SAN STORAGE คืออะไร
04ก.ค.
สำหรับใครที่อยู่ในองค์กรและกำลังศึกษาระบบ VMware หรือ CCTV ก็คงจะต้องได้ยินคำว่า SAN Storage บ่อยๆ วันนี้ทีมงาน Storage Whale จะมาเจาะลึกให้ว่า SAN Storage คืออะไร เอาไว้ทำอะไร และเลือกยังไงดี
1. ภาพรวมของ SAN STORAGE
ปัญหาปกติของการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญมากๆ คือปัญหาทางด้านความเร็ว และความทนทานของข้อมูล เนื่องจาก Hard Disk ทั่วๆ ไป นอกจากจะมีความเร็วไม่เพียงพอต่อการใช้งานระดับ Enterprise, Database และ Video Editing แล้ว ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของ Hard Disk เสียหาย ก็อาจทำให้ข้อมูลทั้งหมดสูญหายไปได้ทันที ดังนั้นเทคโนโลยีการทำ RAID จึงถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถใช้ Hard Disk หลายลูกพร้อมๆ กันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบจัดกเก็บข้อมูล และเพิ่มความทนทานไปในเวลาเดียวกัน
โดยทั่วไปแล้ว ถ้าหากระบบที่ใช้เป็นระบบขนาดเล็ก เราก็อาจนำ Hard Disk หลายๆ ลูกมาติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว แล้วทำ RAID เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความทนทาน แต่สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการทั้งความเร็วของระบบจัดเก็บข้อมูล และความทนทานระดับสูง ก็จะต้องหันมาใช้ SAN Storage เพื่อทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลสำคัญขององค์กรโดยเฉพาะแทน
2. หน้าตาของ SAN STORAGE
SAN Storage จะมีขนาดเริ่มต้นตั้งแต่ 12 Drives จนถึงหลายพัน Drives และมักจะถูกออกแบบมาสำหรับติดตั้งบนตู้ Rack โดยสามารถใช้เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงๆ ได้โดยตรง หรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ Server เพื่อให้บริการงานที่สำคัญๆ ต่างๆ มากมาย
3. การติดตั้ง SAN STORAGE
การติดตั้ง SAN Storage นี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้นจาก NAS Storage ตั้งแต่การปรับปรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมต่อกับ SAN Storage ได้ รวมถึงการตั้งค่าต่างๆ มากมาย ดังนั้นโดยทั่วไปการลงทุน SAN Storage ทางผู้ขายระบบมักจะมีบริการติดตั้งให้ถึงที่ด้วย
4. ความสามารถของ SAN STORAGE
SAN Storage จะเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูล และการรักษาข้อมูลให้มีความทนทานสูงยิ่งขึ้น ดังนี้
- ทำ RAID ได้หลายระดับ เช่น RAID 0, 1, 3, 5, 6, 10, 30, 50, 60 และ Spare Drive เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นต่อการใช้งานหลายรูปแบบ
- ปรับขนาด Cache ของ Storage เพื่อเพิ่มความเร็วของการเข้าถึงได้
- มี Interface ให้เลือกระหว่าง Fibre Channel ความเร็ว 8Gbps สำหรับระบบที่ต้องการความเร็วสูง และ iSCSI ความเร็ว 1GbE สำหรับระบบที่ต้องการความเร็วน้อยลง หรือใช้ iSCSI ความเร็ว 10GbE เพื่อให้เร็วใกล้เคียงกับ Fibre Channel ก็ได้
- มีความสามารถในการรักษาข้อมูลระดับลึก เช่น การทำ Snapshot, Volume Copy, Volume Mirror หรือแม้แต่การรักษาข้อมูลข้ามสาขาด้วย Remote Replication
ทั้งนี้การเลือกใช้ SAN Storage ควรจะเลือกให้เหมาะสมต่องานที่ใช้ ทั้งในแง่ของความสามารถ, ประสิทธิภาพ และราคาที่ต้องการ
5. ประเภทงานที่เหมาะสมกับ SAN STORAGE
ตัวอย่างงานที่เหมาะสมกับการใช้ SAN Storage มีดังต่อไปนี้
- งานจัดเก็บฐานข้อมูล Database
- งานศูนย์ข้อมูลเสมือน Virtualization / Cloud Data Center
- งานสำรองข้อมูลเอกสาร, รูปภาพ, เสียง, วิดีโอ สำหรับ Studio ตัดต่อ
- งานศูนย์ข้อมูลสำรอง Disaster Recovery Data Center
- งานตัดต่อวิดีโอ Video Editing
- งานจัดเก็บข้อมูลกล้องวงจรปิด CCTV Camera
- งานจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่
- งานประมวลผลประสิทธิภาพสูง High Performance Computing
ที่มา: www.storagewhale.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น