ภาวะเชื่อมต่อฐานข้อมูลของจาวา หรือ เจดีบีซี (อังกฤษ: Java Database Connectivity: JDBC) เป็นส่วนต่อประสานสำหรับภาษาจาวาที่ใช้กำหนดการเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้รับบริการ โดยมีเมท็อดสำหรับสอบถามและปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งจะมุ่งไปที่ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
Java Standard Edition จะมี JDBC เป็นส่วนหนึ่งมาตั้งแต่เผยแพร่ JDK 1.1 คลาสต่างๆของ JDBC จะบรรจุไว้ใน java.sql
JDBC คือ API (Application Programming Interface) หรือ library
ในจาวาที่ใช้สำหรับติดต่อกับฐานข้อมูลที่เป็นแบบ relational อย่างเช่น MS
SQL, Oracle, MySQL, DB2, Informix เป็นต้น JDBC จะช่วยให้เราสามารถเพิ่ม
แก้ไข ลบ
หรือเรียกดูข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลจากโปรแกรมจาวาที่เราเขียนขึ้นได้
สังเกตว่า JDBC จะเป็น API ที่ช่วยให้เราสามารถใช้งานฐานข้อมูลแบบ
relational ได้ โดยลักษณะการเพิ่ม แก้ไข ลบ
หรือเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลนั้นจะมีแนวคิดเป็นแบบ relational
ด้วยเช่นกัน คือมองข้อมูลเป็น แถวและตาราง
จะเห็นว่าแนวคิดแบบนี้จะไม่เหมือนกับแนวคิดที่เราใช้ในการเขียนโปรแกรมเชิง
วัตถุที่เรามองข้อมูลหรือสิ่งต่าง ๆ เป็นวัตถุ
นี่ทำให้เกิดความแตกต่างในแนวคิดของการมองข้อมูล JDBC ยังมองข้อมูลเป็น
ตารางและแถว ในขณะที่โปรแกรมจาวาจัดการข้อมูลเป็นแบบวัตถุ
ด้วยเหตุนี้เอง
จึงมีความพยายามที่จะลดความแตกต่างของแนวคิดที่ใช้ในการมองข้อมูล
แทนที่เราจะใช้ JDBC ในการติดต่อกับฐานข้อมูลโดยตรง เราก็ใช้ software
ที่ทำหน้าที่เป็น object-relational mapping
คือเปลี่ยนข้อมูลจากที่อยู่ในรูปของ ตารางและแถวให้อยู่ในรูปของวัตถุ
เวลาเราใช้งานฐานข้อมูลแบบ relational
เราก็ไม่จำเป็นต้องมองข้อมูลเป็นแบบตารางและแถวอีกต่อไป
เราสามารถมองข้อมูลและจัดการข้อมูลเหล่านั้นในรูปของ objects ได้เลย
ทำให้สะดวกในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุมากขึ้น object-relational mapping
ที่หลายคนนิยมใช้กันก็คือ Hibernate Hibernate
จะทำหน้าที่ติดต่อกับฐานข้อมูลที่เป็นแบบ relational
แล้วเปลี่ยนข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปของ objects
ที่โปรแกรมของเราสามารถนำไปใช้ได้ง่าย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Set MongoDB in the windows path environment
Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...
-
ปกติแล้วเมื่อเราประกาศตัวแปร Type ที่เป็นตัวเลขมา เราก็มักจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรนั้นอยู่บ้าง โดยการคำนวณร่วมกับค่าเดิมที่ตัว...
-
เรียนรู้การใช้ภาษา Lua บทความนี้กล่าวถึง ภาษา Lua ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ และเรียนรู้การเขียนโค้ดในภาษานี้ โดยอาศัยโค้ดตัวอย่าง ผู้อ่าน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น