วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

ทำ Linux ให้ดูคล้าย Windows ได้ง่ายๆ ด้วย "Cinnamon"


ก่อนที่จะเข้าเรื่อง ก็ขออธิบายคร่าวๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า Desktop Environment ก่อน
"Desktop Environment" (ต่อไปนี้ขอเรียกย่อว่า DE) เป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของระบบปฏิบัติการ ที่มีหน้าที่เป็น Interface สื่อสารกับผู้ใช้ ให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องมานั่งพิมพ์คำสั่งเป็นบรรทัดๆ ในแต่ละระบบปฏิบัติการเช่น Windows, Mac ก็มี DE เป็นของตัวเอง แต่ Linux นี้จะพิเศษกว่าใครๆ ก็ตรงที่มี DE หลายๆ แบบให้เลือกใช้งานกันมากมายหลายแบบ
ตัวอย่างรายชื่อของ DE ที่คนนิยมใช้กัน
- KDE
- LXDE
- XFCE
* ที่จริงมีเยอะกว่านี้ครับ แต่คัดมาเฉพาะที่นิยมกันจริงๆ เท่านั้น Cool อยากรู้รายละเอียดก็คลิกชื่อเข้าไปดูได้เลย (ใน Wikipedia)

คราวนี้ก็มาเข้าเรื่องกันดีกว่า... "Cinnamon" (หรือจะเรียกว่าอบเชยก็ได้ แล้วแต่...) เป็น DE ตัวใหม่ที่พัฒนาแตกหน่อมาจาก GNOME Shell (GNOME 3.x) โดยมีจุดประสงค์คือช่วยให้ผู้ใช้งาน Linux รู้สึกคุ้นเคยกับหน้าตาแบบเดิมๆ ที่เคยใช้อยู่ หรือให้ผู้ที่เคยใช้ OS อื่นมาก่อนใช้งานได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มมากนัก ไม่เหมือนกับ DE อื่นอย่างเช่น GNOME Shell หรือ Unity ที่เหมือนจะถูกออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์พกพาเสียมากกว่า จึงทำให้ใช้งานได้ไม่ค่อยถนัดบนคอมฯ ตั้งโต๊ะธรรมดา (แต่บางคนก็ไม่ซีเรียสตรงนี้ ยังใช้มันต่อไป)
นี่คือคลิปสาธิตการใช้งาน Cinnamon แบบคร่าวๆ...
ดูคลิปกันไปแล้วก็มาดูภาพหน้าจอต่อ ทางซ้ายนี้คือ Cinnamon มาเทียบกับ Windows XP Kiss
หรือจะปรับแต่งให้เหมือน GNOME 2.x (แบบดั้งเดิมที่มี 2 แถบ) หรือ Mac ก็ทำได้ครับ Embarassed (Dock ข้างล่างจอทำด้วยโปรแกรม Docky)
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
เชื่อว่าตอนนี้หลายคนคงอยากใช้ Cinnamon กันแล้ว ก็มาเริ่มขั้นตอนการติดตั้งเลยครับ ก่อนอื่นก็ต้องดูว่าเราใช้ Linux ค่ายไหนอยู่ ในแต่ละค่ายก็จะมีวิธีติดตั้งแตกต่างกันไปเล็กน้อย Money mouth

# Linux Mint 12

จะมีอยู่ใน Repository ของ Mint อยู่แล้ว แค่เปิด Software Manager แล้วพิมพ์ค้นหาว่า "cinnamon" หรือจะสั่งติดตั้งในโปรแกรม Terminal ก็ได้ ด้วยคำสั่งนี้

sudo apt-get install cinnamon

# Ubuntu 11.10
ต้องเพิ่ม PPA ตามนี้ก่อนถึงจะติดตั้งแบบใน Linux Mint ได้ (คลิกเพื่อดูวิธีติดตั้งผ่าน PPA ใน Entry ก่อนหน้านี้ ที่ข้อ 7)

ppa:merlwiz79/cinnamon-ppa

# Fedora 16
ทำตามขั้นตอนในเว็บบอร์ดนี้ของ Fedora http://forums.fedoraforum.org/showthread.php?t=274611
หรือติดตั้งแบบ RPM ที่ http://repos.fedorapeople.org/repos/leigh123linux/cinnamon/

# OpenSUSE 12.1
ดูได้ที่ http://en.opensuse.org/openSUSE:GNOME_Cinnamon

ที่มา >> http://cinnamon.linuxmint.com/?page_id=61


เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็มาทำความรู้จักกันสักหน่อย...

