วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

ติดตั้ง ubuntu 10.04 server บน software raid 1

ติดตั้ง ubuntu 10.04 server บน software raid 1 


สภาพแวดล้อมตัวอย่างการติดตั้งของตัวอย่างนี้ 

  • เป็น RAID ราคาประหยัด ไม่ต้องใช้ hardware RAID controller เป็นแบบ software raid ใช้กับ hard disk บน PC ทั่วไปได้
  • เป็น ubuntu รุ่น server เวอร์ชั่น  8.04.4
  • ติดตั้งบน hard disk ทั้งลูก ซึ่งจะทำลายข้อมูลเก่าที่มีอยู่เดิม
  • ใช้ hard disk ชนิด SATA ขนาด 120 GB จำนวน 2 ลูก
  • จัดทำเป็นแบบ software raid 1 (mirroing) ให้มีพื้นที่สำหรับ /  ขนาด 10 GB และพื่นที่สำหรับ swap ขนาด 1 GB

  1. ให้ scan memory ว่ายังคงอยู้ในสภาพดี ตามคำแนะนำใน  การ scan memory ด้วย sysresccd
  2. ให้ scan hard disk ว่ายังคงอยู่ในสภาพดี ตามคำแนะนำในเวบ การ scan hard disk ด้วย sysresccd
  3. ลบ partition ใน hard disk ทั้งหมด ตามคำแนะนำในเวบ ใช้ fdisk ด้วย sysresccd 
  4. บูท PC ด้วยแผ่นซีดี ubuntu ที่เตรียมไว้ต้นฉบับจาก http://ftp.psu.ac.th/pub/releases/8.04/ubuntu-8.04.4-server-i386.iso
  5. ได้หน้าต่าง Language ให้เลือก English เหมือนเดิม
    ได้หน้าต่าง ubuntu ให้เลือก Install Ubuntu server

    ระบบจะทำงานต่อ ให้รอจนได้หน้าต่างว่า Choose language
    ที่หัวข้อ "Choose a language:" ให้คงค่าเดิมคือ English แล้วกดแป้น Enter
    ที่หัวข้อ "Choose a country, territory or area:" ให้เปลี่ยนไปเลือกเป็น other แล้วกดแป้น Enter
    ได้หน้าต่างใหม่ที่หัวข้อ "Choose a country, territory or area:" ให้เปลี่ยนเลื่อนไปหา -- Asia -- เลือก Thailand แล้วกดแป้น Enter

    ได้หน้าต่างว่า "Ubuntu installer menu" แสดงออกมา
    ที่หัวข้อ "Detect keyboard layout?" ให้เลือกเปลี่ยนเป็น   แล้วกดแป้น Enter
    ที่หัวข้อ "The origin of the keyboard:" ให้เลือกเปลี่ยนเป็น Thailand แล้วกดแป้น Enter
    ที่หัวข้อ "Keyboard layout:" ให้คงค่าเดิมคือ Thailand แล้วกดแป้น Enter
    ที่หัวข้อ "Method for toggling betwenn national and Latin mode:" ให้คงค่าเดิมคือ Alt+Shift ไว้เหมือนเดิม แล้วกดแป้น Enter 

    ระบบจะทำงานต่อไปเรื่อยๆ 
    หากได้หน้าจอเตือนว่า "Network autoconfiguration failed"  ไม่ต้องทำอะไรให้กดแป้น Enter ได้เลย
    จะ ได้หน้าต่างที่หัวข้อให้ "Network configuration method:" ให้เลือกเปลี่ยนเป็น "Do not configure the network at this time" แล้วกดแป้น Enter
    ที่หัวข้อ "Hostname:" ให้เปลี่ยนชื่อโฮสต์ตามใจชอบ แล้วกดแป้น Enter

