วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

5 เครื่องมือแก้ปัญหาด้านเครือข่าย ที่เจ้าหน้าที่ไอทีควรมีติดตัวไว้ !!


5 เครื่องมือแก้ปัญหาด้านเครือข่าย ที่เจ้าหน้าที่ไอทีควรมีติดตัวไว้ !!

 

คนเป็นแอดมินเน็ตเวิร์ก ต้องเตรียมพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ปัญหาจิปาถะที่เกิดขึ้นได้ทั่วทั้งโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรทั้งหมด เช่น เวลาหนึ่งอาจต้องแก้ปัญหาการยืนยันตนของผู้ใช้เพื่อเข้าใช้งานเครือข่ายไร้สาย ขณะที่นาทีต่อมาต้องมาแก้ปัญหาการกระโดดไปมาของฮ็อปเพื่อนบ้านบน BGP
แม้ผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายทั้งหลายต่างยึดมั่นกับทูลพื้นฐานรากหญ้ามานานแสนนาน ไม่ว่าจะเป็น Ping, Traceroute, หรือ DNS Lookup ปัจจุบันก็ต้องยอมรับว่ามีการพัฒนาทูลไฮเทคมากขึ้น มาช่วยแก้ปัญหาให้ราบรื่นดีกว่าเดิม ทาง NetworkComputing.com ได้สรุปทูล 5 ประเภทชั้นสูงที่จะทำให้ชีวิตของเหล่าแอดมินสดใส ง่ายดาย มีเวลาไปเล่นฟิตเนสดำน้ำดูปะการังเรียนบัลเลต์เข้าคอร์สทำอาหารยามว่างได้มากขึ้น ดังนี้
1. Protocol Analyzer
เวลาที่ต้องสืบสวนหาสาเหตุเกี่ยวกับโฟลว์การไหลของข้อมูลลงลึกไปถึงระดับแพ็กเก็ตนั้น Protocol Analyzer ถือเป็นพระเอกขี่ม้าขาเลยทีเดียว โดยจะเป็นตัวดักตรวจและบันทึกพฤติกรรมแพ็กเก็ต ให้คุณรู้ว่าแพ็กเก็ตดังกล่าวรับส่งระหว่างไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์แบบไหนอย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าพีซีเครื่องหนึ่งมีการเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ช้ามาก คุณก็ใช้ Protocol Analyzer ตรวจดูปัญหาการสื่อสาร ความหน่วงที่เกิดขึ้น หรือปัญหาอื่นๆ ที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริงได้ เป็นต้น ทูลฟรีที่ทุกคนนิยมใช้กันเป็นยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ Wireshark ที่เอามาติดตั้งบนแล็ปท็อป แล้วเอาไปเชื่อมต่อกับสวิตช์บนเครือข่ายที่เปิดฟีเจอร์ Port Mirroring สะท้อนข้อมูลที่รับส่งก๊อปปี้มาเข้าแล็ปท็อปเพื่อรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ได้ หรือจะลงทุนซื้อ Protocol Analyzer ที่ดักเก็บข้อมูลได้ทั่วทั้งองค์กรก็จะได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นไปอีก
2. SNMP Monitoring Tools
โปรโตคอล SNMP เอาไว้ตรวจสอบสถานะอุปกรณ์บนเครือข่าย รวมทั้งอินเทอร์เฟซต่างๆ เช่น แจ้งเตือนถ้าพอร์ตหรืออุปกรณ์ไหนดาวน์ แอดมินจะได้วิ่งตรงไปยังต้นเหตุ ไม่ใช้วิ่งพล่านมั่วๆ ยืนจับสายแลนน้ำลายไหลยืดโดยไม่รู้ชะตากรรม นอกจากนี้ยังใช้ทำมาตรฐานประสิทธิภาพทราฟิกบนเครือข่ายไว้เทียบเคียงเวลาเกิดปัญหาได้ด้วย มีทูลจากหลายเจ้าที่ได้รับความนิยมไม่ว่าจะเป็น SolarWinds Network Performance Monitor, HPE Network Node Manager i (NNMi) , หรือ CA Spectrum
3. NetFlow Analytics
เป็นโปรโตคอลที่ซิสโก้เป็นผู้คิดค้น เพื่อจัดเก็บข้อมูลทราฟิกระดับไอพี เพื่อมาทำเป็นภาพการไหลของทราฟิกแบบ End-to-End ซึ่งมีอยู่บนเราเตอร์ระดับองค์กร และสวิตช์ระดับมัลติเลเยอร์เกือบทุกเครื่อง โดยตั้งค่าเพื่อส่งข้อมูล NetFlow มาให้ตัวรวบรวมและวิเคราะห์ได้อย่าง Pixer Scrutinizer หรือ SevOne NetFlow ด้วยทูลนี้ ทำให้คุณรู้ตัวการกินแรงชาวบ้านบนเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นแอพ, โฮสต์, หรือการเปลี่ยนแปลงบนเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว
4. Centralized Log Management
แน่นอนว่าการรวม log มาอยู่ที่เดียวกันจำเป็นอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์หาสาเหตุอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่การแจ้งเตือนเมื่อมี log สำคัญ ทูลที่แนะนำก็ได้แก่ Splunk และ Greylog
5. WiFi Analyzers
เมื่อองค์กรยุคใหม่ใช้เครือข่ายไร้สายมากขึ้น ก็ควรมีทูลตรวจจับประสิทธิภาพและความทั่วถึงของสัญญาณ เพื่อแก้ปัญหาจุดอับให้ตรงจุด ไม่ว่าจะเป็น Netscount AirMagnet หรือ Ekahau Spectrum Analyzer เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...