์เซ็นต์และใช้เก็บระบบลีนุกซ์กี่เปอร์เซ็นต์

    2.การติดตั้งระบบ Linux ผ่านทางโปรแกรม Virtualization
    การติดตั้งวิธีนี้ผู้ติดตั้งสามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งระบบปฏิบัติการตัวใด ลงไปก่อน หลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จก็ทำการติดตั้งโปรแกรม Virtualization อาทิ เช่น VMWare, VirtualBox หรือ Microsoft Virtual PC ภายหลัง เสร็จแล้วก็ทำการติดตั้งระบบ Windows Server หรือ Linux Server ผ่านทางโปรแกรม Virtualization อีกครั้งหนึ่ง การติดตั้งวิธีนี้ระบบจะทำการหั่นพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์มาติดตั้ง ระบบ โดยไม่ไปทำลายระบบวินโดวส์/ลีนุกซ์ กล่าวคือหากระบบปฏิบัติการภายในโปรแกรม Virtualization พัง จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ การติดตั้งตามแนววิธีนี้เหมาะสำหรับห้อง LAB ในสถาบันการศึกษา สถาบันฝึกอบรมหลักสูตรคอมพิวเตอร์ นักเรียน นักศึกษา หรือผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการทดสอบใช้งานลีนุกซ์
    - 2.1 ติดตั้ง Linux ผ่านทางโปรแกรม Virtualization ในระบบ Windows
    - 2.2 ติดตั้ง Windows ผ่านทางโปรแกรม Virtualization ในระบบ Linux

    3.การติดตั้งลีนุกซ์เพื่อใช้งานจริง
    การติดตั้งวิธีนี้เป็นการติดตั้งระบบลีนุกซ์เพียงระบบเดียว ไม่มีระบบอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เหมาะสำหรับติดตั้งใช้งานจริง ในการติดตั้งสามารถแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ลักษณะ คือ

    3.1 การแบ่งฮาร์ดดิสก์เป็น 2 พาร์ติชั่น
    3.1.1 พาร์ติชั่นแรกแบ่งเป็น Linux Swap (Swap) โดยแบ่งเป็น 2 เท่าของ RAM ที่ใช้งานอยู่ ตัวอย่างเช่นกรณีมี RAM อยู่ 512 MB ก็กำหนดเป็น 512 x 2 = 1024 MB
    3.1.2 พาร์ติชั่นที่สองแบ่งเป็น Linux Native (Ext3) สำหรับเก็บข้อมูลโดยใชพื้นที่ดิสก์ที่เหลืออยู่

    3.2 การแบ่งฮาร์ดดิสก์โดยแบ่งพาร์ติชั่นแบบแยกอิสระ
    การแบ่งวิธีนี้ผู้ติดตั้งต้องมีการจัดสรรพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ใช้งานตามความ ต้องการ อาทิ แบ่งพื้นที่ห้อง /home ไว้สำหรับเก็บเว็บไซต์ผู้ใช้งาน/ลูกค้า, ห้อง /usr สำหรับใช้ติดตั้งแพ็กเกจต่างๆ ห้อง /var สำหรับเก็บล็อกไฟล์, ห้อง /tmp สำหรับเก็บไฟล์ชั่วคราว, ห้อง /cache สำหรับเก็บบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ของโปรแกรมพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์, ห้อง/สำหรับตั้งเป็นรู๊ทพาร์ติชั่น, ห้อง swap สำหรับทำสว๊อพพาร์ติชั่น เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...