    ได้หน้าต่าง "Partitioning method:"  ให้เลือก "Manual" แล้วกดแป้น Enter
  6. (ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นการสร้าง partition บน hard disk sda แบบ raid ขนาด 10 GB เพื่อเตรียมใช้เป็น software raid 1 สำหรับพื้นที่ /)
    ได้หัวข้อ "Partition disks"  ให้เลือกพืนที่ของ  hard disk ชื่อ sda 
    โดยไปเลือกบรรทัดข้อความตัวอย่างว่า "pri/log 120.0 GB FREE SPACE"  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "How to use this free space:" ให้เลือก "Create a new partition" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "New partition size:" ตัวอย่างนี้ให้ป้อนว่า 10.0 GB  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Type for the new partition:"  ให้เลือก "Primary" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Location for the new partition:" ให้เลือก "Beginning" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Partition settings:"  ให้เลื่อนไปเลือกบรรทัดว่า "Use as:"  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "How to use this partition:" ให้เปลี่ยนไปเลือกเป็นบรรทัดว่า "physical volume for RAID"  แล้วกดแป้น Enter
    กลับมาได้หัวข้อ "Partition settings:" ให้เลือกไปเลือกบรรทัดว่า "Bootable flag:" แล้วกดแป้น Enter จะได้ค่าเปลี่ยนเป็นว่า "on"
    ต่อไปให้เลื่อนไปเลือกบรรทัดว่า "Done setting up the partition" แล้วกดแป้น Enter
    กลับมาได้หัวข้อ "Partition disks"  จะได้บรรทัดเพิ่มขึ้นตัวอย่างว่า "#1 primary 10.0 GB B K raid"
  7. (ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นการสร้าง partition บน hard disk sda แบบ raid ขนาด 1 GB เพื่อเตรียมใช้เป็น software raid 1 สำหรับพื้นที่ swap)
    ยังคงให้เลือกพืนที่ของ  hard disk ชื่อ sda แล้วเลือกบรรทัดข้อความตัวอย่างว่า "pri/log 110.0 GB ที่ว่าง  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "How to use this free space:" ให้เลือก "Create a new partition" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "New partition size:" ตัวอย่างนี้ให้ป้อนว่า 1.0 GB  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Type for the new partition:"  ให้เลือก "Primary" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Location for the new partition:" ให้เลือก ""Beginning แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "How to use this partition:" ให้เปลี่ยนไปเลือกเป็นบรรทัดว่า "physical volume for RAID"  แล้วกดแป้น Enter
    กลับมาได้หัวข้อ "Partition settings:" ปล่อยให้ "Bootable flag:" เป็น "off" เหมือนเดิม
    ให้เลื่อนไปเลือกบรรทัดว่า "Done setting up the partition" แล้วกดแป้น Enter
    กลับมาได้หัวข้อ "Partition disks"  จะได้บรรทัดเพิ่มขึ้นตัวอย่างว่า "#2 primar 1.0 GB   K raid"
  8. ถึงตอนนี้การสร้าง partition บน hard disk sda เพื่อเตรียมใช้เป็น software raid 1 สำหรับพื้นที่ / และ swap สำเร็จแล้ว
    ต่อไปต้องสร้าง partition บน hard disk sdb เพื่อเตรียมใช้เป็น software raid 1 สำหรับพื้นที่ / และ swap ด้วย
    ให้ใช้วิธีการทำนองเดียวกันกับการสร้างบน sda  เพียงแต่เปลี่ยนการค่าจาก sda ให้เป็น sdb เท่านั้น
    หลังจาก hard disk ทั้ง sda และ sdb สำเร็จทั้ง 2 ลูก จะกลับมาได้หัวข้อ "แบ่งพาร์ทิชั่นในดิสก์"
      
