วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

5.1 ชุดคำสั่งโปรแกรม วนซ้ำ

5.1 ชุดคำสั่งโปรแกรม

จากผังงานในภาพที่ 5.2 สามารถเขียนเป็นคำสั่งภาษาไพธอนได้ดังภาพที่ 5.3

ภาพที่ 5.3  แสดงชุดคำสั่งโปรแกรม

1.4 คำอธิบายโปรแกรม มีดังนี้

                        บรรทัดที่ 1 เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร n = 15 หมายถึงให้ a เก็บค่า 15 ในหน่วยความจำ เพื่อต้องการให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลทางแป้นพิมพ์จำนวน 15 ครั้ง
                        บรรทัดที่ 2 เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับผลลัพธ์จากการรวมกันจากการป้อนค่า 15 ครั้ง โดยกำหนดให้เริ่มต้นที่ 0.0 เพื่อให้ภาษาไพธอนทราบว่าตัวแปรเป็นจำนวนจริง
                        บรรทัดที่ 3 for i in range(n): เป็นคำสั่ง for loop ที่เริ่มต้นด้วย for และตามด้วย  ตัวแปร i สำหรับการเพิ่มค่า i ครั้งละ 1 จนกระทั่งถึง n รอบ โดยจะมีการตรวจสอบเงื่อนไข   ตัวแปร i อยู่ในค่าระหว่าง 1- n หรือไม่ ถ้าเป็นจริงให้ประมวลผลคำสั่งบรรทัดด้านล่างที่จัด   ย่อหน้าคำสั่งที่อยู่ภายในวยซ้ำ คือ บรรทัดที่ 4 และ 5 แต่ถ้าเป็นเท็จ จะข้ามไปประมวลผลคำสั่งบรรทัดที่ 6และ 7 การใช้ range(n) สามารถใช้เงื่อนไขเพิ่มเติมได้อีกเพื่อความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมดังนี้

                                      range(start, stop[,step]):

                        start      หมายถึง     ค่าเริ่มต้น
                        stop      หมายถึง     ค่าสุดท้าย
                        step       หมายถึง     ระยะห่างการเพิ่ม (เป็นตัวเลือก จะมีหรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่มีหมายถึง จะเพิ่มค่าครั้งละ 1)
                        ตัวอย่าง     range(10)                                  จะได้ [0, 1, 2, 3, …,9]
                                           range(1,101)                             จะได้  [1, 2, 3, …,100]
                                           range(1,50,2)                            จะได้      [1, 3, 5, 7, …,49]
                                           range(100,0,-10)                     จะได้  [100, 90, 80, …,0]

                        บรรทัดที่ 4 คำสั่งสำหรับรับค่าข้อมูลจากแป้นพิมพ์ที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา เก็บอยู่ใน  ตัวแปร number
                        บรรทัดที่ 5 คำสั่ง  total = total + number  เป็นคำสั่งเพื่อให้คำนวณค่า จากตัวแปร total + number  นำผลบวกที่ได้เก็บในตัวแปร total ความหมายของบรรทัดนี้ อธิบายอย่างละเอียดได้โดยสมมุติให้ ผู้ใช้ป้อนตัวเลข 10 เข้ามาจะเก็บค่า 10 ไว้ในตัวแปร number และ    ตัวแปร total เก็บค่า 0.0 ไว้ในตอนต้นในบรรทัดที่ 2 เพราะฉะนั้นจะได้ว่า 
                             total            = 0.0
                              number      = 10
                              total            =  0.0 + 10
                              total            = 10.0
                        บรรทัดที่ 6 คำสั่ง avg = total / n เป็นคำสั่งเพื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ย คำสั่งบรรทัดนี้จะประมวลผลก็ต่อเมื่อ โปรแกรมได้รับค่าจากแป้นพิมพ์ครบจำนวน 15 ครั้งแล้ว หรือกรณีเงื่อนไขตรวจสอบแล้วเป็นเท็จ ให้สังเกตการจัดการเยื้องจะอยู่ในระดับเดียวกับ for loop การประมวลผลโดยนำค่าที่เก็บอยู่ใน total หารด้วยค่า n แล้วนำผลลัพธ์ไปเก็บในตัวแปร avg                
                        บรรทัดที่ 7 เป็นคำสั่งให้แสดงผลออกทางจอภาพ และแสดงผลลัพธ์ avg ออกมา ในบรรทัดที่ 6 และ 7 จะประมวลผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
                        ในการประมวลผลแบบวนซ้ำตามตัวอย่างนั้น โปรแกรมจะประมวลผลซ้ำเพียง 3 บรรทัดเท่านั้น เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนจะได้อธิบายตามลำดับขั้นตอนดังนี้
                                      for  i  in  range(n):
                                                  number = input("กรุณาป้อนข้อมูลตัวเลข : ")
                                                  total = total + number

                        จากคำสั่ง 3 บรรทัด ด้านบน สมมุติให้ n = 15
                        for  i  in range(n): หมายถึง  i  เก็บค่า 0  อยู่ในช่วงของ n คือ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 -15  ใช่หรือไม่
                        number = input("กรุณาป้อนข้อมูลตัวเลข : ") 
ใช่   แสดงข้อความ กรุณาป้อนข้อมูลตัวเลข : 5  (สมมุติผู้ใช้ป้อน 5)
                        ตัวแปร  number เก็บค่า 5 เอาไว้
                        total = total + number หมายถึง คำสั่งเพื่อประมวลผลบวก สมมุติ total เก็บค่า 0.0 จะบวกด้วยตัวแปร number ที่เก็บค่า 5 เอาไว้ จะได้ผลลัพธ์ = 5.0 นำไปเก็บในตัวแปร total
                        กลับไปประมวลผลคำสั่งที่บรรทัดที่ 1 ใหม่โดยเพิ่ม i ไปอีก 1 เพราะฉะนั้น i จึงเป็น 1
                        ไปตรวจสอบกับค่าที่เก็บในตัวแปร n ถ้าจริงให้กระทำเช่นเดียวกับบรรทัดที่ 2  สมมุติ ผู้ใช้ป้อน 10
                        ดำเนินการเหมือนบรรทัดที่ 3 ซึ่งเดิม total เก็บค่า 5 เอาไว้ เมื่อนำมาบวกกับ 10 จึงได้เท่ากับ 15 แล้วเก็บในตัวแปร total
                        กลับไปดำเนินการที่ข้อ 1 อีกครั้ง โดยเพิ่ม  i  ไปอีก 1 จะได้ i เท่ากับ 2  ตรวจสอบ
เงื่อนไข เหมือนเดิม กระทำเหมือนเดิมแต่ผลการคำนวณเปลี่ยนไป
                ดำเนินการประมวลผลคำสั่ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่ง i เป็น 15 ซึ่งเป็นเท็จ ให้ออกจากการวนซ้ำ ไปประมวลผลในส่วนที่เป็นเท็จต่อไป

1.5  ผลลัพธ์ของโปรแกรม จากชุดคำสั่งของโปรแกรมในภาพที่ 5.3 เมื่อสั่งประมวลผลจะได้ผลลัพธ์ดังภาพที่ 5.4

ภาพที่ 5.4 แสดงผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรมหาค่าเฉลี่ยจำนวน 15 รายการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...