วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

Graphics Processing unit (GPU) คืออะไร

Graphics Processing unit (GPU) คืออะไร



GPU คืออะไร

Graphics Processing unit  (GPU) สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้คือ  visual processing unit  (VPU) ซึ่ง GPU มีได้ทั้งที่เป็น การ์ด หรือเป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดก็ได้แต่ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลส่วนใหญ่อยู่ ในรูปของการ์ด  หน้าที่หลักของ GPU ก็คือช่วยในการประมวลการทำงานในด้านภาพกราฟฟิกบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหลักการทำงานก็คล้ายกับ CPU แต่จะแตกต่างกันตรงที่ การ์ดแสดงผลสมัยเก่า ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสความนิยมของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้ เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GRAPHICS PROCESSING UNIT โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก

อย่าง ไรก็ตามวงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน, workstation(สถานีงานเป็นคำที่ใช้อธิบาย สมรรถนะอันยิ่งใหญ่ของไมโครคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทำงานพร้อมกันได้หลายงาน (multitasking) ส่วนมากจะใช้ในเรื่องของการออกแบบ (CAD) นั่นก็หมายถึงว่า สถานีงานนี้จะต้องมีหน่วยความจำขนาดใหญ่ มีหน่วยเก็บข้อมูลขนาดพิเศษ มีตัวปรับภาพชั้นยอด มีจอภาพชั้นหนึ่ง และที่สำคัญคือมีตัวประมวลผลที่ทำงานได้เร็วมาก ๆ เช่น RISC ส่วนใหญ่ สถานีงานจะใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) และ โอเอส/ทู (OS/2) มีบางแห่งที่ใช้เครื่องแมคอินทอชชนิดที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ๆ อย่างไรก็ตาม ในอีกความหมายหนึ่ง สถานีงานอาจหมายถึงเพียงไมโครคอมพิวเตอร์แต่ละตัวในระบบเครือข่าย), GAME CONSOLE เป็นต้น

สำหรับ ผู้ที่ต้องการความสามารถด้านภาพสามมิติประสิทธิภาพสูง เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหว ที่เป็นสามมิติที่สมจริง ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์ กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ เดิมการ์ดแสดงผลแบบสามมิติอยู่แยกกันคนละการ์ดกับการ์ดแบบสองมิติและต้องมี การต่อสายเชื่อมถึงกัน เช่น การ์ด Voodoo ของบริษัท 3dfx ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว
                  
 3dfx Voodoo 3
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.nodevice.com/driver/Voodoo_3/get29088.html  
=====================================================================================================================================

ประเภทของการ์ดแสดงผล


การ์ด แสดงผลในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้น มีการผลิตการ์ดเพื่องานเฉพาะด้านหลากหลายชนิด โดยการ์ดเหล่านี้จะมีชิปประมวลผลบนตัวการ์ด เพื่อจะช่วยให้งานประมวลผลทางด้านกราฟฟิก 3 มิติสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายของการ์ดแสดงผลในปัจจุบัน ทำให้ขอบเบตการใช้งานของมันไม่ได้เพียงใช้เล่นเกมส์ หรือใช้งานด้านเอกสารเช่นในอดีตที่ผ่านมา ความสามารถที่มีอยู่ในตัวเครื่องระดับ Workstation ที่ใช้ในงานด้านกราฟฟิกระดับสูงได้ถูกรวมเอาไว้ในการ์ดแสดงผลด้วย ทำให้ผู้ที่ต้องการใช้งานด้านกราฟฟิกสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้การ์ดแสดงผลสามารถแบ่งประเภทได้ตามลักษณะการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้