เรื่องการใช้งานทั่วไปแทบจะไม่ต้องอธิบายอะไรมาก เชื่อว่าถ้าคุณใช้ Windows เป็นก็คงจะใช้ Cinnamon เป็นได้เหมือนกัน เพราะมันคล้ายกันมาก เพียงแต่ Cinnamon จะมีสิ่งที่เรียกว่า "Overview" เป็นไอคอนรูป Infinity (ในรูปตัวอย่างไม่มีเพราะถูกซ่อนอยู่) เมื่อคลิกแล้วก็จะปรากฏหน้าต่างที่เราเปิดไว้ เรียงกันให้เราเห็นและเข้าถึงง่ายๆ เราสามารถเรียก Overview ด้วยวิธีอื่นได้อีก โดยการขยับเมาส์ให้ชนมุมจอซ้ายบนสุด หรือกดคีย์ลัด "Ctrl+Alt+ขึ้น (หรือลง)"

แถบข้างล่างของจอนี้เรียกว่า Panel เทียบกับ Windows แล้วก็คือ Taskbar นี่เอง จะขออธิบายไปสีละส่วนตามลำดับ เริ่มจาก...
1. Menu
 ไว้รวมชื่อโปรแกรมและคำสั่ง ตรงนี้จะมีแบ่งหมวดหมู่ของโปรแกรมอย่างชัดเจน ให้เราเข้าถึงได้ง่ายๆ หรือทำให้ง่ายได้อีกโดยการพิมพ์ค้นหา ทั้งยังสามารถเพิ่มโปรแกรมที่เราชอบใช้ให้ไปอยู่แถบ Favorites ทางซ้ายได้
...การเพิ่มไอคอนไปที่ Favorite ให้คลิกขวาที่ชื่อโปรแกรมที่ต้องการ แล้วเลือก Add to Favorite (ตัวเลือกอื่นๆ อย่าง to Panel หรือ to Desktop ก็เป็นการเพิ่มไปที่แห่งนั้น) น่าเสียดายอย่างเดียวที่คลิกลากย้ายลำดับของ Favorite ยังไม่ได้ ...หวังว่าพออัพเดทใหม่แล้ว ถึงตอนนั้นก็คงจะทำได้
2. Panel Icons
 เทียบกับ Windows ก็เหมือน Quick Launch ดีๆ นี่เอง... ใช้งานเหมือนกันเป๊ะ เพียงแต่ไม่มีการซ่อนไอคอนไว้ในลูกศรเล็กๆ ...การเพิ่มไอคอนก็ให้ทำแบบเดียวกับ Favorite ครับ แต่เลือก "Add to Panel" แทน แล้วก็เช่นเคย ใน Panel นี้ก็ลากย้ายลำดับไม่ได้เช่นกัน

3. Window List

โชว์ชื่อหน้าต่างที่เราเปิดไว้ เมื่อคลิกขวาจะมีตัวเลือก 3 ตัวนั่นคือ Close, (Un)Maximize, (Un)Minimize
4. Notification
รวบรวมไอคอนของโปรแกรมต่างๆ ที่ทำงานเบื้องหลัง

5. Panel Applet
ไว้โชว์ของที่เกี่ยวกับระบบได้แก่ ภาษาของคีย์บอร์ด ตัวปรับเสียง การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต นาฬิกา และอื่นๆ เมื่อคลิกแล้วก็จะแสดงตัวเลือกเพิ่มเติมขึ้นมา
6. Workspaces Swicther
 