  9. (ขั้นตอนต่อไปเป็นการสร้าง partition แบบ software raid 1 เตรียมไว้สำหรับพื้นที่ / )
    ให้เลื่อนขึ้นไปเลือกบรรทัดบนสุดว่า "Configure software RAID"  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Write the changes to the storage devices and configure RAID"  ให้เลื่อนไปเลือกว่า ""  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Multidisk configuration action"  ให้เลือก "Create MD device" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Multidisk device type:" ให้เลื่อนไปเลือก "RAID1" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Number of active devices for the RAID1 array:" ปล่อยให้เป็นค่า 2 เหมือนเดิม  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Number of spare devices for the  RAID1 array:" ปล่อยให้เป็นค่า 0 เหมือนเดิม  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Active devices for the RAID1 multidisk device:" ให้เลือก /dev/sda1 และ /dev/sdb1 
    โดยไปที่ /dev/sda1 ให้กดแป้น space แล้วไปที่ /dev/sdb1 ให้กดแป้น space 
    จะมีอักษร * เพิ่มขึ้นข้างหน้าบรรทัดที่ถูกเลือก เสร็จแล้วกดแป้น Enter
    กลับมาได้หัวข้อ "Multidisk configuration action"
  10. (ขั้นตอนต่อไปเป็นการสร้าง partition แบบ software raid 1 เตรียมไว้สำหรับพื้นที่ swap )
    ให้เลือก "Create MD device" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ Multidisk device type:" ให้เลื่อนไปเลือก "RAID1" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Number of active devices for the RAID1 array:" ปล่อยให้เป็นค่า 2 เหมือนเดิม  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Number of spare devices for the  RAID1 array:" ปล่อยให้เป็นค่า 0 เหมือนเดิม  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Active devices for the RAID1 multidisk device:" ให้เลือก /dev/sda2 และ /dev/sdb2
    โดยไปที่ /dev/sda2 ให้กดแป้น space แล้วไปที่ /dev/sdb2 ให้กดแป้น space 
    จะมีอักษร * เพิ่มขึ้นข้างหน้าบรรทัดที่ถูกเลือก เสร็จแล้วกดแป้น Enter
    กลับมาได้หัวข้อ  "Multidisk configuration action"  ให้เลือก "Finish"
    จะกลับมาได้หัวข้อ "Partition disks" อีกครั้ง 
  11. (ขั้นตอนต่อไปเป็นการกำหนดพื้นที่บน software raid 1 ให้เป็นพื้นที่ /)
    ให้ด้านล่างของ RAID1 ขื่อ device #0  ไปเลือกบรรทัดข้อความตัวอย่างว่า "#1 10.0 GB"  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Partition settings:"  ให้เลื่อนไปเลือกบรรทัดว่า "Use as:"  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "How to use this partition:" ให้เปลี่ยนไปเลือกเป็นบรรทัดว่า "Ext3 journaling file system"  แล้วกดแป้น Enter
    กลับ มาได้หัวข้อ "Partition settings:" ให้เลือกไปเลือกบรรทัดว่า "Format the partition:"  แล้วกดแป้น Enter จะได้ค่าเปลี่ยนเป็น  yes, format it
    ต่อไปให้ไปเลือกบรรทัดว่า "Mount point:"  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Mount point for this partition:" ให้เลือกบรรทัดว่า "/ - the root file system" แล้วกดแป้น Enter
    กลับมาได้หัวข้อ "Partition settings:" ให้เลื่อนไปเลือกบรรทัดว่า "Done setting up the partition" แล้วกดแป้น Enter
    กลับมาได้หัวข้อ "Partition disks"  จะได้บรรทัดเปลี่ยนแปลงตามตัวอย่างว่า "#1 10.0 GB f ext3   /"
  12. (ขั้นตอนต่อไปเป็นการกำหนดพื้นที่บน software raid 1 ให้เป็นพื้นที่ swap)
    ให้ด้านล่างของ RAID1 ขื่อ device #1  ไปเลือกบรรทัดข้อความตัวอย่างว่า "#1 1.0 GB"  แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Partition settings:" ให้เลื่อนไปเลือกบรรทัดว่า"Use as:" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "How to use this partition:" ให้เปลี่ยนไปเลือกเป็นบรรทัดว่า "swap area"  แล้วกดแป้น Enter
    กลับมาได้หัวข้อ "Partition settings:" ให้เลื่อนไปเลือกบรรทัดว่า "Done setting up the partition" แล้วกดแป้น Enter
    กลับมาได้หัวข้อ "Partition disks"  จะได้บรรทัดเปลี่ยนแปลงตามตัวอย่างว่า "#1 10.0 GB f swap  swap"

  13. ที่หัวข้อ "Partition disks" ให้เลื่อนไปเลือกหัวข้อล่างสุดว่า "Finish paritioning and write changes to disk" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Write the changes to disk:" ให้เลือก ""  แล้วกดแป้น Enter
    หากได้คำเตือนเกี่ยวกับการจัดการอุปกรณ์ /dev/md/0 และ /dev/md/1  ไม่ต้องทำอะไร ให้กดแป้น Enter ต่อไป
  14. ระบบจะทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งก็จะเหมือนๆกับการติดตั้ง ubuntu server ทั่วไป ดูตามคำแนะนำใน ติดตั้ง ubuntu server
  15. หลังจากติดตั้งสำเร็จแล้ว ให้ login เข้าไป  อ่านค่าสถานะของ software raid 
    ด้วยคำสั่ง  sudo  mdadm --detail /dev/md0  และ sudo mdadm  --detail /dev/md1
    ตัวอย่างผลข้อความที่แสดงออกมา
       Update Time : Thu Apr  9 10:07:20 2009
           State : active
    ....
        Number   Major   Minor   RaidDevice State
           0       8       17        0      active sync   /dev/sdb1
           1       8        1        1      active sync   /dev/sda1
    แสดงว่าอยู่ในสภาพปรกติ
  16. หากต้องการให้ระบบยังบูทขึ้นได้ ถึงแม้จะเกิดปัญหา hard disk อีกลูกเสียไป 
    ให้แก้ไขแฟ้ม /boot/grub/menu.lst เพิ่มตัวแปร  bootdegraded เข้าไปในบรรทัด kernel
    ตัวอย่างเช่นบรรทัดข้อความของเดิมว่า kernel  /boot/vmlinuz-2.6.24-24-server root=/dev/md0 ro quiet splash
    ก็ให้แก้ไขใหม่กลายเป็นว่า kernel  /boot/vmlinuz-2.6.24-24-server root=/dev/md0 ro quiet splash bootdegraded

