4 ที่สุดของเครื่องมือในการพัฒนา PHP ฟรี
ขอนำเสนอบทความในการนำเสนอ 4 ที่สุดของเครื่องมือในการพัฒนา PHP โดยทุกเครื่องมือ 4 อย่างนี้ล้วนแล้วแต่ใช้งานฟรี. เครื่องมือในการพัฒนา PHP หรือ PHP IDE (PHP Integrated Development Environment) คือ ซอฟต์แวร์อำนวยความสะดวกให้กับนักพัฒนา, debug หรือแม้แต่การจัดการไฟล์ ในการพัฒนาภาษา PHP
ถ้าเราต้องการความสะดวกเรียบง่ายในการเขียน Code, มีระบบเดาคำ (Auto complete) , ระบบตรวจสอบคำผิดอัตโนมัติ (Automatic error detection), และ ระบบเน้นคำผิด (Syntax hi-light) โปรแกรมช่วยพัฒนาเหล่านี้อาจช่วยเราได้
NetBeans PHP IDE : พัฒนาโดย Oracle Coporation
Netbeans PHP IDE คือ ซอฟต์แวร์ในการพัฒนา PHP มาพร้อมเครื่องมือทุกอย่างที่เราต้องการในการพัฒนา Web Application จากโปรเจ็คเล็กจนถึงโปรเจคใหญ่ๆ สำหรับเวอร์ชั่น PHP ผู้ใช้งานจะสามารถพัฒนาภาษา PHP ,JavaScript และ HTML5 เท่านั้น ซึ่งไม่เหมือนตัวเต็มที่สามารถพัฒนาได้ทั้ง C/C++ , Java และอื่นๆ แต่สำหรับการพัฒนา Web Application เวอร์ชั่น PHP IDE ก็เพียงพอสำหรับความต้องการแล้ว
Netbeans ทำงานภายใต้ Platform ของ Java นั่นหมายถึงคุณจำเป็นต้องติดตั้ง Java ในคอมพิวเตอร์ก่อนถึงสามารถใช้งาน Editor ตัวนี้ได้
Netbeans รองรับระบบปฏิบัติการดังนี้ : Linux, Windows, Mac OSX และ Sun Solaris
Eclipse : พัฒนาโดย Eclipse Foundation, Inc.
Eclipse คือ ซอฟต์แวร์ที่นำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางมากที่สุด และ เป็นซอฟต์แวร์ที่ยอดนิยมที่สามารถพัฒนาโปรแกรมได้หลายภาษา แน่นอนว่าภาษา PHP ก็มีชุดเครื่องมือให้ดาวน์โหลดฟรีๆ เรียกว่า PHP Devolopement Kit (PDK) และเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของนักพัฒนา PHP อีกด้วย
Eclipse PDK เป็น Editor ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการพัฒนาโปรเจคภาษา PHP ขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับ Netbeans ที่ Eclipse จำเป็นต้องอาศัย Java Platform ในการทำงานดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องติดตั้ง Java ก่อนถึงจะใช้งาน Eclipse ได้
Eclipse รองรับระบบปฏิบัติการดังนี้ : Linux, Windows และ Mac OSXAptana Studio PHP Editor : ผู้พัฒนา Appcelerator, Inc.
Apptana Studio คือ ซอฟต์แวร์ Open Source ในการพัฒนา Web Application ที่ให้นักพัฒนาสามารถเขียนและทดสอบการทำงานไปพร้อมกันได้ สนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยี Web Browser ล่าสุด สนับสนุนการเขียนภาษาได้หลายภาษา คือ HTML5, CSS3, JavaScript, Ruby, Rails, PHP และ Python โดยมาพร้อม Debugger สำหรับ PHP เพื่อตรวจสอบการทำงานและข้อผิดพลาดของ Code PHP ที่เราพัฒนา มีฟังก์ชั่นรองรับการใช้งานด้าน FTP, SFTP และ GIT อีกด้วย
Aptana Studio มี 2 เวอร์ชั่นสำหรับการดาวน์โหลด คือแบบ Stand Alone สามารถดาวน์โหลด ติดตั้งและใช้งานได้เลย และ เวอร์ชั่น Plug-in ของ Eclipse แน่นนอนว่าเราต้องมีโปรแกรม Eclipse ก่อนจึงจะสามารถใช้งาน Aptana Eclipse Plug-in ได้ ซึงผู้เขียนว่าแบบ Stand Alone สะดวกกว่า แต่ผู้ใดที่ถนัดการใช้งาน Eclipse อยู่แล้วให้เลือกแบบ Eclipse Plug-in จะชินกับการใช้งานมากกว่า
Aptana Studio รองรับระบบปฏิบัติการดังนี้ : Linux, Windows และ Mac OSX
CodeLobster PHP Edition : พัฒนาโดย CodeLobster Software
CodeLopster PHP Edition คือ PHP Editor อีกตัวหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาภาษา PHP ซึ่งทำออกมาเฉพาะฝั่ง Windows เท่านั้น CodeLopster PHP Edition นั้นเป็นฟรีซอฟต์แวร์ นั่นคือสามารถใช้งานได้ฟรี แต่หากต้องการใช้งาน Plug-ins ในการพัฒนาแล้ว จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ แต่เราสามารถทดลองใช้งาน Plug-ins ได้นานถึง 30 วันก่อนตัดสินใจซื้อ
CodeLopster จะทำการติดตั้ง Debugger ให้เราอัตโนมัติ และเรายังสามารถโยนงานจากคอมพิวเตอร์ไปยัง HOST หรือจาก Host มายังคอมพิวเตอร์ผ่าน FTP Remote ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
สำหรับฟรีเวอร์ชั่นที่เราดาวน์โหลดมาติดตั้ง เราจะสามารถพัฒนาภาษาโปรแกรมได้หลากหลายเช่น JavaScript, PHP, HTML และ CSS ซึ่งมีการทำงานที่ครอบคลุม เช่น การ Highlight, การย่อขยาย Code, ระบบเดาคำ (Auto Complete) และอื่นๆ ยังมีความสามารถในการการค้นหา Function ที่คล้ายกับโปรแกรมที่เราเขียนได้อีกด้วย
สำหรับ Plug-ins ของ CodeLobster PHP IDE ที่เสียเงินซื้อคือ Plug-ins จำพวก CMS และ PHP Framerwork เช่น Facebook, CakePHP, Joomla, WordPress, Drupal, Smarty, jQuery, Symfony, Codeigniter, Yii — ปลั๊กอินเหล่านี้เพียงแค่ช่วยให้การพัฒนาโปรแกรมที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น แต่เราก็ยังสามารถพัฒนา PHP Framework ได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่ง Plug-in เหล่านี้ก็ได้ CodeLopster PHP Edition รองรับเพียงระบบปฏิบัติการ Windows เท่านั้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Set MongoDB in the windows path environment
Let’s set MongoDB in the windows environment in just a few steps. Step 1: First download a suitable MongoDB version according to your mach...
-
ปกติแล้วเมื่อเราประกาศตัวแปร Type ที่เป็นตัวเลขมา เราก็มักจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรนั้นอยู่บ้าง โดยการคำนวณร่วมกับค่าเดิมที่ตัว...
-
เรียนรู้การใช้ภาษา Lua บทความนี้กล่าวถึง ภาษา Lua ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ และเรียนรู้การเขียนโค้ดในภาษานี้ โดยอาศัยโค้ดตัวอย่าง ผู้อ่าน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น