  1. ใช้ในการเอกสารทั่วไปและอินเตอร์เน็ต การใช้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านเอกสาร เช่น ชุดโปรแกรม Microsoft Office จัดเป็นงานที่ไม่เน้นการแสดงผลด้านกราฟฟิกสูงมาก ซึ่งสามารถใช้การ์ดแสดงผลระดับขั้นพื้นฐานทั่ว ๆ ไป ก็เพียงพอแล้วสำหรับงานประเภทนี้ ข้อสำคัญก็คือ การ์ดแสดงผลที่จะนำมาใช้กับงานด้านนี้ต้องสามารถรองรับความละเอียดสูงพอที่ จะดูรายละเอียดของงานด้านเอกสารได้อย่างทั่วถึงในหน้าจอเดียว ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเลื่อน Scrollbar บ่อย ๆ และมีความสามารถในการรองรับ Refresh Rate สูง ๆ ได้ คุณสมบัคิต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยถนอมสายตาของผู้ใช้งานเมื่อต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ
    ภาพหน้าต่างของโปรแกรมทำงานเอกสาร  Microsoft Office Word
  2. ใช้ ในงานกราฟฟิก 2 มิติ/ตัดต่อภาพวิดีโอ การ์ดแสดงผลประเภทนี้ใช้ในงานแสดงภาพเคลื่อนไหวประเภท 2 มิติ การตัดต่อวิดีโอ รวมทั้งงานด้านออกแบบตกแต่งภาพ 2 มิติ การ์ดประเภทนี้จะต้องมีความสามารถในการประมวลผลที่รวดเร็ว และสามารถรองรับการทำงานในโหมด 24 บิต (TrueColor) และสามารถปรับรายละเอียดของภาพได้ 1,024 x 768 เป็นอย่างต่ำ ส่วนงานด้านการตัดต่อวิดีโอต้องใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัติของ Video Capture จึงจะสามารถจับสัญญาณจากวิดีโอเข้ามายังคอมพิวเตอร์โดยผ่านช่องสัญญาณ AV บนตัวการ์ดได้
    ภาพหน้าต่างของโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas Pro
  3. ใช้ในงานออกแบบการฟฟิก 3 มิติ/เขียนแบบ CAD/CAM เหมาะสำหรับนักออกแบบกราฟฟิก 3 มิติ การใช้งานโปรแดรม 3D Studio หรือ AutoCAD จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเลือกใช้ Hardware ที่มีคุณสมบัติด้านภาพ 3 มิติอย่างครบครัน การ์ดสำหรับงานกราฟฟิก 3 มิตินี้จะไม่เหมือนกับการ์ด 3 มิติที่ใช้สำหรับการเล่นเกม 3 มิติตรงที่มันสามารถรองรับการทำงานของ OpenGl (โอเพนจีแอล OpenGL, เป็นตัวย่อของคำว่า Open Graphics Library) เป็นไลบรารีหรือคลังโปรแกรม(หรือชุดคำสั่ง)ด้านกราฟิกสามมิติ เพื่อส่งคำสั่งควบคุมการวาดภาพไปยังอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์การประมวลผลภาพ โอเพนจีแอลสามารถใช้ได้ใน หลายระบบคอมพิวเตอร์ ในการเขียนโปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ โดยในคลังโปรแกรมจะมีชุดคำสั่งมีมากกว่า 250 ช่วยในการสร้างวัตถุ แปลงวัตถุ และสร้างภาพโดยให้แสงและเงา โดยเริ่มจากการกำหนดรูปทรงพื้นฐาน เช่น สี่เหลี่ยมลูกบาศก์หรือทรงกลม โอเพนจีแอลเป็นที่นิยมมากในอุตสาหกรรมผลิตแอนิเมชันวีดีโอเกม โดยในขณะเดียวกันก็เป็นคู่แข่งทางการค้ากับไดเร็กท์ทรีดี (Direct3D) ของบริษัทไมโครซอฟท์) นอกจากการพัฒนาเพื่อวีดีโอเกม โอเพนจีแอลยังใช้ในทางด้านอื่นๆ รวมถึงการ การประมวลผลภาพ งานจำลองการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ และ การแสดงภาพจำลองในระบบสารสนเทศ รวม ไปถึงความคมชัดและถูกต้องของสีที่ได้จะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของการ์ดแต่ละรุ่น นอกจากนั้นการใช้งานด้านนี้ต้องการปริมาณของวิดีโอแรมมากกว่างานด้านอื่น ๆ จึงทำให้การ์ดบางรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงราคาอาจจะสูงถึงหลักแสนก็เป็นได้
    ขอบคุณภาพประกอบโปรแกรมทำงาน 3 มิติ www.facebook.com/MarsMars3d
  4. ใช้ เพื่อเล่นเกมส์ 3 มิติ การแสดงภาพของเกมส์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันล้วนแล้วเน้นไปทางด้านภาพกราฟฟิก 3 มิติกันมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติเฉพาะของการ์ดแสดงผลที่ช่วยเร่งความเร็วในการแสดงผล ของแต่ละฉากของเกมส์เพื่อให้แต่ละเฟรมลื่นไหลไม่เกิดอาการสะดุด ซึ่งการ์ดแสดงผลที่นิยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบัน ได้แก่ การ์ดตระกูล GeForce ซึ่งมีจุดเด่นในด้านความเร็วและการสนับสนุนทางด้าน Driver ที่ดีจึงสามารถรองรับการทำงานของเกมส์ได้แทบจะทั้งหมด ตัวอย่างรูปภาพของการ์ดแสดงผล

=====================================================================================================================================

โครงสร้างการทำงานของ GPU และ ประเภทของ ชิปกราฟฟิก (Graphics Processor)


