วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

3.6 การจัดรูปแบบและตำแหน่งคำ

3.6 การจัดรูปแบบและตำแหน่งคำ

การจัดรูปแบบและตำแหน่งคำเป็นหนึ่งในสิ่งที่ภาษาไพธอนได้สร้างขึ้นมาเพื่อการจัดการแสดงผลทางจอภาพ ซึ่งทำให้การเขียนโปรแกรมเพื่อจัดข้อความได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมาก จะพบการใช้งาน ในการจัดทำสารบัญของโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด ที่กำหนดให้มีจุดนำและหมายเลขบรรทัดบอกหน้าของบทในแต่ละบทโดยให้มีการจัดตัวเลขชิดขวา เป็นต้น เมท็อดที่ใช้ในการจัดรูปแบบและตำแหน่ง ได้แก่  rjust() และ ljust() โดยมี       อาร์กิวเมนต์ดังนี้

                                                  rjust(width  [, fill])
                                                  ljust(width  [, fill])

                        rjust      หมายถึง  จัดชิดขวา
                        width    หมายถึง จำนวนความกว้าง
                        fill         หมายถึง  อักขระที่ต้องการใส่เข้าไป
                        ljust       หมายถึง  จัดชิดซ้าย
                ให้พิจารณาจากตัวอย่างคำสั่งในภาพที่ 3.20 

 >>> chapters = {1:5, 2:46, 3:52, 4:87, 5:90}
>>> for i in chapters :
                         print "Chapter  " + str(i) +\
         str(chapters[i]).rjust(30, '.')

    
Chapter  1.............................5
Chapter  2............................46
Chapter  3............................52
Chapter  4............................87
Chapter  5............................90
ภาพที่ 3.20   แสดงคำสั่งและผลลัพธ์การจัดรูปแบบและตำแหน่งคำ

8. การประมวลผลคำสั่งข้อความ
               จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของภาษาไพธอน ได้แก่ การสั่งให้ประมวลผลจากคำสั่งที่เป็นข้อความซึ่งภายในได้บรรจุคำสั่งเอาไว้  ด้วยการใช้ฟังก์ชัน  exec() โดยมีอาร์กิวเมนต์ดังนี้

                                     exec(str  [, globals [, locals]]) 

                                     globals      หมายถึง               ตัวแปรภายนอก
                                    locals         หมายถึง             ตัวแปรภายใน
                        ให้พิจารณาคำสั่งจากตัวอย่างในภาพที่ 3.21
 >>> teacher = ['Somchai', 'Somsak', 'Somkid', 'Sompong']
>>> codeStr = "for i in  teacher : \
print  'Teacher = ' +  i"
>>> areaStr = "pi * (radius*radius)"
>>> exec(codeStr)
Teacher = Somchai
Teacher = Somsak
Teacher = Somkid
Teacher = Sompong
>>> print "Area of circle = " + str(eval(areaStr, \
       {"pi" :3.14}, {"radius" : 10}))
Area of circle = 314.0
ภาพที่ 3.21  แสดงคำสั่งและผลลัพธ์การประมวลผลคำสั่งข้อความ
บทสรุป
                การจัดเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเชิงโครงสร้างข้อมูลที่เป็นจุดเด่นของภาษาไพธอน มีให้เลือกใช้หลายชนิดด้วยกัน เช่น ลิสต์ ทูเพิล และ ดิกชันนารี ทั้งสามลักษณะนี้ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆ แต่สามารถเก็บเอาไว้ในตัวแปรเพียงชื่อเดียว ดังนั้น จึงมีกระบวนการสร้างข้อมูล การเพิ่ม ลบข้อมูล ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำไปใช้งาน มีคำสั่งที่แตกต่างกัน ทั้งลิสต์ ทูเพิล และดิกชันนารี สิ่งที่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ การสร้างลิสต์ จะให้ข้อมูลอยู่ภายใต้เครื่องหมาย ‘[’ และ ‘]’ ลิสต์สามารถเพิ่ม ลบ แทรกข้อมูลได้ ในขณะที่การสร้างโครงสร้างแบบทูเพิล จะให้ข้อมูลอยู่ภายใต้เครื่องหมาย ( และ ) แต่ไม่สามารถเพิ่ม ลบ แทรกข้อมูลได้โดยตรง ต้องเปลี่ยนเป็นชนิดลิสต์ก่อนแล้วจึงเพิ่มข้อมูลเข้าไป จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นชนิดทูเพิลตามเดิม เนื่องจากทูเพิลไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ จึงทำงานได้เร็วกว่าประเภทลิสต์ การสร้างโครงสร้างแบบดิกชันนารีจะให้ข้อมูลอยู่ภายใต้เครื่องหมาย ‘{’ และ ‘}’ มีการเก็บข้อมูลเป็นคู่ ดังนั้นจึงเข้าถึงข้อมูลด้วยการระบุชื่อคีย์ โครงสร้างทุกรูปแบบจะกำหนดให้ข้อมูลแต่ละค่าถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย ‘,’  สุดท้ายในเรื่องการจัดการกับข้อความ มีกระบวนหลายอย่างที่จำเป็นต้องใช้ ได้แก่ การเปรียบข้อความ การเชื่อมคำ การแยกคำ การค้นหาคำ การค้นหาและแทนที่  การตัดคำ และการจัดตำแหน่งคำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...