    เสร็จแล้วทดสอบด้วยการ shutdown server ลองถอดสาย hard disk ของ /dev/sdb ออก แล้วบูท server ใหม่
    จะพบว่าระบบสามารถบูทขึ้นได้ แต่อยู่ในสภาพ bootdegraded 
    เมื่อใช้คำสั่ง sudo  mdadm --detail /dev/md0  จะได้ตัวอย่างผลข้อความที่แสดงออกมาว่า
    Update Time : Thu Apr  9 10:03:23 2009
              State : active, degraded
    ...
        Number   Major   Minor   RaidDevice State
           0       0        0        0      removed
           1       8        1        1      active sync   /dev/sda1
    หมายความว่า /dev/sdb1 เสียไปแล้วกลายเป็นสถานะ removed

    ต่อไปให้ shutdown server แล้วเสียบสาย hard disk ของ /dev/sdb คืน แล้วบูท server ใหม่
    จะพบว่าระบบสามารถบูทขึ้นได้ แต่อยู่ในสภาพ bootdegraded เช่นเดิม
    เมื่อใช้คำสั่ง sudo  mdadm --detail /dev/md0  จะได้ตัวอย่างผลข้อความที่แสดงออกมาเหมือนเดิมว่า
    Update Time : Thu Apr  9 10:03:23 2009
              State : active, degraded
    ...
        Number   Major   Minor   RaidDevice State
           0       0        0        0      removed
           1       8        1        1      active sync   /dev/sda1
    หมายความว่าระบบยังคงจำว่า  /dev/sdb1 เสียไปแล้วกลายเป็นสถานะ removed
    ต้องเติม /dev/sdb1 เข้าใน /dev/md0 เข้าไปใหม่อีกครั้ง
    ด้วยคำสั่ง  sudo mdadm --add  /dev/md0  /dev/sda1
    ระบบจะทำการ rebuild  อาจต้องใช้เวลานาน ขึ้นกับพื้นที่ของ partition
    ลองใช้คำสั่ง sudo  mdadm --detail /dev/md0  จะได้ตัวอย่างผลข้อความที่แสดงออกมาว่า
    Update Time : Thu Apr  9 10:20:38 2009
              State : active
     ....
        Number   Major   Minor   RaidDevice State
           0       8       17        0      active sync   /dev/sdb1
           1       8        1        1      active sync   /dev/sda1
    แสดงว่าทุกอย่างคืนกลับมาใช้งานได้เป็นปรกติแล้ว 
  17. การนำ hard disk /dev/sdb ลูกใหม่มาใช้แทนที่ hard disk ของเดิมที่เสียไป 
    หลังจากระบบบูทได้เป็นสภาพ bootdegraded แล้ว 
    ให้คัดลอก partition จาก hard disk  /dev/sda ที่ยังคงสภาพดีอยู่ 
    ไปใส่ไว้ใน hard disk /dev/sdb ที่ใส่เข้าไปใหม่  ใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
    sudo dd if=/dev/sda bs=512 count=63 > /tmp/mydisk.mbr
    sudo dd of=/dev/sdb if=/tmp/mydisk.mbr
    sudo  sfdisk  -d  /dev/sda  > /tmp/mydisk.part
    sudo  sfdisk  --force  /dev/sdb < /tmp/mydisk.part
    sudo mdadm --add /dev/md0 /dev/sdb1
    รอจนระบบ rebuild ก็จะใช้งานได้ตามปรกติ
  18. แนะนำให้ติดตั้ง grub บน hard dsik ทั้ง 2 ลูกคือ /dev/sda และ /dev/sda เพื่อให้บูทได้จาก hard disk ทั้ง 2 ลูก 
    ปรกติ grub จะติดตั้งบน /dev/sda  อยู่แล้ว การติดตั้งเพิ่มบน /dev/sdb ให้ทำดังนี้
    เรียกคำสั่ง sudo grub  จะได้ grub shell 
    ได้ prompt ว่า grub >  ให้ป้อนคำสั่งว่า device hd(0) /dev/sdb  แล้วยืนยันด้วยการกดแป้น Enter
    เมื่อได้ prompt ว่า grub >  ให้ป้อนคำสั่งว่า root(hd0,0) แล้วยืนยันด้วยการกดแป้น Enter
    เมื่อได้ prompt ว่า grub >  ให้ป้อนคำสั่งว่า setup(hd0) แล้วยืนยันด้วยการกดแป้น Enter
    เมื่อได้ prompt ว่า grub >  ให้กลับออกมาด้วยการป้อนคำสั่งว่า quit
    ทำเพียงแค่นี้ ก็จะได้ grub ติดตั้งบน hard disk /dev/sdb ตามต้องการ
ที่มา :  http://opensource.cc.psu.ac.th/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87_ubuntu_server_%E0%B8%9A%E0%B8%99_software_raid_1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Set MongoDB in the windows path environment

  Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...