CMS, Library, Framework, API คืออะไร..ต่างกันยังไง ?
– CMS (Content Management System)
คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้จัดการข้อมูลต่างๆได้สะดวกยิ่งขึ้น
โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการเขียนโปรแกรม ตัวอย่าง CMS
ที่นิยมก็เช่น WordPress, Joomla, Drupal ทั้งนี้เราสามารถที่จะเขียน
plugin เพื่อเพิ่มส่วนต่างๆที่ต้องใช้เข้าไปเองได้ แต่ต้องทำผ่าน framework
ของ CMS นั้นๆ
– Library คือ function หรือ class ที่เขียนไว้ให้สามารถทำงานได้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น PHPMailler, ADOdb, FFMPEG, GD Library โดยเราต้องเรียก function หรือ class นั้นๆ มาใช้ในโปรแกรมของเรา
– Framework คือ กรอบที่เราใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งจะประกอบไปด้วย function หรือ class หลายๆตัว เราจำเป็นที่จะต้องเขียนโปรแกรมให้อยู่ในกรอบของ framework นั้นๆ จะเขียนแบบตามใจตัวเองไม่ได้ เช่นถ้าจะสร้างหน้าที่ใช้แสดงผลข้อมูลเราจะ query ข้อมูลและนำมาแสดงผลตรงๆไม่ได้ จะต้อง query ใน model และนำมาแสดงผลใน view เท่านั้น (framework หลายตัวสั่ง query และแสดงผลใน controller ได้เลย แต่นั้นไม่ควร) ตัวอย่างของ framework ก็ได้แก่ CodeIgniter, CakePHP, Zend, symfony
– API (Application Programing Interface) คือ วิธีเรียกใช้งานหรือติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรมของเรา กับโปรแกรมปลายทาง อาจจะอยู่ในเครื่องเดียวกัน หรือคนละเครื่องก็ได้ ตัวอย่างเช่น เราต้องเขียนโปรแกรมชุดหนึ่งเพื่อทำการส่งค่าไปยังโปรแกรมอีกชุดหนึ่งเพื่อ การประมวลผลบางอย่าง
– Library คือ function หรือ class ที่เขียนไว้ให้สามารถทำงานได้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น PHPMailler, ADOdb, FFMPEG, GD Library โดยเราต้องเรียก function หรือ class นั้นๆ มาใช้ในโปรแกรมของเรา
– Framework คือ กรอบที่เราใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งจะประกอบไปด้วย function หรือ class หลายๆตัว เราจำเป็นที่จะต้องเขียนโปรแกรมให้อยู่ในกรอบของ framework นั้นๆ จะเขียนแบบตามใจตัวเองไม่ได้ เช่นถ้าจะสร้างหน้าที่ใช้แสดงผลข้อมูลเราจะ query ข้อมูลและนำมาแสดงผลตรงๆไม่ได้ จะต้อง query ใน model และนำมาแสดงผลใน view เท่านั้น (framework หลายตัวสั่ง query และแสดงผลใน controller ได้เลย แต่นั้นไม่ควร) ตัวอย่างของ framework ก็ได้แก่ CodeIgniter, CakePHP, Zend, symfony
– API (Application Programing Interface) คือ วิธีเรียกใช้งานหรือติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรมของเรา กับโปรแกรมปลายทาง อาจจะอยู่ในเครื่องเดียวกัน หรือคนละเครื่องก็ได้ ตัวอย่างเช่น เราต้องเขียนโปรแกรมชุดหนึ่งเพื่อทำการส่งค่าไปยังโปรแกรมอีกชุดหนึ่งเพื่อ การประมวลผลบางอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น