โครงสร้างการทำงานของการ์ดแสดงผล

การ์ด แสดงผลมีหน้าที่หลักในการรับข้อมูลดิจิตอลมาแปลงเป็นสัญญาณอะนาล็อก เพื่อส่งออกไปแสดงผลยังหน้าจอ ซึ่งสามารถแบ่งการทำงานของการ์ดแสดงผลออกเป็น 2 โหมดคือ โหมดตัวอักษร (Text Mode) โหมด การแสดงผลที่สามารถแสดงได้ เฉพาะข้อความที่เป็นตัวอักษรบนจอภาพ ไม่สามารถแสดงรูปภาพกราฟฟืกต่าง ๆ ได้ หน่วยย่อยที่สุดบนจอภาพในโหมดนี้ คือ ตัวอักษร    เช่น การทำงานในระบบ DOS และ โหมดกราฟฟิก (Graphic Mode) ลักษณะการทำงานแบบกราฟฟิก ในคอมพิวเตอร์ PC ของ IBM ได้แก่ ได้แก่การทำงานที่แสดงออกมาเป็นภาพ เส้นและตัวอักษรบนจอภาพ graphic mode สร้างภาพโดยวิธีใช้จุด pixel แต่ละจุดมาต่อเรียงกันเพื่อสร้างเป็นภาพ เป็นโหมดที่ต้องการความละเอียดในการแสดงผลสูงดังจะเห็นได้จากโหมดการทำงาน ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน บนตัวการ์ดแสดงผลจะมีส่วนประกอบพื้นฐานดังรูป
ส่วนประกอบพื้นฐานบนตัวการ์ดแสดงผล


ชิฟกราฟฟิก (Graphics Processor)
ชิ ฟกราฟฟิกเป็นส่วนกระกอบชิ้นสำคัญบนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันมีหน้าที่ในการ ประมวลผลข้อมูลภาพก่อนที่จะส่งไปแสดงผลยังจอมอนิเตรอ์ ชิฟกราฟฟิกจึงเทียบเท่ากับสมองของการ์ดแสดงผล ซึ่งภาพแต่ละเฟรมที่เราเห็นผ่านจอมอนิเตอร์นั้นล้วนแล้วแต่ต้องผ่านการทำงาน ของชิฟกราฟฟิกเกือบทั้งหมด โดยทั่วไปสามารถแบ่งชิฟกราฟฟิกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

  1. Frame Buffer เป็นชิฟที่มีการทำงานซับซ้อนน้อยที่สุด เนื่องจากมีหน้าที่เพียงแค่จัดการภาพแต่ละเฟรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำบน การ์ด และส่งข้อมูลไปยังตัวแปลงสัญญาณดิจิตอบให้เป็น อะนาล็อก (RAMDAC) เพื่อส่งไปแสดงผลยังหน้าจอมินิเตอร์ ชิฟประเภทนี้ไม่ได้มีหน้าที่ช่วย CPU ประมวลผลในการสร้างภาพกราฟฟิก จึงทำให้การประมวลผลด้านกราฟฟิกอยู่ที่ตัว CPU ตัวเดียวเท่านั้นส่งผลให้ CPU ทำงานมากขึ้น
  2. Graphics Accelerator เป็นชิฟที่ช่วยเร่งความเร็วให้กับการแสดงผล โดยมีหน้าที่หลักก็คือ รับคำสั่งจาก CPU มาทำงานเฉพาะด้าน เช่น การสร้างกรอบ การตีเส้น ซึ่งภายในชิฟจะมีชุดคำสั่งเก็บไว้ใช้สำหรับงานที่ต้องการแสงผลบ่อย ๆ และ CPU จะทำหน้าที่ตัดสินใจว่าจะให้ชิฟกราฟฟิกเป็นตัวประมวลผล หรือว่าจะทำการประมวลผลเอง ถึงแม้ว่าชิฟตัวนี้จะช่วยลดภาระการทำงานของCPUได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็มีข้อเสียคือ ชิฟยังคงต้องมีการติดต่อกับ CPU ทุกครั้งที่จะทำการแสดงผล ประสิทธิภาพความเร็วของชิฟกราฟฟิกประเภทนี้จึงยังไม่สามารถรองรับงานกราฟฟิกหนัก ๆ ได้ดีเท่ากับชิฟประเภท Graphics Co-Processor
  3. Graphics Co-Processor หรือที่เรียกว่า GPU (Graphics Processing Unit) เป็นชิฟที่มีความสามารถในการจัดการประมวลผลงานทุกอย่างที่เกี่ยวกับการแสดง ผลได้อย่างเสร็จสรรพ รวมไปถึงการประมวลผลกราฟฟิก 3 มิติที่ต้องมีการคำนวณเลขทศนิยมที่มีความละเอียดสูงมาก ๆ โดยไม่ต้องพึ่งการทำงานของ CPU ทำให้ CPU รับภาระด้านการประมวลผลน้อยลง ตัวอย่างรูปภาพ GPU ที่ผลิตโดย NVIDIA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...