พูดง่ายๆ คือเป็นหน้าจอ "เสมือน" ที่ช่วยให้เราแบ่งๆ กันเปิดโปรแกรมได้ โดยที่ไม่ไปกระจุกอยู่แค่หน้าจอเดียว Workspace นี้จะเพิ่มหน้าว่างๆ มาใหม่โดยอัตโนมัติเสมอ เมื่อเราเปิดโปรแกรมบนหน้าว่างๆ นั้น และเมื่อปิดโปรแกรมจนหน้าจอกลับมาว่างอีก Workspace นั้นก็จะถูกลบหายไปเอง
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~

...ถ้าอยากปรับแต่ง Cinnamon ให้ลงตัวกับเรามากขึ้น นอกจากการย้ายไอคอนหรืออะไรต่างๆ แล้ว เราสามารถปรับแต่งธีม เอฟเฟค การจัดวางรูปแบบแถบ Panel และอื่นๆ ได้ผ่านทาง "Cinnamon Settings"
หมวด Panel - ไว้ตั้งค่าชื่อเมนู ตั้งค่าให้ซ่อนอัตโนมัติ และตั้งค่า Layout การจัดวางของแถบบาร์ มีให้เปลี่ยน 3 แบบ ได้แก่แถบเดี่ยวล่าง แถบเดี่ยวบน หรือแถบคู่
หมวด Calendar - ตั้งค่าปฏิทินและนาฬิกา (มีลิงค์เกี่ยวกับการใส่ Date Format ให้ดูด้วย http://www.foragoodstrftime.com/ )
หมวด Overview - ใช้ซ่อนหรือแสดงไอคอนมุมซ้ายบน และใช้เปิดหรือปิดการใช้งาน Hot Corner (คำสั่งแสดงหน้าต่างที่เราเปิดอยู่ทั้งหมดเป็นรูปเล็ก)
หมวด Themes - ใช้เปลี่ยนธีมของ Cinnamon เราสามารถเพิ่มธีมเองได้โดยใส่ไว้ใน ~/.themes (ซ่อนอยู่ใน Home Folder ของเรา กด Ctrl+H ก่อนจึงจะเห็น) หาโหลดธีมได้จากที่นี่ >> http://cinnamon-spices.linuxmint.com/themes
หมวด Effects - ปรับแต่งลูกเล่นของหน้าต่างโปรแกรมเรื่องการขยับเคลื่อนไหวต่างๆ เช่นหดเข้า หดออก เด้งดึ๋ง ฯลฯ (ที่เห็นนี้คือถูกปรับแต่งไปบ้างแล้ว)
หมวด Applets - เพิ่มหรือลดตัว Applet ที่อยู่ในแถบทางขวา
หมวด Extensions - เปิดหรือปิดการใช้งานส่วนเสริมของ Cinnamon ในกรณีที่มีติดตั้งไว้

ส่วนเรื่องการปรับแต่งไอคอน, ธีมของหน้าต่าง ให้ไปปรับที่ตัว Advanced Settings แทน วิธีปรับก็หาอ่านได้ที่ Entry ก่อนหน้านี้...
~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~


ท้ายนี้ก็ขอสรุปข้อดีข้อเสียโดยรวมของ Cinnamon เท่าที่เคยเจอมา
ข้อดี
- สวยงาม ใช้งานง่ายด้วยหน้าตาที่คล้ายกับ Windows
- เปลี่ยน Layout การจัดวางได้ 3 แบบ
- มีธีมให้เปลี่ยนอยู่พอสมควร และสามารถทำเองได้ง่ายกว่า DE อื่นๆ
- มีลูกเล่นเอฟเฟคในขณะใช้งาน ปรับแต่งได้

ข้อเสีย
- ยังคลิกลากย้ายลำดับของ Favorite กับ Panel ไม่ได้
- ไม่มีเมนูจัดเรียงหมวดหมู่โปรแกรมด้วยตนเอง
- Hot Corner อาจทำให้เรารำคาญได้ถ้าเมาส์เผลอไปโดนบ่อยๆ
- เวลาใช้ Skype หน้าต่างจะเด้งขึ้นมาเองเวลาข้อความเข้ามา รบกวนการใช้งานของเราเป็นอย่างมาก (แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการย้ายไป Workspace อื่น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...