วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

6.5 การสร้างมอดูล python

6.5 การสร้างมอดูล 

การสร้างมอดูล

การสร้างมอดูลของตนเอง เป็นการสร้างฟังก์ชันหลาย ๆ ฟังก์ชัน ภายในฟังก์ชันอาจมีคลาส ตัวแปร แต่ไม่นิยมมีโปรแกรมหลักอยู่ภายในไฟล์นั้น แล้วบันทึกจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ไว้ในโฟลเดอร์ ภายใน  c:\Python2x\Lib  ในกรณีที่ระบบปฏิบัติการเป็น windows แต่สามารถจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์อื่น ๆ ได้ เพียงแต่จัดการให้ Python รู้แหล่งที่จัดเก็บ โดยการใช้คำสั่ง import sys;  sys.path.append(‘/usr/local/yourpath/’) เป็นต้น ทั้งนี้ Python จะค้นหาที่จัดเก็บของโปรแกรมต้นฉบับที่อยู่ภายใน  c:\Python2x ก่อน จากนั้นจะไปหาจากค่าตัวแปรภายใน PYTHONPATH  คำสั่งที่ใช้ค้นหา path ได้แก่ import sys แล้วใช้คำสั่ง sys.path   สำหรับคำสั่งกำหนดให้ path ของมอดูลจัดเก็บอยู่ที่ใดใช้คำสั่ง

                            set  PYTHONPATH=c:\Python2x\Lib;

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการสร้างมอดูล เพื่อหาเลขจำนวนเต็มตามทฤษฎีของ Fibonacci ดังภาพที่ 6.21


ภาพที่ 6.21 แสดงคำสั่งตัวอย่างการสร้างมอดูล


จากภาพที่ 6.21 เป็นตัวอย่างง่าย ๆ ที่นำเอาฟังก์ชันจำนวน 2 ฟังก์ชันเก็บไว้ในโปรแกรมเดียวกัน และบันทึกอยู่ในโฟลเดอร์ c:\Python2x\Lib เมื่อมีการเรียกใช้มอดูลนี้สามารถเรียกใช้ได้จาก python shell และเขียนคำสั่งจากหน้าต่างใหม่ก็ได้ ตัวอย่างคำสั่งการเรียกใช้มอดูลจาก python shell ดังภาพที่ 6.22

ภาพที่ 6.22  แสดงผลการเรียกใช้คำสั่งมอดูล


จากตัวอย่างการเรียกใช้มอดูล fibo ที่สร้างขึ้นมาด้วยตนเองนั้น จะมีลักษณะการเรียกใช้งานเหมือนกับมอดูลที่โปรแกรมสร้างมาให้ตั้งแต่การติดตั้ง ดังนั้นมอดูลจึงเปิดโอกาสให้ผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถสร้างคำสั่งเพิ่มขึ้นไปได้ตามต้องการ

บทสรุป

การสร้างฟังก์ชันเป็นการเขียนโปรแกรมย่อย ๆ ในโปรแกรมขนาดใหญ่ด้วยตนเอง เพื่อลดปัญหาการเขียนโปรแกรมที่ทำงานซ้ำ ๆ กันให้มีขนาดน้อยลง รูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การเขียนฟังก์ชันชนิดที่ต้องมีอาร์กิวเมนต์ มีอาร์กิวเมนต์ที่มีคีย์เวิร์ด  อาร์กิวเมนต์ที่มีค่าเริ่มต้น และกรณีที่มีอาร์กิวเมนต์ที่มีขนาดไม่แน่นอน ในการสร้างฟังก์ชันจะมีรูปแบบที่ชัดเจน ได้แก่ การกำหนดชื่อฟังก์ชันด้วยคำว่า def  และ ตามด้วยชื่อฟังก์ชัน และคำสั่งทั่วไปตามวัตถุประสงค์แต่ละฟังก์ชัน และการเรียกใช้ฟังก์ชัน จะมีการระบุชื่อฟังก์ชันและอาร์กิวเมนต์ ตามลำดับ ภายในโปรแกรมหลัก สำหรับขอบเขตของตัวแปรจะมีเงื่อนไขภายในฟังก์ชันและตัวแปรของโปรแกรมหลัก ถ้ากรณีที่มีชื่อซ้ำกันให้ระมัดระวังและทำ   ความเข้าใจในเรื่องตัวแปรโกลบอลและโลคอลให้แจ่มแจ้ง เพราะอาจทำให้ผลลัพธ์ออกมาผิดพลาดได้ สุดท้ายเป็นเรื่องมอดูล ซึ่งเป็นการนำเอาฟังก์ชันหลาย ๆ ฟังก์ชันมาเก็บอยู่ในไฟล์เดียวกัน รอการเรียกใช้จากโปรแกรมหลักด้วยการ import มอดูลเข้ามา มอดูลอาจจะเรียกจากโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ดังนั้นจะทำให้ฟังก์ชันมีความยืดหยุ่นในการใช้งานได้มากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...